มีคำถามจากคุณแม่ท่านหนึ่งที่มีลูกน้อยเป็นโรค “เด็กขนแปลง” ซึ่งคุณย่าที่บ้านเคยเห็นเด็กแถวบ้านเป็น จึงคอยถูหลังอาบน้ำเช้าเย็น เคี้ยวหมากอีแปะ (หมากที่ฝานบาง ๆ มีลักษณะคล้ายอีแปะ) แล้วก็พ่นน้ำใส่ ถูไปมา… คุณแม่จึงสงสัยว่า วิธีนี้ทำแล้วจะได้ผลจริงหรือไม่? หรือเป็นเพียงความเชื่อของคนโบราณที่สืบทอดต่อกันมากันแน่
เด็กขนแปลง กับความเชื่อแบบผิดๆ
จากข้อมูลของ Medical Association of Thailand หรือ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ข่าวเรื่อง เด็กขนแปลง ที่ถูกแชร์ไปทั่วว่าเป็นโรคประหลาด มีพิษตำเส้นประสาท ซึ่งทางสมาคมยืนยันว่าไม่มีจริง!!
แต่ก็มีหลายคนเชื่อที่ว่าเป็นโรคที่เกิดกับเด็กแรกเกิด ทำให้ร้องไห้ไม่มีสาเหตุ เท้ากระตุกยามนอน ไม่ค่อยนอน ร้องไห้ไม่หยุดหย่อน จึงใช้วิธีการรักษาโดยการจับเด็กอาบน้ำ แล้วใช้หมากที่คนแก่กินมาตำให้ละเอียด แล้วขัดถูตามร่างกายจนทั่ว จะพบว่ามีขนอยู่กระจุกหนึ่ง แล้วขัดจนกว่าจะหลุด ราวๆ 15 วัน และคนโบราณยังบอกอีกว่า ถ้าอาการหนัก ๆ จะทำให้เด็กถึงขั้นพิการได้
อ่านต่อ “ข้อเท็จจริงเรื่องเด็กขนแปลง” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ข้อเท็จจริงเรื่องเด็กขนแปลง
1. ในทางการแพทย์ ไม่มีกลุ่มอาการที่เรียกว่าโรค “ขนแปลง” หรือ “ขนแปรง” คำนี้อาจเป็นศัพท์เฉพาะ หรือภาษาปาก ภาษาถิ่น ที่เข้าใจกันผิดต่อ ๆ มา
2. จากการวินิจฉัยเบื้องต้น น่าจะมาจากเด็กมีอาการขนคุด หรือ Eruptive Villus Hair Cyst มีลักษณะคล้ายขนคุด แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า ถ้ามีคนในครอบครัวเคยเป็น จะวินิจฉัยได้มากขึ้น โดยปกติจะไม่ทำให้เจ็บผิวหนัง และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา หรือพาไปพบแพทย์ หรืออาจรักษาได้ด้วยการใช้ยากลุ่ม urea หรือ กลุ่ม Salicylic cream/ointment
3. อาจมีความเป็นไปได้ว่าอาการดังกล่าวจะเป็น Folliculitis หรือรูขุมขนอักเสบในเด็ก ซึ่งเด็กจะเจ็บผิว เพราะมีอาการอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้ทราบเชื้อโรค และทำการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการลุกลาม
4. การขัดผิว ไม่ว่าจะด้วยฟองน้ำ ใยขัดผิว หรือหมากตำละเอียด ไม่ใช่วิธีการรักษา แต่จะยิ่งทำให้ผิวอักเสบ ติดเชื้อ และทำให้เด็กยิ่งทรมาน
5. ขนดังกล่าวไม่ใช่ “ขนพิษ” อย่างที่เข้าใจ!!!
6. อาการขากระตุก หรือนอนผวา เป็นกลไกทางระบบประสาทอัตโนมัติของเด็กทารก เรียกว่า jitteriness หรือ jittering ซึ่งเป็นอาการปกติของเด็กทารก ถ้ามีอะไรมากระตุ้นเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้ผวา ตกใจได้ เช่น อากาศเย็นเกินไป ร้อนเกินไป เสียงดังเกินไป หรือเป็นอาการปกติธรรมชาติของเด็กทารกช่วง 3 เดือนแรกที่เรียกว่า โคลิค เมื่อโตขึ้นก็จะหายไปเอง
อ่านต่อ >> “โรคขนคุด Keratosis pilaris คืออะไร” คลิกหน้า 3
แนะนำบทความอื่นน่าอ่าน คลิก!
- คำสอนโบราณเรื่องการเลี้ยงลูก เชื่อได้จริงหรือ!
