AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

สังเกตสัญญาณ “พัฒนาการล่าช้า” ของลูก

วิธีสังเกตลูกพัฒนาการช้าตั้งแต่แรกเกิด

สำหรับคุณพ่อ คุณแม่แล้ว สิ่งที่ปรารถนาที่สุดในการมีลูกคือ การที่เห็นลูกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีพัฒนาการที่เป็นไปตามวัย แต่ถ้าหากลูกน้อยเติบโตได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น คุณพ่อคุณแม่คงเป็นกังวลอยู่ไม่ใช่น้อย มาทำความรู้จัก และเรียนรู้เรื่อง สัญญาณพัฒนาการช้าของทารกแรกเกิดกันค่ะ

สาเหตุ สัญญาณพัฒนาการช้า

พัฒนาการ คือ กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ซึ่งต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามแต่ละช่วงวัยของเด็ก เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

1.พันธุกรรมจากพ่อแม่ เช่น โรคทางพันธุกรรมบางอย่างที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ดาวน์ซินโดรม ฯลฯ หรือญาติพี่น้อง หรือคนในครอบครัว เคยมียีนผิดปกติ

2.คุณแม่สุขภาพไม่แข็งแรงขณะตั้งครรภ์ เช่น ดูแลตัวเองไม่ดีขณะตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ลูกอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่

3.มีภาวะการคลอดที่ไม่ราบรื่น เช่น คลอดก่อนกำหนด คลอดหลังกำหนด ซึ่งส่งผลกระทบกับลูกน้อย ได้แก่ ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เลือดออกในสมอง โรคปอดเรื้อรัง ตับวาย ไตวาย

4.มีปัญหาเรื่องสุขภาพ หรือภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด เช่น ตัวเล็กหรือใหญ่เกินไป ตัวเหลืองจนต้องเปลี่ยนเลือด หรือเข้าตู้อบเป็นเวลานาน

5.การเลี้ยงดู และโภชนาการที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่ได้รับอาหารที่ครบถ้วน รวมไปถึงไม่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ เท่าที่ควร

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

ผลของการมีพัฒนาการช้า

การที่ลูกน้อยมีพัฒนาการช้า อาจทำให้ร่างกายมีความผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรม ได้แก่

1.ลูกน้อยมีอาการไม่อยู่นิ่ง ไม่รู้จักการรอคอย มีความสนใจสั้น วอกแวก รับรู้ช้า ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตัวเองได้ เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน

2.ก้าวร้าว ชอบทำลายสิ่งของ ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง ไม่สามารถควบคุมความก้าวร้าวของตัวเอง

3.ทำอะไรซ้ำๆ เช่น นั่งโยกตัว สะบัดมือ ชกตัวเอง วิ่งไปทั่ว เมื่อลูกน้อยทำอะไรซ้ำๆ คุณพ่อ คุณแม่ไม่ควรดุด่า หรือตี เพราะจะสร้างภาวะกดดัน ส่งผลไม่ดีต่อพัฒนาการ และไม่อาจหยุดพฤติกรรมนั้นได้ ควรพาไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจสอบอย่างถูกวิธี

อ่านต่อ “สัญญาณบ่งชี้ลูกน้อยพัฒนาการช้า” คลิกหน้า 2

สัญญาณบ่งชี้ลูกน้อยพัฒนาการช้า

1.ศีรษะ

ศีรษะเล็ก หรือใหญ่เกินไป บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมอง อาจบ่งบอกถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ เช่น ขาดอากาศขณะคลอด หรือเป็นโรคทางพันธุกรรม ขนาดเส้นรอบศีรษะของเด็กโดยปกติ มีดังนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

2.หู

สังเกตพัฒนาการช้าของลูกน้อยได้ที่ใบหู เช่น ใบหูผิดรูป อยู่ต่ำหรือสูงเกินไปจนสังเกตได้ ติ่งหูยาวผิดปกติ มีรูด้านหน้าหู หรือหูไม่มีรู หรือ เมื่อลูกน้อยอายุ 6 เดือนแล้ว แต่ยังไม่สามารถหันตามเสียง ไม่ตอบสนองกับเสียงที่ได้ยิน เช่น ไม่สะดุ้ง ตกใจ เมื่อมีเสียงดัง

คุณพ่อ คุณแม่ลองให้ลูกน้อยฟังเสียงที่มีโทนเสียงแตกต่างกัน เสียงที่มีความซับซ้อน หรือการพูดคุยตอบโต้ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการฟังให้ลูกน้อยได้

3.ตา

สังเกตพัฒนาการจากดวงตา เช่น ตาห่างจนผิดปกติ ตาเหล่เข้า ตาเหล่ออก ถ้ามีแสงสะท้อนจากรูม่านตาเป็นสีขาว แสดงว่ามีความผิดปกติอยู่ด้านหลังรูม่านตา อาจเป็นต้อ มีเนื้องอก หรือจอประสาทตาลอก เมื่อมองตามวัตถุแล้วตามแกว่ง ไม่จับจ้องที่วัตถุ ไม่สบตา

คุณพ่อ คุณแม่ลองใช้ของเล่นที่มีสีสันสดใส ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ เล่นจ๊ะเอ๋ เล่นซ่อนของ เพื่อช่วยกระตุ้นให้ลูกน้อยได้ฝึกการเคลื่อนไหวของดวงตา ให้มองตามวัตถุนั้น

