เวลาเราเห็นลูกเริ่มคลาน หรือเดิน เราจะมองเห็นแต่ความน่ารัก และตื่นเต้นไปกับพัฒนาการของลูกน้อย ลองสังเกตดูว่าลูกคลานด้วยขาข้างใดข้างหนึ่งรึเปล่า? หรือเวลาเดินแล้วขาทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน หมุนได้มากผิดปกติ นั่นอาจจะเป็นอาการ โรคข้อสะโพกหลุดในเด็ก ที่ต้องระวัง!!
สาเหตุของโรคข้อสะโพกหลุดแต่กำเนิด
โรคนี้พบ 1 ใน 1,000 ของเด็กแรกเกิด มีโอกาสเป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง 20% เกิดจากกรรมพันธุ์และเชื้อชาติ รวมถึงสิ่งแวดล้อมในครรภ์ หรือมีความเสี่ยงที่ทำให้สะโพกหลุด ได้แก่
- เป็นท้องแรก
- เป็นเด็กผู้หญิง
- เด็กที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน
- มดลูก และช่องคลอดของแม่ยังขยายตัวไม่มากนัก อาจบีบรัดตัวลูกน้อย
- เด็กคลอดแบบไม่กลับตัว (คลอดท่าก้น)
- คุณแม่มีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ
- ลูกตัวใหญ่น้ำหนักตัวมาก แต่แม่ตัวเล็ก
- การห่อตัวทารกแรกเกิดแน่นจนเกินไป
- เด็กที่มีเท้า หรือคอเกร็งผิดปกติ
อ่านต่อ “วิธีรักษาตามความรุนแรงและอายุของลูก และวิธีป้องกันโรคข้อสะโพกหลุด” คลิกหน้า 2
วิธีรักษาตามความรุนแรงและอายุของลูก
แรกเกิด- 6 เดือน คุณหมอจะใช้สายรัดดึงให้ขาทารกน้อยอยู่ในท่ากบ หรือไฟเบอร์กลาสที่มีลักษณะคล้ายกระดองเต่า เพื่อจัดให้หัวกระดูกสะโพกเข้าในเบ้าตามปกติ และพัฒนาข้ออย่างเหมาะสม ซึ่งจะใส่ไว้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของทารกแต่ละคน
6 เดือนขึ้นไป หากการรักษาระดับแรกไม่สำเร็จ รักษาด้วยการดึงข้อสะโพกเข้าที่ ภายในห้องผ่าตัด ตามด้วยการใส่เฝือกแข็งไว้ โดยใช้เอ็กซเรย์ CT หรือ CAT SCAN หรือ MRI เพื่อสังเกตอาการควบคู่ไปด้วย
1 ปีขึ้นไป ผ่าตัดใหญ่ เพื่อปรับแต่ง และจัดให้กระดูกสะโพกเข้าเบ้า คุณหมอจะผ่าตัดตกแต่งกระดูกพร้อมใส่แผ่นเหล็กดามไว้ หลังผ่าตัดต้องใส่เฝือกแข็งหลายเดือน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ถ้ารักษาแล้วจะกลับมาเป็นอีกหรือไม่
ถ้ารักษาถูกต้องจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเด็กคนอื่นๆ ข้อสะโพกมั่นคงแข็งแรงไม่หลุดอีก แต่เด็กที่ไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาได้ไม่เต็มที่ จะยังมีปัญหาขาสั้นยาว กะเผลก และข้อสะโพกเสื่อม เจ็บเวลาเดิน
วิธีป้องกันโรคข้อสะโพกหลุด
- ตรวจอัลตราซาวด์สะโพก หรือถ่ายภาพเอ็กซเรย์
- ไม่มัดห่อตัวลูกแน่นเกินไป ห่อตัวลูกให้ถูกต้อง ขาจะงอได้ และเคลื่อนไหวได้สะดวก
- ให้ลูกนอนหงาย ไม่นอนตะแคงจนสะโพกหุบ
- สังเกตความผิดปกติที่ขาลูก รอยพับที่ผิวหนัง ขาที่สั้นยาว ขาที่ชี้ออกไม่เท่ากัน ท่าเดินที่ผิดปกติ
- รักษาตั้งแต่อายุน้อยๆ ได้ผลดีกว่าอายุมาก เด็กที่มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าทั่วไป ควรให้คุณหมอตรวจ
- เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีข้อสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ให้พาลูกมาพบคุณหมอเพื่อตรวจอย่างละเอียด
- ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ หมั่นสังเกตเนื้อตัวแขนขาของลูกเรา ว่ามีความผิดปกติอะไรอยู่บ้าง อย่าคิด
เครดิต: โรงพยาบาลกรุงเทพ