สำลักนม คร่าชีวิตลูกน้อย อันตรายที่คาดไม่ถึง - amarinbabyandkids
สำลักนม

สำลักนมคร่าชีวิตลูกน้อย อันตรายที่คาดไม่ถึง

event
สำลักนม
สำลักนม

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ ลูกสำลักนม

1.เด็กมีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ หรือปอด ทำให้หายใจเร็วขึ้น และมีโอกาสในการสำลักมากกว่าเด็กทั่วไป

2.เด็กมีพัฒนาการช้า มีประวัติการชัก หรือคลอดก่อนกำหนด มีโอกาสเสี่ยงต่อการสำลักได้ง่ายขึ้น

3.วิธีการให้นม ถ้าให้นมจากเต้าโอกาสในการสำลักมีได้น้อย แต่ถ้าให้นมขวดอาจเสี่ยงสำลักได้ง่ายกว่า

4.ให้นมลูกไม่ถูกวิธี เช่น ป้อนนมขณะที่เด็กหลับ ป้อนนมขณะเด็กกำลังร้องไห้ บังคับให้ลูกกินนม

5.ปริมาณนมมากเกินไป เช่น ไม่ว่าลูกจะร้องเพราะอะไร ยัดนมให้ลูกไว้ก่อน เมื่อปริมาณนมมากก็จะสำลัก

6.การใช้จุกนมผิดขนาด ไม่เหมาะกับช่วงวัย ก็มีส่วนให้ลูกได้รับนมมากเกินไป

7.หลังจากให้ลูกกินนมแล้ว ไม่ได้ทำให้ลูกน้อยเรอออกมา โดยการอุ้มพาดบ่า แล้วตบหลัง ทำให้นมค้างอยู่

สังเกตอาการ สำลักนม ของลูกน้อย

1.ระหว่างที่กินนม แรกๆ เด็กจะไอ เหมือนขย้อนนมออกมา ถ้าสำลักมาหน้าจะเขียว มีเสียงหายใจผิดปกติ

2.ถ้ามีอาหารอื่นร่วมด้วย เด็กอาจตัวเขียว และมีผลข้างเคียง เช่นไอเรื้อรัง หายใจผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์

3.อาจเกิดการสำลักขณะที่ลูกนอนหลับ เพราะหูรูดกระเพาะอาหารค่อยๆ ผ่อนคลาย ทำให้นมไหลย้อน

4.ถ้าของเหลวเข้าไปในหลอดลม ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้เด็กขาดออกซิเจน พิการ และเสียชีวิตได้

สำลักนมป้องกันลูกน้อย สำลักนม

1.ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่เพียงอย่างเดียวช่วง 6 เดือนแรก และให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม

2.ของเล่นชิ้นเล็กๆ หรือแตกหักได้ ไม่ควรนำมาให้ลูกเล่น เช่น กระพรวน กระดิ่ง เหรียญ ลูกปัด

3.เด็กเล็ก 0-2 เดือน คอยังไม่แข็ง ให้ลูกนั่งตัก ใช้มือประคองศีรษะ และมืออีกข้างลูบหลังหลังกินนม

4.ถ้าลูกคอแข็งดีแล้ว อาจทำให้เรอด้วยการอุ้มพาดบ่า ใช้มือประคองหลัง ลูบขึ้นเบาๆ หลังกินนมเสร็จ

รับมืออย่างไรเมื่อ ลูกสำลักนม?

1.จับเด็กนอนตะแคง ให้ศีรษะลงต่ำ ป้องกันไม่ให้นมที่อยู่ที่ปากย้อนกลับไปที่ปอด ไม่ควรจับลูกอุ้มขึ้นมาทันที เมื่อสำลักนม

2.วิธีตบหลัง ให้จับเด็กนอนคว่ำ ศีรษะต่ำลงบนแขน ใช้ฝ่ามือตบหลัง 5 ครั้ง

3.วิธีกระแทกหน้าอก จับเด็กพลิกหงายบนตัก ศีรษะต่ำ ใช้นิ้วมือ 2 นิ้วกระแทะแรงๆ ที่กระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง ตบหลัง และกระแทกหน้าอกสลับกันจนกว่านมจะออกมา

4.ขณะช่วยเหลือให้รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจอาการโดยเร็วที่สุด

เครดิต: pantip.com, blogspot.com, www.thairath.co.th, http://natur.co.th

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

“เรอ” นั้นสำคัญไฉน

เออ อ อ อ… เรอแล้วสบายจัง

กรดไหลย้อน ทารกป่วยง่าย อันตรายกว่าที่คิด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up