อ่านต่อ “สัญญาณบ่งชี้ลูกน้อยพัฒนาการช้า” คลิกหน้า 3

4.จมูก

สังเกตพัฒนาการจากจมูก เช่น ดั้งจมูกบี้ หรือเชิดมากเกินไป รวมถึงใบหน้าโดยรวม เช่น หางตาชี้ กระหม่อมแบน ลิ้นใหญ่ ซึ้งอาจเป็นอาการของดาวน์ซินโดรม ไม่ตอบสนอง หรือไม่มีปฏิกิริยาต่อกลิ่นต่างๆ เช่น ไม่นิ่วหน้า หรือจาม เมื่อได้กลิ่นฉุน ซึ่งโดยปกติเด็กทารกจะต้องเริ่มได้กลิ่นตั้งแต่อายุประมาณ 3 วัน โดยหันไปตามกลิ่นแม่ที่คุ้นเคย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

5.ปาก

ปากบาง จนไม่เห็นริมฝีปาก หรือปากแหว่งเพดานโหว่ พูดไม่ชัด ติดอ่าง เสียงผิดปกติ ไม่เล่นเสียง หรือส่งเสียงอ้อแอ้ ไม่โต้ตอบคำพูดตามวัย มีพัฒนาการทางภาษาช้า เช่น 2 ขวบแล้ว ยังพูดด้วยคำที่ไม่มีความหมาย ไม่ทำตามคำสั่ง และไม่พยายามพูดกับคนอื่น

คุณพ่อ คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการพูดของลูกน้อยได้ จากการตอบสนองเสียงอ้อแอ้ ชวนลูกพูดคุยโต้ตอบ เหมือนพูดคุยกันรู้เรื่อง หรือชวนออกเสียงด้วยคำง่ายๆ ให้ลูกน้อยได้เลียนเสียง หรือเล่นเกมเป่าฟองสบู่ เป่าลูกโป่ง หรือเป่าน้ำในแก้ว จะช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อเพดานช่องคอ และการใช้ลมออกเสียง

อ่านต่อ “สัญญาณบ่งชี้ลูกน้อยพัฒนาการช้า” คลิกหน้า 4

6.ลิ้น

ลูกน้อยมีลิ้นใหญ่ ลิ้นยืดออกมาขณะพูด น้ำลายไหลย้อย อ้าปากกว้างไม่หุบ ไม่กลืนอาหาร ไม่เคี้ยวข้าว หรือเคี้ยวข้าวนาน ไอและสำลักอาหารบ่อยๆ

คุณพ่อ คุณแม่ลองนวดกระตุ้นกล้ามเนื้อรอบริมฝีปากให้ลูกน้อย เพื่อทำให้เกิดการดูด โดยวางนิ้วชี้กับนิ้วหัวมือลงบนคาง ใต้ริมฝีปากล่าง แล้วลากออกเป็นเส้นตรงจนสุดขอบปากล่างทั้งสอง ประมาณ 5-10 ครั้ง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

7.แขนขา และลำตัว

แขนขายาวไม่เท่ากัน นิ้วยึดติดกัน มีนิ้วเกิน 5 นิ้ว มีนิ้วกุด กล้ามเนื้อแขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวลำบาก เคลื่อนไหวผิดปกติ ข้อยึดติด ข้อสะโพกหลุด หรือแบะออกมากจนเกินไป หรือหนีบติดกันไม่ยอมแบะ ท้องผูกเรื้อรัง เป็นสัญญาณของการเคลื่อนไหวในลำไส้มีปัญหา มีปัญหาเรื่องการย่อย และการดูดซึม กล้ามเนื้อแขนขานุ่มนิ่ม อ่อนปวกเปียก ไม่มีแรงในการเคลื่อนไหว ยกแขนขาลำบาก ไม่สามารถควบคุมลำตัวเพื่อทรงตัวให้มีสมดุลขณะถูกอุ้ม ตัวอย่างเช่น

คุณพ่อ คุณแม่ลองกระตุ้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อของลูกน้อย ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้อง

อ่านต่อ “สัญญาณบ่งชี้ลูกน้อยพัฒนาการช้า” คลิกหน้า 5

8.ผิวหนัง

ลูกน้อยมีสีผิวผิดปกติ เช่น ตัวเหลือง มีปานเป็นริ้ว เป็นแนว สีขาวหรือสีดำขนาดใหญ่ มีปานตามผิวหนังมากกว่า 6 จุด ที่บริเวณหลังมีปานคล้ายรูปต้นคริสต์มาส ผิวหนังแห้งมาก มีอาการคัน และเกาตลอดเวลา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

วิธีป้องกันลูกน้อยพัฒนาการช้า

1.เปรียบเทียบพัฒนาการของลูกน้อย กับสมุดบันทึกพัฒนาการที่ได้รับจากทางโรงพยาบาลอยู่เสมอ

2.ถ้าไม่มั่นใจในการตรวจกับคุณหมอคนแรก ให้ลองตรวจกับคุณหมอคนที่ 2 เพื่อความมั่นใจ

3.คุณแม่ต้องช่างสังเกต คอยสังเกตพัฒนาการ และความผิดปกติในร่างกายของลูกน้อย

4.อย่าเร่งให้ลูกน้อยดูโทรทัศน์ เล่นแท็บเลต สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ เพราะอาจส่งผลต่อพัฒนาการ

5.ถ้าพบปัญหาผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ และพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ

เครดิต: http://oknation.nationtv.tv/blog/nam-peth/2008/03/03/entry-4

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ลูกพัฒนาการช้า ควรไปหาหมอเมื่อไหร่ดี?

พัฒนาการช้า เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องสังเกตลูก

พัฒนาการช้า ของลูก! … แบบไหนควรเริ่มปรึกษาแพทย์ดี?

Save

Save