เมื่อลูกมีอาการคันบริเวณทวารหนัก เพราะระคายเคืองที่ผิวหนังบริเวณรูทวารหนัก สาเหตุของการคันอาจเกิดมาจากการได้รับสารระคายเคือง เช่น ลูกชอบดูดนิ้ว รับประทานอาหารรสจัด รับประทานยาปฏิชีวนะบางชนิด สัมผัสสิ่งที่ทำให้ระคายเคือง เช่น กระดาษชำระ ที่มักพบในเด็ก
ลูกชอบดูดนิ้ว จนเป็นพยาธิ
การที่ลูกคัน เอามือเกาก้น เป็นไปได้ว่าลูกถูกพยาธิป่วนอยู่ ถึงแม้ว่าอาการจะดูเหมือนไม่รุนแรง แต่ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงได้ ลูกน้อยวัยแรกเกิดไปจนถึงวัยอนุบาลมีสิทธิเสี่ยงเป็นพยาธิได้ทุกชนิด และที่พบบ่อยที่สุดคือ พยาธิเข็มหมุด และพยาธิเส้นด้าย ที่มาของพยาธิตัวป่วนนี้มาจาก
- นิสัยการชอบนำของเข้าปาก การอมนิ้ว โดยเฉพาะเด็กวัยทารก ลูกน้อยอาจได้รับไข่พยาธิเข้าไป
- นิสัยการชอบสัมผัส เด็กๆ วัยก่อนเรียน และวัยเรียน มักติดเชื้อจากการเล่นในพื้นที่ที่ไม่สะอาด
เมื่อพยาธิเข้าไปในปาก ตามซอกเล็บ และชอนไชเข้าผิวหนังแล้ว พยาธิจะเดินทางไปยังลำไส้ แล้วออกตัวอ่อนมาเรื่อยๆ จนในที่สุดลูกน้อยก็ติดเชื้ออย่างรุนแรง มักจะเกิดกับเด็กที่ภูมิคุ้มกันไม่ดี และอาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ โดยการติดเชื้อนั้น สามารถเป็นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมคือ
- จากการรับประทาน เมื่อเด็กเกาก้น ไข่จะไปติดในง่ามนิ้ว แล้วเมื่อนำนิ้วเข้าปากเชื้อก็จะรุนแรง
- จากการหายใจ โดยไข่พยาธิตกอยู่บนเตียง ตามเสื้อผ้า เมื้อหายใจเข้าไป พยาธิก็จะเข้าไปอยู่ได้
- จากการติดเชื้อย้อนกลับทวารหนัก โดยไข่สามารถทนอยู่ได้นาน 3 สัปดาห์ และเจริญเป็นตัวอ่อน
เด็กสามารถติดพยาธิได้ทุกชนิดแบบเดียวกับผู้ใหญ่ โดยอาการที่บ่งบอกว่าลูกของเราติดเชื้อพยาธิที่พบบ่อย คือ อาการคันบริเวณทวารหนัก โดยเฉพาะเวลากลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สนิท กระสับกระส่าย ร้องกวน เมื่อเกามากเกินไปมักมีแผลถลอก ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน มีอาการปวดท้อง เบื่ออาหาร ท้องเสียบ่อย หายใจช้า ท้องอืด ตัวเล็ก ซีด อ่อนเพลีย เพราะพยาธิแย่งสารอาหารไป โดยเด็กอ้วน หรือเด็กผอมก็เป็นพยาธิได้
อ่านต่อ “พยาธิที่พบบ่อยในเด็ก” คลิกหน้า 2
พยาธิที่พบบ่อยในเด็ก
- พยาธิตัวกลม มีลักษณะลำตัวกลมๆ ยาวๆ คล้ายไส้เดือนดิน ใช้ตาดูแทบมองไม่เห็นจนความยาวเป็นฟุต พยาธิที่เรารู้จักกันดี เช่น พยาธิเข็มหมุด พยาธิเส้นด้าย พยาธิแส้ม้า พยาธิปากขอ พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
- พยาธิตัวแบน มีลักษณะลำตัวแบนๆ ถ้าคล้ายใบไม้เรียกว่า พยาธิใบไม้ มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงตัวโต พยาธิที่เรารู้จักกันดี เช่น พยาธิตัวตืดที่มักอาศัยอยู่ในเนื้อวัว และเนื้อวัว นั่นเอง
- พยาธิโปรโตซัว มีลักษณะที่เล็กมาก เป็นสัตว์เซลล์เดียว ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจึงจะเห็น อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ
อ่านต่อ “ใช้ยาถ่ายพยาธิอย่างปลอดภัยกับลูกรัก” คลิกหน้า 3
ใช้ยาถ่ายพยาธิอย่างปลอดภัยกับลูกรัก
ก่อนที่คุณพ่อ คุณแม่จะให้ลูกน้อยรับประทานยาถ่ายพยาธิ ควรปรึกษาเภสัชกร หรือคุณหมอ ก่อนว่ายาชนิดใดรับประทานได้ และปล่อยภัยสำหรับลูกน้อย ซึ่งยาที่นิยมใช้กับเด็กๆ จากคำแนะนำของเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล ได้แก่
1. Mebendazole ใช้ในการรักษาพยาธิตัวกลม ได้แก่ พยาธิแส้ม้า, พยาธิเข็มหมุด, พยาธิไส้เดือน, พยาธิปากขอ เด็กอายุ 12 – 24 เดือน ควรรับประทานเพียง 100 mg วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน หรือ 500 mg เพียงครั้งเดียว
2. Albendazole ใช้ในการรักษาพยาธิตัวกลม ได้แก่ พยาธิตัวตืด, พยาธิไส้เดือน, พยาธิปากขอ, พยาธิแส้ม้า เด็กอายุ 12 – 24 เดือน ควรรับประทานเพียง 200 mg
