การปฐมพยาบาลและทำ CPR เมื่อ อาหารติดคอ ลูกน้อย - amarinbabyandkids
อาหารติดคอ

การปฐมพยาบาลและทำ CPR เมื่อ อาหารติดคอ ลูกน้อย

event
อาหารติดคอ
อาหารติดคอ

การปฐมพยาบาลลูก ด้วยการทำ CPR

นอกจากวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว หากลูกหมดสติ ควรทำการ CPR เพื่อช่วยชีวิตลูก ซึ่งวิธีการทำ CPR เด็กทารก จากคุณหมอนริศ สรุปได้ดังนี้

  1. ดูว่าเด็กยังรู้สึกตัวไหม ยังหายใจอยู่ไหม การจะเช็กว่าเด็กหายใจอยู่หรือไม่ สามารถเช็กโดยใช้การฟัง การสัมผัส และการมอง แนบหูเข้าไปใกล้ๆ สังเกตว่ามีผลหายใจออกมาไหม
  2. เนื่องจากเด็กคอสั้น กล้ามเนื้อคอหลอดลมยังไม่แข็งแรง อาจจะอยู่ในท่าพับทำให้หายใจได้ลำบาก แนะนำให้จับเด็กเงยหน้านิดนึง แต่อย่าเงยเยอะ
  3.  จะเริ่มกระบวนการทำ cpr ก็ต่อเมื่อ เด็กไม่รู้ตัว เด็กไม่หายใจ สมัยก่อนเราจะเป่าปาก นวดหัวใจ แต่เดี๋ยวนี้กลับกัน นวดหัวใจก่อน ค่อยเป่าปาก อันนี้ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากมีรายงานว่า การนวดหัวใจอย่างเดียวก็สามารถทำให้กลับมาหายใจได้
  4. เริ่มกระบวนการนวดหัวใจ ในเด็กไม่ยาก ใช้สองนิ้วกดไปบริเวณใต้ราวนม หรือสองนิ้วโป้ง และกดให้ลึกประมาณ 1 ใน 3 ของทรวงอก ความเร็ว 100ครั้ง/นาที
  5. เมื่อทำการนวดหัวใจ 30 รอบแล้ว ก็จะมาเป่าปาก ในเด็กจมูกกับปากจะติดกัน เราก็จะเป่าทั้งจมูกและปากเลย เป่าสองครั้ง แล้วเริ่มนวดหัวใจใหม่ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าเด็กจะรู้ตัว

Posted by Sukanit Panpinit on Saturday, February 11, 2017

ดูคลิปการอบรมเพิ่มเติมได้ที่ FB : hospitalchaophya

 

การปฐมพยาบาลเป็นวิธีการช่วยเหลือเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว แต่ทางที่ดีที่สุดคุณพ่อคุณแม่ ควรหาวิธีป้องกันไว้จะดีกว่าค่ะ 

วิธีป้องกันไม่ให้ อาหารติดคอ ลูกน้อย

  • ควรเก็บอาหารที่มีลักษณะชิ้นเล็กๆที่เสี่ยงต่อการที่จะติดคอ ให้พ้นจากมือลูก เช่น ลูกอม เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าวโพด ข้าวโพดคั่ว องุ่น ลูกเกด หรือขนมเยลลี่ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงที่เด็กอาจจะหยิบกิน โดยที่ไม่ได้อยู่ในสายตาและความดูแลของพ่อแม่
  • ไม่ควรให้เด็กเล็กกินอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น มีขนาดกลม ลื่นและแข็ง เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก รวมถึงปลาที่มีก้าง เนื้อสัตว์ที่ติดกระดูก และผลไม้ที่มีเม็ดขนาดเล็ก เนื่องจากเม็ดของผลไม้มีความลื่นและมีโอกาสหลุดเข้าหลอดลมได้ง่าย หากจะให้รับประทานควรเอาเม็ดออกเสียก่อน และตัดแบ่งเป็นคำเล็กๆพอที่เด็กจะสามารถเคี้ยวได้
  • ควรสอนให้เด็กฝึกการเคี้ยวอาหารช้าๆ ให้ละเอียดก่อนกลืน ไม่ควรให้กินอาหารขณะนอนราบ และไม่ควรให้วิ่งเล่นขณะที่มีกำลังมีอาหารอยู่ในปาก

 

ในเด็กเล็กนั้น พบว่า มีอัตราการเสียชีวิตจากภาวะทางเดินหายใจ หรือหลอดอาหารถูกอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอมค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจเพียงพอในเรื่องของการปฐมพยาบาลช่วยเหลือลูก เมื่อลูกมีอาการ อาหารติดคอ หรือสำลักสิ่งแปลกปลอม  เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้เรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ก็จะสามารถรับมือ ช่วยเหลือลูกน้อยได้ทันท่วงทีและถูกต้อง หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก FB : Sukanit Panpinit

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up