เมื่อถึงวัยที่พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกพัฒนาได้สมบูรณ์แล้ว เด็กจะเริ่มจับดินสอขีดเขียน แต่สำหรับเด็กเล็กบางคน พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ส่วนนิ้วมือ และมือ ยังไม่แข็งแรงนัก เมื่อจับดินสอเขียนก็จะพยายามได้ยาก ไม่สนุกและเจ็บนิ้วมือ พาลทำให้ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ เอาซะดื้อ ๆ ทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่าลูกผิดปกติหรือไม่
เด็กพร้อมจับดินสอได้เมื่อไหร่ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ ทำไงดี?
เด็กพร้อมจับดินสอได้เมื่อไหร่?
สำหรับทักษะในการใช้กล้ามเนื้อมือ และ นิ้ว ในการหยิบจับ รวมถึงการเขียนหนังสือ คำถามคือ กล้ามเนื้อมือและนิ้วของเด็กจะพร้อมในการจับดินสอได้เมื่อไหร่ เรามีบทความจาก ป้าหมอ แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด มาฝากกันค่ะ
เด็กวัย 10 เดือนเริ่มมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดีขึ้น จึงใช้นิ้วมือควบคุมสิ่งของต่างๆ ได้ ไม่เหมือนช่วงที่ยังเล็กอยู่ ซึ่งจะใช้ทั้งกำมือในการจับสิ่งของ คุณแม่ช่วยเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้หลายวิธี เช่น หั่นอาหารนิ่มๆ เป็นชิ้นเล็กแบบลูกเต๋าเพื่อฝึกให้ลูกหยิบกินเอง เช่น แครอทต้มสุก เต้าหู้ (ไม่ให้ของที่อาจสำลักง่าย เช่น ถั่วลิสง) ให้ลูกเล่นปั้นแป้งโด แต่ไม่ควรปล่อยให้นั่งเล่นคนเดียว เพราะอาจเกิดเหตุการณ์สำลักหรือกินของที่ไม่ควรกินเข้าไป
ส่วนการจับดินสอเพื่อขีดเขียน โดยมากมักเริ่มได้ตอนอายุ 1 ขวบ แต่หากลูกคุณแม่ทำได้ตั้งแต่ตอน 10 เดือน ก็แสดงว่าเขามีพัฒนาการเร็ว ให้เล่นได้เลยค่ะ ไม่มีข้อเสียแต่อย่างใด เพียงแต่คุณแม่คอยดูแลไม่ให้เอาเข้าปาก จิ้มตาตัวเองเล่น หรือทำจิตรกรรมฝาผนังก็พอ
จะเห็นได้ว่า กล้ามเนื้อมือและนิ้วของลูกได้เตรียมพร้อมสำหรับการเขียนหนังสือตั้งแต่วัยก่อนอนุบาลแล้ว แต่สำหรับเด็กบางคนที่กล้ามเนื้อมัดเล็กยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ หรือ อาจจะขาดสมาธิในการเขียนหนังสือ ก็อาจทำให้ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ ได้ โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ มีดังนี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ สาเหตุที่ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ
สาเหตุที่ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ
-
กล้ามเนื้อมัดเล็กพัฒนาได้ไม่เต็มที่
พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก เริ่มตั้งแต่ลูกเกิด ดังนั้น ในช่วงวัย 0-2 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลยการกระตุ้นพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น ฝึกการหยิบจับ หยิบสิ่งของเข้าปาก ใช้ช้อนตักสิ่งของ แกะสติ๊กเกอร์ เป็นต้น
