AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกชอบเรียงของเล่นเป็นออทิสติก จริงหรือไม่?

ลูกชอบเรียงของเล่นเป็นออทิสติก จริงหรือไม่?

คุณพ่อ คุณแม่เคยสังเกตลูกบ้างไหมคะ ว่าเคยมีพฤติกรรมแบบนี้บ้างหรือเปล่า? เช่น ชอบเรียงของให้เป็นระเบียบ เอาของเล่นมาเรียงกันเป็นแถวๆ หรือชอบจัดของ มีความเข้าใจด้านการเรียนรู้ได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ เพราะพูดเรียงประโยคไม่ถูกต้อง ตอบคำถามไม่เป็น ลูกชอบเรียงของเล่นเป็นออทิสติก ?

ดร.จูดิธ ไมเยอร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านพัฒนาการเด็กและครอบครัวศึกษาจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูร์ ให้ความเห็นว่าพฤติกรรมนี้ถือเป็นเรื่องปกติ ยกเว้นในกรณีของเด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นออทิสติก คุณพ่อคุณแม่อาจต้องเฝ้าระวังให้มากขึ้น แต่ถ้าลูกไม่มีสัญญาณผิดปกติอื่นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องกังวลจนเกินไป

“เด็กวัย 3 – 5 ขวบเริ่มเรียนรู้ว่าสิ่งของต่างๆ ทำงานอย่างไร และแบ่งประเภทของสิ่งของที่รู้จักได้” ดร.ไมเยอร์กล่าว นิสัยชอบจัดเรียงนี้ นอกจากจะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้แล้วยังฝึกความเป็นระเบียบด้วยอย่างน้อยคุณแม่ก็สบายขึ้น เพราะลูกรู้จักเก็บของเล่นเข้าที่ แล้วถ้าลูกเป็นออทิสติกล่ะ จะทำอย่างไร?

ออทิสติกคืออะไร?

ออทิสติก คือความผิดปกติของโครงสร้าง หรือสารเคมีบางอย่างของสมอง ทำให้มีปัญหาด้านพัฒนาการทางภาษาและสังคม เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เด็กเล็กบางคนอาจมีอาการผิดปกติให้พ่อแม่สังเกตเห็น แต่บางคนก็ไม่ชัดเจน ซึ่งไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดู หรือบุคลิกภาพของพ่อแม่

ในประเทศไทยเด็กที่เป็นออทิสติกพบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีประมาณ 9.9 คนต่อ 10,000 คน และในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง

ออทิสติกเกิดจากอะไร?

1.ความผิดปกติของสมอง ได้แก่

2.ปัจจัยทางพันธุกรรม ได้แก่

วิธีสังเกตอาการออทิสติก

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่พบว่าลูกมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ โดยช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการรักษาคือช่วงเด็กเล็ก 3 – 5 ขวบ โดยมีวิธีสังเกตลูกน้อยดังนี้

อ่านต่อ “อาการของออทิสติก และ การรักษาออทิสติก” คลิกหน้า 2

อาการของออทิสติก

1.พัฒนาการด้านภาษา ได้แก่

2.พัฒนาการด้านสังคม ได้แก่

3.พัฒนาการด้านพฤติกรรม ได้แก่

การรักษาออทิสติก

1.ปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม เช่น ลดพฤติกรรมซ้ำๆ โดยการให้รางวัล คำชมเมื่อมีพฤติกรรมที่เหมาะสม เพิกเฉยเมื่อเด็กงอแง หรือเบี่ยงเบนความสนใจเด็กไปยังสิ่งอื่นที่เด็กชอบในขณะที่เด็กงอแง

2.การฝึกพูด เป็นการรักษาที่สำคัญโดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า การฝึกการสื่อสารได้เร็วเท่าไหร่จะทำให้เด็กเรียนรู้จากการใช้ภาษาได้เร็วเท่านั้น

3.การส่งเสริมพัฒนาการ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

4.การศึกษาพิเศษ จัดการศึกษาที่มีระบบชัดเจน ไม่มีสิ่งเร้ามากเกินไป มีครูการศึกษาพิเศษดูแล โดยวางแผนการศึกษาร่วมกันระหว่างผู้ปกครองและโรงเรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอนช่วงหยุดเรียน

5.การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและช่วยให้ฝึกเด็กได้ง่ายขึ้น การรักษาด้วยยาไม่ได้เป็นการรักษาอาการหลักของโรค ยาที่ใช้ ได้แก่ Methylphenidate Risperidone/Haloperidol

อ่านเพิ่มเติมคลิก: “วิจัยชี้ยาโรคซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกเป็นออติสซึ่ม”

เครดิต: พญ.สุพาพรรณวดี ฟู่เจริญ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, แพทย์หญิง จอมสุรางค์ โพธิสัตย์ วว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น