AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ทารกนอนคว่ำ เสี่ยงหลับไม่ตื่น ไหลตายไม่รู้ตัว

อันตรายเมื่อ ทารกนอนคว่ำ

SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) คือ อาการนอนหลับไม่ตื่น หรือ โรคไหลตายในเด็กทารก เป็นอาการหมดลมหายใจ และเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน โดยไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้ มักจะเกิดขึ้นกับเด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปี และส่วนใหญ่จะเกิดกับ ทารกนอนคว่ำ ในช่วง 1- 4 เดือน

อันตรายเมื่อ ทารกนอนคว่ำ

อันตรายเมื่อ ทารกนอนคว่ำ

จากเหตุการณ์ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง มีคุณป้าคนหนึ่งของน้องคิตตี้ ออกมาโพสต์เพื่อเตือนคุณแม่ไว้เป็นอุทาหรณ์ ว่าอย่าให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกแบบน้องคิตตี้ หลานสาวสุดที่รัก ที่ถูกจับนอนคว่ำจนเสียชีวิต

เหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้เกิดขึ้น เพราะหนูน้อยขาดอากาศหายใจ คุณหมอช่วยชีวิตเอาไว้ไม่ทัน  ครอบครัวไหนที่มีเด็กทารกไม่ควรให้นอนคว่ำ ถ้าไม่ได้อยู่ในสายตาของผู้ปกครอง การนอนคว่ำอันตราย ถ้าไม่ได้เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่อยากให้ลูกน้อยศีรษะสวยให้ใช้วิธีนอนตะแคงสลับซ้าย-ขวา เพื่อลดโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตได้นะคะ

อันตรายเมื่อ ทารกนอนคว่ำ

เครดิต: กุลธิดา น้องคิดตี้ ม้วยเท้ง

อ่านต่อ >> “ทารกนอนคว่ำเสี่ยงหลับไม่ตื่น ไหลตายไม่รู้ตัว” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โรค SIDS พบบ่อยสุดคืออายุ 1 ถึง 4 เดือน

นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “โรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome หรือ Sudden Unexpected Death in Infancy) นี้พบในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี แต่ทีพบบ่อยสุดคืออายุ 1 ถึง 4 เดือน ซึ่งสาส์นจาก Institute of Medicine ของสหรัฐได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดและได้ตีพิมพ์หนังสือ เรื่อง Immunization Safety Review: Vaccinations and Sudden Unexpected Death in Infancy ในปี พ.ศ. 2546 พบว่าในสหรัฐฯ เคยพบโรค SIDS นี้ประมาณ 5,000-6,000 คนต่อปี ปัจจุบันได้แนะนำให้เด็กนอนหงาย ไม่ให้นอนคว่ำ พบว่าอุบัติการณ์ดังกล่าวลดลงเหลือ 2200 คนต่อปี

ทำไมเด็กถึงนอนคว่ำแล้วตาย?

เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่นอนคว่ำหน้ามีโอกาสเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้มากกว่าเด็กที่นอนตะแคง หรือนอนหงาย นักวิจัยบางท่านสมมติฐานว่าการนอนคว่ำนั้นทำให้เกิดการกดทับบริเวณหน้าอกของเด็ก ทำให้การไหลเวียนของอากาศแคบลง และหายใจลำบากขึ้น เด็กจะหายใจเอาอากาศเก่า คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไปใหม่ โดยเฉพาะเด็กทารกที่นอนบนเตียงนิ่มๆ หรือมีเครื่องนอน เช่น ตุ๊กตา หรือหมอนอยู่ใกล้ๆ ใบหน้า ด้วยพื้นที่นุ่มนิ่ม ยวบยาบ ทำให้เกิดแอ่งเล็กๆ บริเวณปากของทารก และกักเก็บอากาศที่หายใจออกมาเอาไว้ เมื่อเด็กหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ ระดับก๊าซออกซิเจนที่ทารกควรจะได้รับก็จะต่ำลง และสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ในที่สุดก็ขาดออกซิเจนจนเสียชีวิต

เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่นอนคว่ำหน้ามีโอกาสเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้มากกว่าเด็กที่นอนตะแคง

นอกจากนี้ อาจมีกรณี สำหรับเด็กทารกบางคนมีความผิดปกติในเซลล์สมองที่ช่วยในการควบคุมการหายใจและการตื่นนอน เนื่องจากโดยปกติ หากเด็กทารกหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอ สมองจะปลุกให้เด็กตื่นและร้องไห้ แต่ในกรณีเด็กที่มีปัญหาในเซลล์สมองอาจจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้ หรือเกิดเป็นโรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) นั่นเอง

อ่านต่อ >> “การนอนที่ปลอดภัย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ท่านอนทารกที่ถูกต้องและปลอดภัย

การนอนที่ปลอดภัย√

การนอนหลับให้เพียงพอในเด็กทารกเป็นสิ่งจำเป็น เพราะส่งผลต่อการเจริญเติบโตร่างกายและสมอง มีหลายครั้งที่มีข่าวการเสียชีวิตของทารกจากการนอนคว่ำ จมูกปากกดทับบนหมอนจนหายใจไม่ออก บางครั้งก็มีข่าวเด็กตกเตียง หรือคุณแม่นอนทับลูกน้อยจนเสียชีวิต

1.ท่านอน

ท่านอนที่ถูกต้องคือการนอนหงาย โดยแนะนำให้จัดท่านอนของลูกให้นอนหงายเสมอ เพื่อลดการเสียชีวิตในเด็ก 2-7 เท่า เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรนอนหงายเท่านั้น เพราะการนอนคว่ำ หรือนอนตะแคงอาจเกิดอันตรายได้ เนื่องจากเด็กยังยกศีรษะไม่เป็น แต่คุณแม่ก็ยังสามารถจับลูกให้นอนคว่ำได้บ้าง เมื่อเวลาที่มีคุณพ่อ คุณแม่เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดการเกิดภาวะหัวแบน และได้ออกกำลังต้นแขน และหัวไหล่ให้เกิดความแข็งแรงอีกด้วย

การนอนหลับอย่างปลอดภัยของทารกลดความเสี่ยงโรค SIDS

อ่านต่อ >> “ที่นอนที่ปลอดภัย” คลิกหน้า 4

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ที่นอนทารก เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงโรค SIDS

2.ที่นอน

ที่นอน และอุปกรณ์บนที่นอนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยง เบาะสำหรับเด็กต้องเป็นเบาะที่มีความแข็งกำลังดี ฟูก หมอน ต้องไม่หนานุ่มและมีขนาดใหญ่ เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ บนที่นอนต้องไม่มีเส้นสายยาวเกิน 15 เซนติเมตร เพราะอาจรัดคอลูกได้ เพราะเคยมีเหตุการณ์น่าเศร้ามาแล้ว เมื่อศีรษะลูกมุดรอดหูรูดหมอนข้าง รัดคอจนเสียชีวิต และไม่นำของเล่นชิ้นเล็กๆ ตุ๊กตาขนาดใหญ่ มาวางใกล้ๆ ลูก

การจัดที่นอนให้ทารก

3. เตียงเด็กเล็ก และเตียง 2 ชั้น

เตียงนอนทารก ควรมีมาตรฐานปลอดภัย

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


เครดิต: thelittlegymrama3.com, sidsandkids, bloggang.com, ความรู้เรื่องอาหารและสุขภาพ, หมอชาวบ้าน

Save

Save

Save

Save

Save

Save