จากประสบการณ์คุณแม่ที่ลูกน้อยป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง คุณแม่เล่าว่าเป็นเพราะ โทรศัพท์มือถืออันตราย ที่คุณแม่ชอบเล่นใกล้ๆ ลูกน้อย ประกอบกับการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะ ทำให้ลูกน้อยเกิดความเสี่ยง และเป็นเนื้องอกในสมอง มีข้อเท็จจริงอย่างไร? ไปอ่านกันค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ข้อเท็จจริงเรื่องอันตรายจากโทรศัพท์มือถือ” คลิกหน้า 2
ข้อเท็จจริงเรื่องอันตรายจากโทรศัพท์มือถือ
รังสีจากโทรศัพท์มือถือทำอันตรายกับลูกน้อยได้จริงหรือไม่? เป็นคำถามที่คุณพ่อ คุณแม่อาจสงสัย Amarin Baby & Kids มีบทความรู้จาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มาฝากกันค่ะ
ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือคือสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิต เช่นเดียวกับเครื่องไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ซึ่งมีรังสีแผ่ออกมาขณะที่กำลังใช้งาน แต่ความแตกต่างทำให้เกิดความกังวลต่อสุขภาพ เพราะโทรศัพท์มือถือต้องใช้ติดกับหู ผิวหนัง และสมองของเรา ทำให้โอกาสในการรับรังสีของเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในสูงกว่า
มีรังสีจากโทรศัพท์จริงหรือ
มีรังสีจากโทรศัพท์มือถือจริง เมื่อเปิดเครื่อง รังสีจะออกมาจากตัวเครื่อง และจะมีปริมาณสูงมากขึ้นขณะใช้งาน แต่จะไม่มีรังสีเมื่อปิดเครื่อง รังสีที่พบ คือรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รังสีประเภทนี้ทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ เกิดการบาดเจ็บเสียหาย เซลล์จะบาดเจ็บมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับ จัดเป็นรังสีประเภทเดียวกับคลื่นวิทยุ รังสีคลื่นความร้อน รังสีจากแสงแดด และเตาไมโครเวฟ
เมื่อได้รับรังสีจากโทรศัพท์มือถือจะเกิดอะไรขึ้น?
เซลล์ที่ได้รับรังสี ไม่ว่าจะประเภทอะไรก็ตาม ถ้ารับในปริมาณที่มากพอ และต่อเนื่อง เป็นเวลานานๆ หลายๆ เดือน หลายๆ ปี จะทำให้เซลล์บาดเจ็บเสียหาย ถ้าร่างกายซ่อมแซมให้กลับมาเป็นปกติไม่ได้ อาจเกิดการกลายพันธุ์เป็นเซลล์เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งได้
เมื่อเราได้รับรังสีจากโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่องหลายๆ ปี การใช้มือถือบ่อยครั้ง แต่ละครั้งใช้เวลาคุยเป็นเวลานานๆ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอก หรือมะเร็ง กับเนื้อเยื่อด้านที่ติดกับโทรศัพท์ เช่น เนื้องอกประสาทหู เนื้องอกประสาทตา เนื้องอกในสมอง มะเร็งลูกตา เนื้องอกต่อมน้ำลายบริเวณหน้าหู หรือลูกตาเกิดต้อกระจก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่ามีโอกาสเกิดขึ้นจริงหรือไม่ แต่จากการศึกษาก็พบว่า บางคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ อาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ มึนงง เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ รู้สึกปวดหู บางคนมีอาการใจสั่น ซึ่งยังไม่สามารถระบุได้ว่าเกิดจากรังสี หรือความเครียดจากการใช้มือถือ
อย่างไรก็ตาม องค์กรระหว่างชาติด้านโรคมะเร็ง IARC (International Agency for Research on Cancer) เป็นองค์กรภายใต้องค์การอนามัยโลก ประกาศให้รังสีชนิดเดียวกับที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือ จัดอยู่ในกลุ่มสารก่อมะเร็ง
อ่านต่อ ป้องกันรังสีจากมือถือให้ห่างจากลูกน้อยอย่างไรดี คลิกหน้า 3
ให้ลูกใช้โทรศัพท์มือถือปลอดภัยหรือไม่?
เด็กใช้โทรศัพท์มือถือได้ แต่ควรใช้เฉพาะเมื่อจำเป็น องค์การอนามัยโลก ประเทศออสเตรเลีย และองค์กรต่างๆ ได้เตือนถึงการใช้โทรศัพท์มือถือในเด็ก หรือคนอายุต่ำกว่า 18 ปี ว่าควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อลดปริมาณสะสมรังสีตลอดชีวิตที่เด็กจะได้รับ ควรใช้แต่ละครั้งให้สั้นที่สุด และต่อเมื่อจำเป็นหรือฉุกเฉิน เพราะเด็กเซลล์ในร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จึงไวต่อรังสีทุกชนิด ทุกประเภท
โทรศัพท์มือถืออันตราย ป้องกันรังสีจากมือถือให้ห่างจากลูกน้อยอย่างไรดี?
1.เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ควรใช้มือถือเมื่อจำเป็น หรือฉุกเฉินเท่านั้น เวลาใช้แต่ละครั้งต้องสั้นที่สุด
2.ทุกคน ทุกวัย ควรใช้มือถือให้น้อยที่สุด หรือสื่อสารด้วยวิธีอื่นแทน เช่น ส่งข้อความ เป็นต้น
3.เมื่ออยู่บ้านควรใช้โทรศัพท์บ้าน
4.ลดการสัมผัสโดยตรงกับโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะเด็กๆ ใช้เครื่องช่วยฟังเพื่อลดรังสี และรับรังสีน้อยลง
5.อย่าเปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือไว้ใกล้ตัว เพราะเมื่อเปิดเครื่องจะมีรังสี ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าตอนใช้ก็ตาม
6.เลือกซื้อโทรศัพท์มือถือที่ได้มาตรฐาน เพราะกระบวนการผลิต จะอยู่ในการควบคุมความปลอดภัยรังสี
เครดิต: HerKid รวมพลคนเห่อลูก, หาหมอ.com
อ่านต่อ บทความที่น่าสนใจ คลิก
“7 พฤติกรรมก่ออันตรายให้ลูก” ที่พ่อแม่ติดมือถือต้องหยุดทำ!
อุทาหรณ์ ลูกน้อยติดมือถือจนถึงขั้น “ลงแดง!!”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่