- 10 สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณแม่ของผู้ป่วยเด็กน้อย
- after birth 8 อาการลูกแรกเกิด แม่ (ไม่ต้อง) กังวล
เครดิต: กรวิกา ทองดีนอก, แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (Medical Association of Thailand)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรคขนคุด (Keratosis pilaris หรือย่อว่า KP) พบได้สองลักษณะคือ
- แบบที่ 1 เริ่มเป็นในเด็กเล็กคือ ก่อนอายุ 2 ขวบและอาการดีขึ้นก่อนเข้าสู่วัยรุ่น
- และแบบที่ 2 เริ่มเป็นในวัยรุ่นและอาการดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางคนในโรคนี้ อาการจะหายไปเองเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ แต่มีส่วนหนึ่งที่อาการยังเป็นต่อไป
โรคขนคุด เป็นโรคที่พบได้บ่อย ประมาณ 50-80% ในเด็กและวัยรุ่นทั่วโลก และประ มาณ 40% ในผู้ใหญ่ทั่วโลกเช่นกัน ทั้งนี้พบในผู้หญิงบ่อยกว่าในผู้ชาย
กลไกและสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคขนคุด
โรคขนคุด เกิดจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง (Keratiniza tion) ที่ส่งผลให้บริเวณรูขุมขน มีการอุดตันของรูขุมขนด้วยสารเคอราติน ที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า Keratin plug ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง
เนื่องจากกระบวนการทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นเองโดยพื้นฐานความผิดปกติทางพันธุกรรมของการสร้างเซลล์ผิว โรคขนคุดจึงไม่ใช่โรคติดต่อ
อาการของโรคขนคุด
จากการสะสมของโปรตีนเคอราติน อุดตันรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกพ้นผิวหนังออกมาได้ตามปกติ จึงเกิดเป็นตุ่มตามรูขุมขนมากมาย ทำให้ผิวหนังดูสากคล้ายกระดาษทราย หรือหนังไก่ บริเวณที่พบได้ คือ ต้นแขนด้านนอก ต้นขาด้านนอก บริเวณใบหน้าก็สามารถเกิดได้เช่นกันซึ่งมักพบในเด็ก และอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสิว ตุ่มจากโรคขนคุดเหล่านี้ มักไม่มีอาการอื่น (เช่น คัน เจ็บ) และมีสีออกสีเนื้อ พบได้บ้างที่มีการอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีรอยแดงรอบรูขุมขน และมีอาการคันร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของอาการ/ลักษณะตุ่มในแต่ละคนค่อนข้างมาก ตั้งแต่ตุ่มแดงอักเสบชัดเจน จนถึงมีอาการเล็กน้อย มีตุ่มไม่มาก และในเรื่องความสากของผิวหนัง
การดูแลรักษา เมื่อเป็นโรคขนคุด
เนื่องจากสาเหตุการเกิดโรคขนคุด มีพื้นฐานมาจากพันธุกรรม ดังนั้นจึงไม่สามารถป้อง กันโรคนี้ได้ แต่การรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังจะช่วยลดการเกิดของอาการได้หลักในการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคขนคุด คือ การรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังด้วยการทาโลชันให้ความชุ่มชื้น, การใช้สบู่อ่อนๆ (เช่น สบู่เด็กอ่อน), และงดอาบน้ำอุ่น ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเกิดผิวแห้ง จึงลดการกำเริบของอาการ
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็น โรคเด็กคนแปลง หรือโรคขนคุด หากคุณพ่อคุณแม่ สังเกตเห็นลูกน้อยมีลักษณะขนที่ขึ้นแบบแลกๆ ในทารกแรกเกิด ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง พร้อมรักษาอาการให้ลูกน้อยหายได้โดยเร็ว เพื่อไม่ให้กลายเป็นร้ายแรงไปในที่สุด
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ระวัง 7 โรคนี้ ลูกเป็นแล้ว สามารถเป็นซ้ำได้!
- อุทาหรณ์! ลูกไม่โต เพราะ กล้วยอุดตันลำไส้ จนเน่า
- ลูก 1 เดือนท้องผูก ทารกกินน้ำส้ม ได้หรือไม่?
- เด็กชายญี่ปุ่นวัย 6 เดือน เสียชีวิตด้วยโรคโบทูลิซึมในทารก เพราะน้ำผึ้งเป็นเหตุ!
ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.ชลธิรศน์ ศรีเกษตรสรากุล แพทย์ผิวหนังโรคขนคุด (Keratosis pilaris) haamor.com
Save
Save