พัฒนาสมองลูก

พัฒนาสมองลูก ให้ฉลาด และอัจฉริยะใน 1,000 วัน

event
พัฒนาสมองลูก
พัฒนาสมองลูก

คำแนะนำให้เริ่มเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อย

“ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยหรือส่องไฟ ที่สำคัญคุณแม่ต้องอารมณ์ดี   ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ขณะเดียวกันคุณพ่อต้องช่วยดูแลคุณแม่ด้วย เพราะทั้งหมดล้วนมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพสมองของลูกรัก”

แพทย์หญิงเกศินี กล่าวต่อว่า ภายหลังคลอด เซลล์สมองยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการขยายขนาด และที่สำคัญขยายโครงข่ายส่วนที่เป็นเส้นใยประสาท ทำให้การพัฒนาสมองสมบูรณ์และมีคุณภาพมาก ทั้งนี้ เพราะเส้นใยประสาทมีหน้าที่ช่วยในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ช่วยให้สมองทำงานอย่างเป็นระบบ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้และการกระตุ้นทักษะในด้านต่างๆ ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการหลายๆ ด้านของลูกน้อย เช่น เรื่องภาษา ความจำ การทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก

เมื่อครบ 1,000 วัน สมองจะมีขนาดประมาณ 75-80% เมื่อเทียบกับน้ำหนักสมองของผู้ใหญ่ เด็กจะเรียนรู้ได้ง่ายกว่าช่วงอื่นๆ เซลล์สมอง 1 เซลล์ สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายของสารสื่อประสาทได้เป็นหมื่นเซลล์

ใน 1,000วัน ร่างกายจะสร้างเซลล์สมองมากถึง 100,000 ล้านเซลล์ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญมากในการพัฒนาสมองลูกในช่วง 1,000 วันสำคัญแรกนี้ เพราะเหมือนเป็นช่วงที่กำหนดศักยภาพสมองลูกไปตลอดชีวิต

อาหารพัฒนาสมอง

การได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีนเพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท มีความจำเป็นมาก เพราะร่างกายของเด็กไม่สามารถสร้างสารตั้งต้นของสื่อประสาทได้เองอย่างเพียงพอ สารอาหารอย่างแอลฟา-แลคตาบูมิน เป็นแหล่งของโปรตีนคุณภาพ พบมากในนมแม่ มีความสำคัญคือ ช่วยสร้างสารสื่อประสาทช่วยในการทำงานของสมอง โดยให้กรดอะมิโนจำเป็น เช่น ทริปโทเฟน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสำหรับสร้างสารสื่อประสาท และเป็นส่วนประกอบของเส้นใยประสาทของลูก

“ผลวิจัยทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่าเด็กที่ได้รับสารอาหารแอลฟา-แลคตาบูมินจากน้ำนมแม่นาน 6 เดือน พบว่าเด็กมีพัฒนาการที่ดีกว่า ซึ่งส่งผลดีต่อพฤติกรรม การเรียนรู้ การพัฒนาสมองและอารมณ์ ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ขาดสารอาหารแอลฟา-แลคตาบูมิน จะมีไอคิวต่ำและพัฒนาการที่ไม่สมวัย

ดังนั้น คุณแม่ควรให้นมแม่ให้นานที่สุด แอลฟา-แลคตาบูมินยังมีประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมบุตร เพราะโปรตีนแอลฟา-แลคตาบูมินเป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญที่สร้างการเติบโตของเซลล์ประสาทและพัฒนาการของสมองทารกในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด รวมถึงกระบวนการสร้างน้ำนม

แต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมบุตรได้ อาจให้นมที่มีส่วนผสมของสารอาหารแอลฟา-แลคตาบูมิน พร้อมทั้งโภชนาการที่เหมาะสม เช่น การรับประทานโปรตีนจากไข่ เนื้อ นม ชีส เป็นต้น”

เมื่อลูกน้อยมีต้นทุนจากการโภชนาการที่ดีแล้ว เซลล์สมองก็จะมีความสมบูรณ์ ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกฉลาดก็ควรส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างเหมาะสม คือ

  1. เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยมีคุณพ่อคุณแม่คอยช่วยเหลือแนะนำ
  2. อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ได้รับการกระตุ้นฝึกฝนทักษะด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  3. สอนเรื่องของคุณธรรมที่ต้องอาศัยการปลูกฝังตั้งแต่เด็กเช่นกัน

ชมคลิป เลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะใน 1000 วัน โดย นพ.สุรเชษฐ์ อภินิลบงกช สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์


เครดิต: naewna

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up