อ่านต่อ พัฒนาการ กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อ ตา มือ ปาก ในวัย 0-3 ปี
ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กลูก ด้วยของเล่นประดิษฐ์สุดเริ่ด! แม่ๆทำเองได้ (มีคลิป)
ชวนลูกประดิษฐ์ ที่คั่นหนังสือ พัฒนากล้ามเนื้อมือกันเถอะ
2. เล่นเกมบน สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต มากไป
เด็กก่อนวัยเรียน ไม่ควรใช้เวลาในการเล่นเกมบน สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต มากเกินไป เพราะลักษณะการใช้กล้ามเนื้อมือ แตกต่างจากการเล่นทั่วไป จึงส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการกล้ามเนื้อมือของลูก ทำให้จับดินสอได้ไม่ถูกวิธี จนอาจจะทำให้รู้สึกเจ็บ จนพาลทำให้ ลูกไม่ยอมเขียนหนังสือ เอาซะดื้อ ๆ โดยล่าสุด แพทย์เด็กจาก หน่วยงานด้านสุขภาพแห่งชาติจากสหราชอาณาจักร เผยว่า เนื่องจากการเล่นของเด็กสมัยนี้เปลี่ยนไป จากเดิมที่เด็กสมัยก่อนได้เล่นของเล่นที่จับต้องได้ เช่น การต่อบล็อก การปั้นดินน้ำมัน เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ และการทำงานประสานกันของตา และมือ กลับเปลี่ยนมาเล่นเกมบน สมาร์ทโฟน หรือ แท็บเล็ต แทน ส่งผลให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือลดลง ความสามารถในการควบคุ้มกล้ามเนื้อนิ้วมือลดลงได้
อ่านต่อ กรมสุขภาพจิตพบ! เด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เพราะพ่อแม่ให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ
พ่อแชร์มาตรการเจ๋ง! รักษา ลูกติดแท็บเล็ต จนหาย
3. ขาดสมาธิในการเขียนหนังสือ
หากเป็นช่วงเวลาที่ลูกกำลังง่วง หิว หรือเหนื่อยอยู่ ก็จะทำให้ลูกขาดความสนใจและสมาธิในการเขียนได้ค่ะ ควรหาช่วงเวลาที่ลูกพร้อมเรียนรู้ รวมถึงสภาพแวดล้อมในช่วงที่ฝึกเขียนหนังสือ ก็มีความจำเป็น ไม่ควรให้ลูกดูการ์ตูนหรือทีวีขณะฝึกลูกเขียนหนังสือ
4. ลูกรู้สึกไม่สนุกกับการเขียนหนังสือ
การจะให้ลูกชอบทำอะไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างความสนใจให้ลูกรู้สึกอยากทำสิ่ง ๆ นั้นก่อน หากคุณพ่อคุณแม่บังคับให้ลูกฝึกเขียนตามแบบที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการ อาจทำให้ลูกรู้สึกว่าโดนบังคับ พาลไม่อยากจะจับดินสอเลยก็ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกเลือกหนังสือที่อยากจะเขียนเอง อาจจะพาลูกไปที่ร้านหนังสือ และเลือกหยิบหนังสือที่ชอบ หรือสนใจเอง เมื่อลูกเกิดความสนใจที่จะเขียน ลูกก็จะจับดินสอเอง และฝึกการเขียนได้เอง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ วิธีฝึกลูกจับดินสอ และเคล็ดลับ ทำอย่างไรให้ลูกชอบเขียนหนังสือ
ฝึกลูกจับดินสอ อย่างไรดี?
