AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

การมองเห็นของทารก พัฒนาการที่พ่อเเม่ควรรู้

การมองเห็นของทารก คือพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็ก ทารกปกติสามารถมองเห็นได้ตั้งเเต่เกิด เเละ ยิ่งได้เห็นมากขึ้นเท่าไหร่ ก็เท่ากับเปิดโลกให้ได้เรียนรู้มากเท่านั้น ระยะเวลาในการมองเห็นของลูกน้อยจึงควรเป็นไปตามระยะในเเต่ละเดือน โดยพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูก จะเริ่มตั้งเเต่เเรกเกิดจนถึง 1 ขวบ  จะเป็นอย่างไรนั้นตามไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

การมองเห็นของทารก พัฒนาอย่างไร ? 

เส้นทางพัฒนาการ การมองเห็นของทารก 

1 เดือน

ในช่วงเดือนเเรกของลูก ตาทั้งคู่ของลูกนั้นอาจยังทำงานได้ไม่สามัคคีกันสักเท่าไหร่ เนื่องจากการมองเห็นของเด็กเเรกเกิดนั้น มีลักษณะเบลอ  ๆ ไม่ชัด เห็นได้ในระยะห่าง 8 – 15 นิ้ว สิ่งที่ดึงดูดสายตาของเด็กน้อยได้ดี คือใบหน้าของพ่อเเม่ เพราะอวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้า อย่าง ปาก จมูก ดวงตา ขยับไปมา ทำให้ลูกเริ่มสังเกต

แรกเกิด – เด็กจะมองแทบไม่เห็นอะไรเลย ระยะโฟกัสของเด็กจะอยู่แค่ 8-10 ซม. เท่านั้น

 

1 เดือน – เด็กจะเห็นเป็นสีขาวดำ สายตาของเด็กยังไม่สามารถโฟกัสได้

2 เดือน – 4 เดือน

เเท้ที่จริงเจ้าตัวเล็กสามารถมองเห็นสีได้ตั้งเเต่เกิด เพียงเเต่อาจจะยังไม่สามารถเเยกเเยะโทนสีที่ใกล้เคียงกันได้ เมื่อเข้าสู่วัย 2 เดือน – 4 เดือน ลูกจะเริ่มเเยกเเยะความเเตกต่างของสี โดยสีที่สามารถเเบ่งเเยกได้อย่างชัดเจนคือ สีเเดง สีน้ำเงิน เเละสีเหลือง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปเเบบใด จะสามารถดึงดูดสายตาของลูกได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในวัยนี้ ควรหาของเล่น หรือ ภาพถ่ายมาให้ลูก ได้ฝึกการมอง

2 เดือน – ภาพที่เห็นยังคงเป็นโทนขาวดำอยู่ แต่เริ่มชัดขึ้น

 

3 เดือน – มองเห็นสีสันมากขึ้น และโฟกัสใบหน้าพ่อแม่ได้ หากเข้ามาใกล้ๆ

4  เดือน – 5 เดือน

ในวัยนี้เจ้าตัวน้อยพัฒนาความสามารถในการมองเห็นได้ละเอียดเเละเเยกเเยะสีมากขึ้น นอกจากนี้ยังควบคุมการใช้เเขนได้ดี ทำให้เวลาที่เเม่อุ้มลูกน้อย มือเล็ก ๆ ของลูก จะพยายามคว้าจับตุ้มหู ที่เเม่ใส่ หรือ คว้าจับผมของคุณเเม่ เป็นต้น