3. Piperazine Citrate Elixir ใช้ในการรักษาพยาธิตัวกลม ได้แก่ พยาธิเส้นด้าย พยาธิไส้เดือน พยาธิเข็มหมุด โดยแบ่งการรับประทานเป็น 2 แบบคือ
- พยาธิไส้เดือน หรือพยาธิตัวกลม ให้รับประทานเพียงครั้งเดียว
เด็กที่น้ำหนักไม่เกิน 20 กิโล ทาน 5 ช้อนชา ก่อนอาหารเย็น
เด็กที่น้ำหนักเกิน 20 กิโล ทาน 2 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารเย็น - พยาธิเส้นด้าย หรือพยาธิเข็มหมุด ให้รับประทานติดต่อกัน 7 วัน โดย
เด็ก 9 เดือน – 2 ขวบ ทานครั้งละ ½ ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น
เด็ก 2- 4 ขวบ ทานครั้งละ ½ ช้อนชา วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น
เด็ก 4- 6 ขวบ ทานครั้งละ 1 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น
เด็ก 6 -12 ขวบ ทานครั้งละ 1 ½ ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น
5. Decaris ใช้ในการรักษาพยาธิตัวกลม ใช้ยา 2.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น เด็กหนัก 20 กิโลกรัม ก็ต้องกินยา 50 มิลลิกรัม
6. Yomesan Tablet ใช้ในการรักษาพยาธิตัวแบน ได้แก่ พยาธิตัวตืด เป็นยาที่ควรเคี้ยวให้ละเอียด
เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ทานเพียง 1 เม็ด
เด็กอายุ 2 – 6 ขวบ ทาน 2 เม็ด
เด็กอายุมากกว่า 6 ขวบ ทาน 4 เม็ด
เรื่องสำคัญก่อนใช้ยา
คุณแม่ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร และเด็กอายุน้อยว่า 2 ขวบ ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนรับประทานยา Albendazole หรือ Mebendazole และเมื่อต้องรับประทานควรให้ยารับประทานกันทั้งครอบครัว เพื่อป้องกันการติดเชื้อถึงแม้ว่าคนในครอบครัวจะไม่ได้เป็นพยาธิก็ตาม
สมุนไพรถ่ายพยาธิ นอกจากยาต่างๆ แล้ว ยังมีสมุนไพรที่นำมาใช้ถ่ายพยาธิได้ เช่น
- มะเกลือ ใช้ในการรักษาพยาธิปากขอในเด็ก โดยใช้ผลมะเกลือที่มีสีเขียว 1 ผลต่ออายุ 1 ปี ตำคั้นน้ำ ผสมกับหัวกะทิ ให้ทานตอนเช้ามืด ห้ามใช้ผลแก่
- ปวกหาด ใช้ในการรักษาพยาธิตัวตืด ได้จากการนำเปลือกของต้นมะหาด มาป่นเป็นผง ใช้ผงยา 5 กรัม ละลายน้ำเย็น ทานตอนเช้ามืดสองชั่วโมง ต่อมาก็ทานยาถ่ายอ่อนๆ ตาม
อ่านต่อ “ป้องกันลูกจากพยาธิ” คลิกหน้า 4
ป้องกันลูกจากพยาธิ
1.หมั่นรักษาความสะอาดของร่างกาย และของใช้ต่างๆ เช่น เสื้อผ้า ที่นอน หมอน ผ้าห่ม ตัดเล็บมือให้สั้น
2.สอนให้ลูกล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากเข้าห้องน้ำ อาบน้ำตอนเช้า
3.ลดการสัมผัสกับไข่พยาธิ และหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกเกาบริเวณทวารหนัก
4.ให้ลูกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด และใช้ภาชนะของใช้ต่างๆ ที่สะอาด ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด
5.นำของเล่นมาทำความสะอาดบ่อยๆ หรือบริเวณที่ลูกเล่นต้องสะอาด ไม่มีมูลสัตว์ ขยะมูลฝอย
6.ให้ลูกสวมรองเท้าเวลาที่ออกไปวิ่งเล่น เพื่อไม่ให้สัมผัสกับพื้นข้างนอกบ้าน
7.ฝึกลักษณะนิสัยรักความสะอาดให้ลูกน้อย เช่น ขับถ่ายให้เป็นที่เป็นทางในห้องน้ำ
เมื่อคุณพ่อ คุณแม่เริ่มสงสัยว่าลูกน้อยมีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิ หรือเริ่มคันก้น เอามือเกาก้น ควรรีบพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ เพื่อที่จะได้ตรวจวินิจฉันและทำการรักษาได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย ป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงลุกลามได้ค่ะ
เครดิต: พญ.เปรมจิต ไวยาวัจมัย ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, ผศ.พญ.รวีรัตน์ สิชฌรังสี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน, thaigoodview.com, หมอชาวบ้าน
Save
Save