AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เด็กเลี้ยงง่าย อาจเป็นหนึ่งในอาการของออทิสติก

เด็กเลี้ยงง่าย อาจเป็นหนึ่งของอาการออทิสติก

ออทิสติก คือความบกพร่องทางสังคมที่มักเกิดในวัยเด็ก มีปัญหาด้านการสื่อสาร และการคบเพื่อน มีความบกพร่องทางการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น การใช้ภาษาสื่อความหมาย และจินตนาการในการเล่น มีการเคลื่อนไหว ทำอะไรซ้ำๆ ดูเหมือนเป็น เด็กเลี้ยงง่าย ไม่ค่อยดื้อรั้น

ทำไม “เด็กเลี้ยงง่าย” จึงอาจเป็นสัญญาณของออทิสติก?

อันดับแรก เรามารู้จักลักษณะทั่วไป อาการ และวิธีสังเกตเด็กออทิสติกกันก่อนดีกว่าค่ะ

ลักษณะของเด็กออทิสติก         

1.มีความผิดปกติทางสังคม อารมณ์ และการสื่อสาร เช่น เป็นคนเงียบเฉย ดูเหมือนไม่มีจิตใจ และอารมณ์

2.ไม่เรียกร้องอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะหิว ถ่ายออกมาเปียกๆ เลอะๆ ก็ไม่ร้อง ดูเป็นเด็กเลี้ยงง่าย ให้ดูดนมก็ดูด

3.อาจจะร้องดังเหมือนเจ็บปวด ตกใจกลัว และกรีดเสียงดังนานหลายชั่วโมง โดยไม่มีสาเหตุ

4.นอนหลับได้เพียงสั้นๆ อดนอนได้ 2 – 3 วัน โดยไม่อ่อนเพลีย

5.จะไม่พอใจ โกรธ และกรีดร้องเสียงดัง ถ้าถูกอุ้ม ป้อนอาหาร อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าผ้าอ้อม หรือแต่งตัวให้

6.พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ดี นั่ง คลาน ยืน ได้ปกติ นอกจากเด็กจะมีอาการปัญญาอ่อนร่วมด้วย

7.อายุ 2-3 เดือน จะสังเกตเห็นการขาดความสนใจในบุคคล เมื่อมีคนมาพูดด้วยจะเฉย ไม่ยิ้ม ไม่ตอบ

8.เมื่อ 1 ขวบแรก อาการจะชัดขึ้น เช่น เมื่อนั่งตักจะนั่งเฉยๆ ไม่ตอบโต้แม้จี้เอว ไม่หันตามเรียกชื่อ

9.แสดงท่าทางรับรู้ต่อการเร้าประสาทความรู้สึก เช่น การเคาะพื้น การจ้องมองแสงสว่างจ้านานๆ

10.กลัวในสิ่งที่ไม่น่ากลัว เช่น วิ่งไปนอกถนนเพื่อดูป้ายทะเบียนรถแล้วบันทึก

ภาพตัวอย่างอาการของเด็กผู้เป็นออทิสติก มักจะมีอาการนิ่งเฉย

อ่านต่อ “อาการของออทิสติก” คลิกหน้า 2

อาการของออทิสติก

  1. ขาดความสนใจบุคคลรอบข้าง
  2. ใช้ภาษาและวิธีสื่อสารที่คนอื่นไม่เข้าใจ
  3. ไม่เล่นกับเด็กคนอื่นๆ จับมือผู้ใหญ่ ทำแทนในสิ่งที่ต้องการ
  4. พูดเรื่องเดียวซ้ำๆ
  5. พูดเลียนแบบเหมือนนกแก้วนกขุนทอง
  6. หัวเราะโดยไม่มีสาเหตุหรือไม่สมเหตุผล
  7. ไม่สบตาผู้อื่น รวมกลุ่มเฉพาะเมื่อมีผู้กระตุ้นหรือช่วยเหลือ
  8. ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
  9. ขาดจินตนาการ
  10. ทำท่าแปลกๆ