4 เดือน – ระยะโฟกัสของเด็กจะค่อยๆ ไกลขึ้น เด็กเริ่มจดจำใบหน้าพ่อแม่

5 เดือน – 8 เดือน

ลูกวัยนี้เริ่มมองเห็นสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ทั้งยังสามารถเคลื่อนสายตามองตามได้ ความจำดีขึ้น ลูกเริ่มจดจำสิ่งของที่เคยเห็นได้ ดังนั้นลูกในวัยนี้จึงชอบเล่นเกมซ่อนหาสิ่งของ โดยทั่วไป ลูกในวัย 5 เดือนสามารถเเยกเเยะสีได้เก่ง สีที่คล้ายกันลูกก็สามารถมองเห็นถึงความต่าง เเละ รับรู้ว่าสิ่งที่จับนั้นมีความเเตกต่างกัน

5 เดือน – การโฟกัสสายตาดีขึ้นเรื่อยๆ
6 เดือน – สีสันเริ่มชัดมากขึ้น ระยะโฟกัสดีขึ้น
7 เดือน – จากหน้าพ่อที่เห็นเบลอๆ จะเริ่มชัดมากขึ้นแล้วตอนนี้

8 เดือน – 12 เดือน

ในระยะนี้ความสามารถในการมองเห็นของลูกมีความเทียบเท่าผู้ใหญ่  การจำผู้คน หรือสิ่งของต่าง ๆ ก็เริ่มทำได้ดีมากขึ้น สามารถเเยกเเยะสีสันต่าง ๆ ได้หลากหลาย ซึ่งหลังจากนี้ไม่นาน พัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกจะสมบูรณ์เช่นเดียวกับผู้ใหญ่

8 เดือน – โลกสดใส แต่ยังมองเห็นระยะไกลไม่ชัด
9 เดือน – พัฒนาการของสายตาดีขึ้นทุกๆ เดือน

12 เดือน – ถึงแม้จะมองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นมาก แต่สายตาของเด็กจะพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุประมาณ 2 ขวบ จึงจะเห็นได้อย่างสมบูรณ์

วิธีการกระตุ้นพัฒนาการ การมองเห็นของทารก

พัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก ส่งผลต่อการเรียนรู้ของลูก การเสริมให้ลูกได้ฝึกทักษะทางสายตาและส่งผลดีต่อทักษะในทุกด้าน ลูกสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ พัฒนาการด้านสายตาของลูกตั้งแต่แรกเกิดนี้ จะส่งผลต่อการเรียนรู้ และระดับสติปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต คุณพ่อคุณจึงสามารถช่วยเสริมพัฒนาการดังกล่าวได้ผ่านการกระตุ้น ซึ่งมีวิธีการดังต่อไปนี้ค่ะ

1. เเสดงท่าทางใบหน้ากับลูก

การเล่นกับลูกน้อยโดยการจ้องตา เคลื่อนไหว เคลื่อนไหว ขยับอวัยวะบนหน้า หรือส่งเสียง ชวนลูกคุย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ฝึกให้ลูกได้มีการโฟกัสภาพตรงหน้า

2. ของเล่นกรุ๊งกริ๊งสีสันสดใส

เขย่าให้มีเสียงเคลื่อนไหวให้มองตาม ลูกจะตื่นตามองหาที่มาของเสียงเป็นการฝึกทักษะการสังเกต

3. การเเขวนโมบาย รูปทรงต่าง ๆ

การติดโมบาย จะช่วยให้ลูกฝึกการปรับโฟกัส ควรติดโมบายให้ห่างจากสายตาลูก ประมาณ 8 – 12 นิ้ว ช่วยให้ลูกเเหนมองวัตถุที่เคลื่อนไหว มีกาจดจ่อ

4. หนังสือภาพที่มีสีสันสดใส

การใช้น้ำเสียงโทนต่ำเเละสูงสลับไปมาระหว่างเล่าเรื่อง พร้อมกับหนังสือภาพที่มีสีสดใส จะช่วยเพิ่มพัฒนาการของลูกทั้งเรื่องของการได้ยิน เเละเรื่องของความจำ โดยเฉพาะภาพที่มีตัวอักษรใหญ่ ๆ จะช่วยกระตุ้นการใช้สายตาในการมองขอลูกได้อย่างดี