การจับดินสอแบบ Tripod
- ให้ลูกนั่งหลังตรง วางเท้าราบไปกับพื้น การจัดท่าทางให้เหมาะสมแต่แรกสำคัญต่อการหัดจับดินสอ เพราะถ้าไม่ระวังอาจติดนิสัยนั่งอ่านเขียนหนังสือหลังค่อมไปตลอด คุณพ่อคุณแม่จึงควรเน้นท่าทางการนั่ง ต้องนั่งหลังตรง เลือกเก้าอี้ที่เตี้ยพอจะวางเท้าราบไปกับพื้นได้ทั้ง 2 ข้าง
- หยิบดินสอด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วชี้
- วางนิ้วชี้บนดินสอ โดยปลายนิ้วชี้อยู่ปลายของดินสอ เพื่อใช้บังคับดินสอเวลาเขียนคู่กับนิ้วโป้ง ระวังอย่าบีบดินสอด้วยนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง
- รองรับดินสอด้วยนิ้วกลาง จับดินสอด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ แล้วรองรับด้วยนิ้วกลางเพื่อความแม่นยำยิ่งขึ้น กดปลายนิ้วทั้งสามเล็กน้อยตอนถือดินสอ แล้วเริ่มเขียน การรองดินสอด้วยนิ้วกลางจะทำให้มุมของดินสอเปลี่ยนไป โดยจะทำมุมเฉียงและมั่นคงยิ่งขึ้น
- วางสันมือบนกระดาษ สันนิ้วก้อยและนิ้วนางจะวางพักอยู่บนกระดาษ เพื่อรองรับน้ำหนักมือ ทำให้เขียนสะดวก ให้สังเกตว่าหากลูกไม่ได้วางมือพักบนกระดาษ แสดงว่าลูกบีบดินสอแน่นเกินไป
ทำอย่างไรให้ลูกชอบเขียนหนังสือ
- ทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น ก่อนจะทำให้ลูกชอบเขียนหนังสือ พ่อแม่ต้องทำให้ลูกเห็นเสียก่อนค่ะ ว่าการเขียนหนังสือเป็นเรื่องสนุก โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องเขียนหนังสือเป็นจริงเป็นจังก็ได้นะคะ อาจจะระบายสี หรือวาดรูปให้ลูกเห็น ก็จะทำให้ลูกเกิดความสนใจและอยากเข้ามาร่วมกิจกรรมกับคุณพ่อคุณแม่ด้วย
- ใช้เวลาในการเขียนหนังสือร่วมกัน ของเล่นที่ดีที่สุดของลูกคือ พ่อแม่ค่ะ การได้ใช้เวลาร่วมกับพ่อแม่ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม ลูกย่อมมีความสุขอยู่แล้วค่ะ
- ไม่บังคับให้ลูกเขียนตามที่ต้องการ หากแรก ๆ ลูกจะเขียนมั่ว หรือเขียนผิดไปบ้าง ก็ไม่ควรไปบังคับหรือดุด่าว่ากล่าวค่ะ ควรอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าวิธีเขียนที่ถูกต้องเป็นอย่างไร อาจจะจับมือให้ลูกเขียนก่อน แล้วให้ลูกเขียนตามก็ได้ค่ะ
- มีคำชมเชยให้เสมอ เมื่อลูกทำได้ดี หรือยอมเขียน คุณพ่อคุณแม่ควรจะชมเชยลูกบ้าง เพื่อให้ลูกมีกำลังใจ และมีความรู้สึกดีในการเขียนหนังสือต่อไปค่ะ
การเขียนหนังสือ ไม่จำเป็นจะต้องเขียนให้เป็นตัวอักษรได้อย่างสวยงามเสมอไป ดังนั้น การฝึกลูกจับดินสอ อาจจะเริ่มจากการระบายสี หรือการขีดเขียนตามจินตนาการของลูกไปก่อน จะทำให้ลูกไม่ต่อต้านการจับดินสอและการนั่งโต๊ะเป็นเวลานาน ๆ และเมื่อถึงวัยเรียน ที่ลูกจะต้องเขียนเป็นตัวอักษรแล้ว ลูกก็จะไม่ต่อต้านการเขียนหนังสือค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ ได้ที่นี่
แนะนำ 50 วรรณกรรมเพื่อลูกฉลาด ต้องอ่านก่อนโต
ฟิงเกอร์ฟู้ด เมนูหยิบจับ จุดเริ่มต้นของพัฒนาการลูก
ขอบคุณข้อมูลจาก: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด, boingboing.net, wikihow
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่