เด็กขนแปลง ความเชื่อแบบผิดๆ และการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง amarinbabyandkids

โรคเด็กขนแปลง ใช้หมากแล้วจะหายจริงหรือ?

event

เด็กขนแปลง

ข้อเท็จจริงเรื่องเด็กขนแปลง

1. ในทางการแพทย์ ไม่มีกลุ่มอาการที่เรียกว่าโรค “ขนแปลง” หรือ “ขนแปรง” คำนี้อาจเป็นศัพท์เฉพาะ หรือภาษาปาก ภาษาถิ่น ที่เข้าใจกันผิดต่อ ๆ มา

2. จากการวินิจฉัยเบื้องต้น น่าจะมาจากเด็กมีอาการขนคุด หรือ Eruptive Villus Hair Cyst มีลักษณะคล้ายขนคุด แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า ถ้ามีคนในครอบครัวเคยเป็น จะวินิจฉัยได้มากขึ้น โดยปกติจะไม่ทำให้เจ็บผิวหนัง และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา หรือพาไปพบแพทย์ หรืออาจรักษาได้ด้วยการใช้ยากลุ่ม urea หรือ กลุ่ม Salicylic cream/ointment

3. อาจมีความเป็นไปได้ว่าอาการดังกล่าวจะเป็น Folliculitis หรือรูขุมขนอักเสบในเด็ก ซึ่งเด็กจะเจ็บผิว เพราะมีอาการอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้ทราบเชื้อโรค และทำการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการลุกลาม

4. การขัดผิว ไม่ว่าจะด้วยฟองน้ำ ใยขัดผิว หรือหมากตำละเอียด ไม่ใช่วิธีการรักษา แต่จะยิ่งทำให้ผิวอักเสบ ติดเชื้อ และทำให้เด็กยิ่งทรมาน

5. ขนดังกล่าวไม่ใช่ “ขนพิษ” อย่างที่เข้าใจ!!!

6. อาการขากระตุก หรือนอนผวา เป็นกลไกทางระบบประสาทอัตโนมัติของเด็กทารก เรียกว่า jitteriness หรือ jittering ซึ่งเป็นอาการปกติของเด็กทารก ถ้ามีอะไรมากระตุ้นเพียงเล็กน้อย ก็ทำให้ผวา ตกใจได้ เช่น อากาศเย็นเกินไป ร้อนเกินไป เสียงดังเกินไป หรือเป็นอาการปกติธรรมชาติของเด็กทารกช่วง 3 เดือนแรกที่เรียกว่า โคลิค เมื่อโตขึ้นก็จะหายไปเอง

อ่านต่อ >> “โรคขนคุด Keratosis pilaris คืออะไร” คลิกหน้า 3

แนะนำบทความอื่นน่าอ่าน คลิก!


เครดิต: กรวิกา ทองดีนอก, แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (Medical Association of Thailand)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up