5. กระจกเงา

การอุ้มลูกเเละเรียกชื่อของลูกหน้ากระจกเงาซ้ำ ๆ จะเป็นการช่วยกระตุ้นการมืองเห็นไปพร้อมกับพัฒนากาของสมองในกาจดจำชื่อของตนเอง

6. เล่นจ๊ะเอ๋

การเล่นซ่อนแอบจะช่วยทำให้ลูกน้อยอารม์ดี ช่วยสร้างความมั่นใจ เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างคุณพ่อคุณเเม่เเละลูก นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางอารมณ์ (EQ) เเละช่วยเบนความสนใจเมื่อเด็กงอเเง

7. ลูกบอลสีสันสดใส

ลูกบอลสีสดใสขนาดที่ลูกสามารถหยิบจับได้ หรือถ้ามีเสียงกรุ๊งกริ๊งด้วยยิ่งดี เพราะจะช่วยทำให้ลูกสนใจ เเละ อยากเล่น เพิ่มความเเข็งเเรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กเละมัดใหญ่ ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

นอกจากการพัฒนาการของลูกน้อย อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่เเพ้กัน คือการระวังปัญหาด้านสายตาของทารก ซึ่งมีด้วยกันดังนี้ค่ะ

ปัญหาสายตาที่พบบ่อยที่สุดในทารก

เยื่อบุตาอักเสบ

ลักษณะอาการคือตาขาวมีสีเเดงหรือชมพู เปลือกตาบวม น้ำตาไหล ตาเเฉะมีขี้ตาคล้ายหนองสีเหลือง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือ ท่อน้ำตาอุดตัน การรักษาเยื่อบุตาอักเสบของทารก ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเเพทย์จะมีการสั่งยาสำหรับรักษาอาการโดยตรง ในกรณีที่มีขี่้ตาออกเยอะให้ใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดจากหัวตาไปหางตา หลังจากเช็ดเเล้วให้นำทิ้งทันทีไม่ควรเช็ดซ้ำ

ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus)

มักพบในเด็กที่บริเวณสันจมูกยังโตไม่เต็มที่ และบริเวณหัวตากว้างจึงแลดูคล้ายตาเหล่เข้าใน ซึ่งเมื่อเด็กโตขึ้นดั้งจมูกสูงขึ้นภาวะตาเหล่นี้จะหายไปได้เองค่ะ

เลซี่อาย (Lazy Eye) หรือ โรคตาขี้เกียจ

เป็นภาวะที่ตาข้างหนึ่งมีโฟกัสมากกว่าตาอีกข้าง ส่งผลให้ตาข้างนั้นๆมองเห็นไม่ชัด และโรคตาขี้เกียจสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการสวมแว่นตาเพื่อกระตุ้นการมองเห็นที่ดีขึ้นค่ะ ในบางรายอาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด

คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมการมองเห็นของทารกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับโภชนาการที่เหมาะสมที่ดีต่อระบบสายตา และสุขภาพร่างกายของลูก อย่างวิตามินเอ ทอรีน ลูทีน และกรดไขมัน DHA รวมทั้ง PDX และGOS ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะช่วยในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและทำให้ลูกน้อยมีระบบขับถ่ายที่ปกติ มีทางเดินอาหารที่ดี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างพัฒนาการการมองเห็นของลูกน้อย

ที่มา : thaichildcare , โรงพยาบาลวิชัยุทธ, หนังสือเรื่องคู่มือพัฒนาสมองลูก, businessinside

อ่านต่อ :

รวมสุดยอด นมกล่อง UHT สำหรับเด็ก นมดีสำหรับเด็กเจ็นฯ นี้ “ดูแลสายตา บำรุงสมอง” ลูกกินได้ทุกวัน

ลูกฉลาด ถ้าฉลาดดูแลสายตา

เผยสูตรดี “ซุปมะเขือเทศ” เมนูบำรุงสายตา เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ!