AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เปลี่ยนสูตรนม ให้ลูกเมื่อไหร่ดี? ให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนตามวัย

เปลี่ยนสูตรนม เริ่มต้นอย่างไร? 
นมสูตร 6 เดือน
+

เปลี่ยนสูตรนม ต้องพิจารณาว่าเป็นนมดัดแปลงให้ใกล้เคียงกับนมแม่หรือไม่ คือลดปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันที่มากเกินไป จนอยู่ในระดับที่ทารกย่อยง่าย และไตไม่ทำงานหนักจนเกินขีดความสามารถในการกำจัดของเสียที่เกิดจากโปรตีนที่มากเกินไป

ภาพจาก www.healthychild.org

ช่วงวัยนี้ทารกยังย่อยอาหารอื่นไม่ได้ ต้องรับสารที่ร่างกายต้องการจากนมเท่านั้น จึงมีการเติมสารต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับพัฒนาการ เช่น กรดไขมันจำเป็น ธาตุเหล็ก วิตามิน และแร่ธาตุ ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับนมแม่ (แต่บางอย่างก็ยังเลียนแบบไม่ได้ เช่นดีเอชเอยังเป็นคนละชนิดกับที่อยู่ในนมแม่) ส่วนทารกวัย 6 เดือนขึ้นไปจะเริ่มกินอาหารอื่นควบคู่ไปกับนม ร่างกายจึงได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์จากธรรมชาติเพียงพอแล้ว การเติมสารต่างๆ ในนมสูตรต่อเนื่องจึงไม่ได้ให้ประโยชน์เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

นมสำหรับเด็กเล็กถูกดัดแปลงค่อนข้างมาก รสชาติจึงไม่ดีเท่ากับนมวัวสด แต่ผู้ผลิตไม่สามารถเติมน้ำตาลทรายหรือซูโครสในนมสูตรนี้ได้ เพราะกลัวว่าจะทำให้เด็กติดหวานและเป็นโรคอ้วนตามมา รสชาติของนมสูตรนี้จึงไม่อร่อย แต่เด็กมักกินได้เพราะยังไม่รู้จักรสชาติของอาหารอื่น

อ่านเรื่อง “เปลี่ยนสูตรนม ให้ลูกเมื่อไหร่ดี? ให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนตามวัย” คลิกหน้า 2

นมสูตรต่อเนื่อง (6 เดือน 1 ขวบ 3 ขวบ และ 6 ขวบ )

ดัดแปลงจากนมวัวเพียงเล็กน้อย รสชาติจึงดีกว่านมสูตรแรก (ไตและลำไส้เริ่มทำงานได้ดีขึ้น จึงเริ่มย่อยอาหารที่ย่อยยากหรือนมที่มีปริมาณโปรตีนสูงได้บ้างแล้ว) บางชนิดยังมีการเติมน้ำตาลทรายเพื่อทำให้รสชาติดี จะได้จูงใจให้เด็กชอบกินด้วย

ภาพจาก www.buonapappa.net

เด็กบางคนที่ไม่ชอบกินนมสูตรหนึ่งหรือกินได้น้อย เมื่อเปลี่ยนมาเป็นนมสูตรต่อเนื่องอาจกินได้มากขึ้น ขณะที่บางคนชอบรสชาติที่คุ้นเคย พอเปลี่ยนสูตรก็อาจกินได้น้อยลง

ภาพจาก www.thebureauinvestigates.com

จริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องมีนมสูตรต่อเนื่องก็ได้ คือเมื่อลูกอายุ 1 ขวบ ก็เปลี่ยนจากนมสูตรหนึ่งเป็นนมวัวรสจืดยูเอชทีหรือพาสเจอไรซ์ได้เลย เพราะถ้าลูกได้กินอาหารเสริมตามวัยแล้ว เขาจะได้รับสิ่งที่ร่างกายต้องการจากอาหารเสริมหมู่ต่างๆ ตามธรรมชาติอย่างครบถ้วนเอง

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการนิตยสาร AMARIN Baby & Kids