IPD โรคติดเชื้อ สาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็ก - amarinbabyandkids
โรค IPD

IPD โรคติดเชื้อ สาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็ก

event
โรค IPD
โรค IPD

โรค IPD เป็นโรคติดเชื้อที่รุนแรงในเด็กเล็ก และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยในแต่ละปีมีเด็กเสียชีวิตจากโรค IPD มากถึง 476,000 คนทั่วโลก ซึ่งการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค และลดการเสียชีวิตได้ 2 – 3 ล้านคนต่อปี

IPD โรครุนแรง อันตรายถึงชีวิต

โรคนี้มีความรุนแรง โดยเฉพาะเด็กที่เป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อนี้ ถ้ารอดชีวิตมาได้ อาจจะมีความพิการ และมีความผิดปกติทางระบบประสาทหลงเหลืออยู่ หรืออาจมีปัญหาในการได้ยิน ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการ และการพูดในอนาคตได้

ไอพีดีคืออะไร?

โรคไอพีดี หรือ Invasive Pneumococcal Disease คือโรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรง อาศัยอยู่ในโพรงจมูก และคอของคนทั้งไป ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ซึ่งในผู้ใหญ่โดยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใดๆ แต่เป็นพาหะแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ มีเพียงอาการไอ จาม แต่ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจติดเชื้อได้ง่าย อาการรุนแรง ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด โรคปอดอักเสบ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะรุนแรงที่ทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้ โรค IPD ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กเล็กป่วยเป็นโรคปอดบวมที่รุนแรง กรมอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งในแต่ละปี จะมีเด็กทั่วโลกเสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละมากกว่า 2 ล้านคน โดยจะมีเด็กที่เสียชีวิตจากโรคปอดบวมทุกๆ 20 วินาที

IPD

รองศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายแพทย์ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “เชื้อนิวโมคอคคัส” (Streptococcus pneumoniae) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค IPD เชื้อชนิดนี้พบได้ในทางเดินหายใจส่วนต้น (โพรงจมูกและคอหอย )

โดยในเด็กไทยปกติพบเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น เฉลี่ยประมาณร้อยละ 35 โดยพบมากที่สุดในเด็กทารกและเด็กเล็กในช่วงอายุ 2-3 ปี

ส่วนในผู้ใหญ่พบเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้นน้อยกว่าในเด็กมาก เฉลี่ยประมาณร้อยละ 4 ซึ่งปกติเชื้อที่อยู่ในลำคอจะไม่ก่อโรค แต่เมื่อร่างกายอ่อนแอลง เช่น เป็นหวัดหรือมีการติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ เชื้อนิวโมคอคคัสก็จะสามารถรุกรานเข้าไปในร่างกายทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่รุนแรงหรือที่เราเรียกกันว่า “IPD” ได้

  • หากเชื้อแพร่ไปที่สมองจะทำให้เกิด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีอาการ ไข้สูง ชัก ซึมมาก อาเจียนบ่อย ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
  • หากเชื้อแพร่ไปที่เลือด จะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว อาจมีภาวะช็อคและเสียชีวิตได้
  • หากเชื้อแพร่ไปที่ปอด ก็จะทำให้เกิดปอดบวมหรือเรียกอีกอย่างว่าปอดอักเสบ เด็กจะมีอาการ ไข้ ไอ หอบเหนื่อย

รวม 20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย แบบนี้..! กำลังป่วยเป็นโรคอะไร?

ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ประธานคณะกรรมการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า “เด็กเล็กเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรค IPD สูงมาก ยิ่งเด็กยิ่งเสี่ยง จากข้อมูลพบว่า อุบัติการณ์เกิดโรค IPD ของคนทั่วไปอยู่ที่ 3.6 ต่อแสนประชากร แต่เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี มีอุบัติการณ์เกิดโรค IPD อยู่ที่ 11.1 ต่อแสนประชากร และอุบัติการณ์เกิดโรคจะสูงขึ้นไปอีกในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี อยู่ที่ 33.8 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ ยังพบว่าเด็กที่ป่วยเป็นโรคติดเชื้อในกระแสเลือดจาก IPD มีโอกาสเสียชีวิตมากถึง 23%

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

สาเหตุของโรคไอพีดี

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กเป็นโรคปอดอักเสบเกิดจากเชื้อไวรัส แต่ปอดอักเสบที่รุนแรงมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อก่อโรคไอพีดี สามารถติดเชื้อได้ทั้งจากการสูดดม สำลักเชื้อที่อยู่บริเวณคอ หรือโพรงจมูก แล้วเข้าไปในหลอดลมส่วยปลาย หรือถุงลมปอด หรือแพร่กระจายทางกระแสเลือด เชื้อมีการแบ่งตัว ทำลายเนื้อปอด เกิดโรคปอดอักเสบ ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์เสียสมดุล จึงทำให้ขาดออกซิเจน

โรคติดเชื้อไอพีดี ที่มีอาการรุนแรง คือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจึงควรได้รับการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนดีกว่าการรักษา เพราะเชื้ออาจดื้อยาได้ และถ้ารักษาไม่ทัน อาจคร่าชีวิตลูกน้อยได้ใน 2 วัน ซึ่งอาการของโรคที่แสดงออกมามีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และสายพันธุ์ของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ เด็กที่มีโอกาสเป็นโรคปอดอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรืออยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กจำนวนมาก มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคปอดร่วมด้วย

157033260_7e7edcfc06_b

 

อ่านต่อ “ อาการ การรักษาโรคไอพีดี และการป้องกัน” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up