AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะถูกคนอื่นหอม

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด

คุณแม่ทุกคนที่ให้กำเนิดลูกน้อย ย่อมมีความรู้สึกเห่อลูกเป็นธรรมดา รวมถึงคนรู้จัก ก็มักจะเข้ามาดู เข้ามากอด เข้ามาหอมหนูน้อย เพราะความน่ารัก น่าเอ็นดูของเด็กทารก แต่การกระทำเหล่านั้น ปลอดภัย และมีผลดีกับหนูน้อยแล้วจริงหรือ แล้วถ้า ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด จะทำอย่างไร?

แชร์ประสบการณ์คนมาหอมลูก กอด สัมผัสตัว ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด

จากประสบการณ์คุณแม่ ที่คลอดน้องเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายเข้ามาชื่นชมหนูน้อยโดยการกอด และสัมผัสตัว วันต่อมาหนูน้อยมีอาการไข้ขึ้นสูง หายใจเสียงดังครืดคราด เร็วบ้าง ช้าบ้าง เมื่อคุณแม่พาส่งโรงพยาบาล ปรากฏว่าลูกน้อยติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะสัมผัสกับคนไข้ที่เป็นหวัด หนูน้อยต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนานถึง 7 วัน โดยคุณแม่เล่าว่า “ลูกต้องนอนเข้ายา 7 วัน วันละ 6 เข็ม วันไหนตรงเข็มที่แทงไว้ฉีดยาบวม ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ เจาะทั้งเท้า 2 ข้าง ทั้งมือ 2 ข้าง กว่าจะครบ 7 วัน ใจแม่แทบขาด น้ำนมก็ไม่มี เครียดด้วย” เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างบทเรียนราคาแพงให้กับคุณแม่ เพราะความเห่อของคนอื่น ทำให้ลูกได้รับอันตราย

อ่านต่อ “โรคติดเชื้อคืออะไร? และรักษาโรคติดเชื้ออย่างไรดี?” คลิกหน้า 2

โรคติดเชื้อคืออะไร?

โรคติดเชื้อ ไอ พี ดี คือ โรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสชนิดแพร่กระจายที่อันตรายสูง มักพบอาศัยอยู่ในโพรงจมูกหรือคอของคนทั่วไป ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการใดๆ (เป็นพาหะ) แต่แพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ เพียงการ ไอ จาม สัมผัสสิ่งคัดหลั่ง โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ภูมิคุ้มกันยังต่ำ อาจติดเชื้อโรคได้ง่าย เป็นโรคร้ายที่อาจทำลายชีวิตลูกน้อยได้ใน 2 วัน ควรป้องกันดีกว่าเป็นแล้วมารักษา เพราะเชื้อมักดื้อยา และต้องรักษาอย่างทันท่วงที

อาการโรคติดเชื้อเป็นอย่างไร?

  1. การติดเชื้อในระบบประสาท ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เด็กจะมีไข้สูง ซึม อาเจียน คอแข็ง ส่วนในเด็กทารกจะมีไข้สูง ซึม ร้องกวน กระหม่อมโป่งตึง และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคนี้ต้องมีการตรวจเพาะเชื้อ จากการเจาะน้ำไขสันหลัง
  2. การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีอาการไข้สูง ร้องกวน เชื้อสามารถกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้ เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด อาจเกิดการช็อคและเสียชีวิตได้
  3. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอดอักเสบ เด็กมีไข้ ไอ หอบ ถ้ารุนแรงมากอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลว
  4. การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน คือ คออักเสบ หูน้ำหนวก (หรือหูชั้นกลางอักเสบ) และไซนัสอักเสบ ถ้ารักษาไม่ถูกต้องเชื้ออาจลุกลามไปอวัยวะข้างเคียงและสมองได้

รักษาโรคติดเชื้ออย่างไรดี?

สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเป็นการติดเชื้อที่ไม่รุนแรง เช่น คออักเสบ หูน้ำหนวก หรือไซนัสอักเสบสามารถให้ในรูปแบบยารับประทานได้ แต่ถ้าเป็นการติดเชื้อแบบลุกลาม (IPD) ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน และให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดพร้อมกับการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องการหายใจ ยากันชัก เป็นต้น

การติดเชื้อแบบลุกลาม จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เช่น การติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง อาจทำให้เด็กชัก เกิดความพิการของสมอง ส่งผลให้ปัญญาอ่อนได้ ถึงแม้ว่าโรค IPD จะรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ แต่ปัจจุบันพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัสบางสายพันธุ์มีการดื้อยา (การดื้อยา หมายถึง เชื้อโรคมีการปรับตัวเอง ทำให้ยาปฏิชีวนะที่เคยใช้ได้ผลกลับไม่ได้ผล ต้องใช้ยาปฏิชีวนะขั้นสูงขึ้น) ทำให้การรักษาลำบากมากขึ้นและหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้เกิดความพิการ และเสียชีวิตได้

“ติดเชื้อ” ป้องกันง่ายๆ ด้วยการไม่ปล่อยให้คนอื่นมาใกล้ชิดกับลูกน้อย

อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม คลิก!!

อันตรายมาก! ปล่อยคนหอมแก้มลูกน้อย เด็กเสี่ยงติดเชื้อถึงชีวิต

โรคเริมในเด็กอันตราย ลูกน้อยเสี่ยงเสียชีวิต เพราะปล่อยให้ถูกจูบ

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะแม่ล้างมือไม่สะอาด

วิธีปกป้องลูกไม่ให้ใครมาแตะ หอม ฟัด

ทารกแรกเกิด “ติดเชื้อในกระแสเลือด” อันตราย..แต่ป้องกันได้

เครดิต: เฟสบุ๊ค Ppsp Naka, sanook.com

Save

Save

Save

Save

Save