ลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดของลูกน้อยที่บอกไม่ได้
ลำไส้กลืนกัน

ลำไส้กลืนกัน ความเจ็บปวดของลูกน้อยที่บอกไม่ได้

event
ลำไส้กลืนกัน
ลำไส้กลืนกัน

อันตรายของลำไส้กลืนกัน

รศ.นพ. รวิศ เรืองตระกูล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า อาการลำไส้กลืนกัน จะมีอาการปวดท้อง กลับมาสงบอยู่ชั่วขณะ และปวดท้องขึ้นมาอีก พร้อมกับอาการอาเจียน ในระยะหลังจะมีสีน้ำดีปน เนื่องจากมีการอุดตันของลำไส้ อาการปวดท้องจะเกิดขึ้นเป็นพักๆ เมื่อลำไส้กลืนกันมากขึ้น จะเริ่มขาดเลือด ทำให้ถ่ายเป็นเลือด มีลักษณะสีคล้ำปนมูก และมีไข้ พร้อมทั้งมีอาการซึม

ลำไส้กลืนกัน

วิธีวินิจฉัยโรคมี 2 วิธี คือ อัลตร้าซาวด์ และสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี โรคนี้เป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อย อันตรายถึงแก่ชีวิต เนื่องจากเมื่อลำไส้กลืนกันนานๆ ก็จะเกิดลำไส้ขาดเลือด จนมีการเน่าตายของลำไส้ จึงต้องรักษาอย่างเร่งด่วน

banner300x250

การรักษาลำไส้กลืนกัน

1.การดันลำไส้ ส่วนที่เคลื่อนตัวเข้าไปให้ออกมา โดยใช้แรงดันผ่านทวารหนัก อาจใช้การสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี หรือก๊าซเป็นตัวดัน ถ้าทำสำเร็จก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด สามารถรับประทานอาหารได้ภายใน 1-2 วัน หลังจากสวนลำไส้ และกลับบ้านได้ภายใน 2-3 วัน โดยไม่มีอาการลำไส้กลืนกันอีก

ลำไส้กลืนกัน

2.การผ่าตัด ศัลยแพทย์จะใช้มือบีบดัดลำไส้ส่วนที่กลืนให้คลายตัวออกจากกัน มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีการเน่าตาย หรือแตกทะลุลำไส้ จำเป็นต้องผ่าตัดลำไส้ที่เน่าออก และต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากัน

โรคลำไส้กลืนกัน เป็นโรคร้ายแรง และเฉียบพลัน ปัญหาที่พบบ่อยคือ คุณพ่อ คุณแม่ ไม่ทราบว่าลูกป่วยเป็นโรคนี้ เมื่อเห็นลูกปวดท้อง อาเจียน มีไข้ ก็นึกว่าเป็นลำไส้ใหญ่อักเสบ ติดเชื้อ หรือโรคบิด ไปซื้อยามารับประทานเอง จนลำไส้เริ่มขาดเลือด ถ่ายเป็นมูกเลือด จึงพามาหาคุณหมอ ทำให้ได้รับการรักษาช้าเกินไป ดังนั้นถ้าลูกมีอาการเหล่านี้แล้ว รับพาไปหาคุณหมอเพื่อทำการรักษาให้ทันท่วงทีนะคะ

เครดิต: Bee Favre, รศ.นพ. รวิศ เรืองตระกูล ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://dynamic.psu.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up