อ่านต่อ “วิธีสังเกตออทิสติก” คลิกหน้า 3

วิธีสังเกตเด็กที่อาจเป็นออทิสติก

  1. วัยทารก จะไม่ชอบให้อุ้ม ไม่กอดตอบเวลาอุ้ม ไม่สบตา ไม่มองหน้า ไม่สนใจตามหา
  2. วัยอนุบาล ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่สนใจอารมณ์ของคนอื่น ไม่สนใจใคร ไม่มองหน้า เข้าหาคนบ้างเมื่อจำเป็น
  3. เด็กๆ 50% มีปัญหาเรื่องการพูด ไม่เข้าใจภาษาพูด ตอบสนองต่อเสียงไม่เหมือนเด็กทั่วไป เหมือนหูหนวก แต่ถ้าเป็นสิ่งที่สนใจจะตอบสนองทันทีทุกครั้ง เช่น เสียงรายการทีวีที่ชอบ เสียงที่อยากได้ยิน
  4. ไม่มีการแสดงอารมณ์ เช่น ประหลาดใจ ดีใจ สงสาร ไม่หยอกล้อ เลียนแบบเสียงพ่อแม่
  5. เมื่อเริ่มพูดได้บ้าง จะมีเด็กออทิสติก 2 แบบ คือ พูดแต่กับเรื่องที่เขาหมกมุ่นอยู่ และไม่พูดถึงคนอื่น กับอีกแบบคือพูดมาก พูดซ้ำๆ เรื่อยๆ มากกว่าโต้ตอบกัน บางคนพูดน้อย และชอบตอบคำถามเท่านั้น
  6. มักสลับสรรพนาม เพราะเลียนแบบทั้งประโยคโดยไม่เข้าใจว่าต้องเปลี่ยนสรรพนามตามผู้พูด
  7. สำเนียงการพูดหรือร้องเพลงมักไม่มีเสียงสูงต่ำ สร้างคำที่มีความหมายเฉพาะสำหรับตัวเอง
  8. พูดตามทันที เมื่อคนอื่นพูดจบ และนำไปพูดโดยไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ในขณะนั้น
  9. สนใจสิ่งของซ้ำๆ ทำอะไรซ้ำๆ สนใจเพียงบางส่วนของของเล่น เช่น เล่นรถ หมดแต่ล้อรถ
  10. เด็กออทิสติกบางคนมีสติปัญญาดี เล่นสมมติได้ เช่น ป้อนข้าวตุ๊กตา ยกหูโทรศัพท์มาแนบหูฟัง

11. กลัวไม่มีเหตุผล เช่น เสียง รูปร่าง สี บางคนมักดมหรือชิมสิ่งที่ไม่น่าดม หรือชิม มองของด้วยหางตา

12. ติดของที่ไม่น่าสนใจ เช่น ฝาขวด ไม้กวาด เมื่อโตขึ้นบางคนหมกมุ่นอยู่กับเรื่องแผนที่ เบอร์โทรศัพท์

13. ทำกิจวัตรประจำวันซ้ำๆ เช่น ข้าวไข่เจียวต้องอยู่ในถาดหลุม ขนมปังต้องหั่นขวาง น้ำต้องเทครึ่งแก้ว

14. เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จะหงุดหงิด ทนไม่ได้ เช่น วางของผิดที่ เปลี่ยนเวลากินข้าว เป็นต้น

อ่านต่อ “สาเหตุของออทิสติก และการรักษา” คลิกหน้า 4

สาเหตุของออทิสติก

สาเหตุของออทิสติกยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน มีเพียงหลักฐานที่สนับสนุนว่าเป็นสาเหตุของระบบประสาทของเด็กเอง และสาเหตุที่เป็นไปได้ คือ พันธุกรรม ปัญหาที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์และคลอด ความผิดปกติของสมอง และพบว่าพี่น้องคนต่อไปจากพ่อแม่คู่เดิมจะมีโอกาสเป็นออทิสติก 50 เท่า

การรักษาออทิสติก

การรักษาเป็นความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพต่างๆ เช่น จิตแพทย์ พยาบาล จิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา นักการศึกษาพิเศษ นักอาชีวบำบัด นักฝึกพูด ร่วมมือกันพัฒนาเด็กตามศักยภาพของเด็กเอง เป้าหมายเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม เสริมสร้างทักษะใหม่ๆ เช่น การฝึกพูด การศึกษาพิเศษตามความถนัด ช่วยเหลือครอบครัวให้ปรับตัว และดูแลเด็กที่เป็นออทิสติก

พ.ญ. นันทกรณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม กล่าวว่า

“ภาวะจิตใจของพ่อแม่ที่ลูกเป็นออทิสติกนั้น ต่างอัดแน่นด้วยความรู้สึก เศร้า โกรธ ผิดหวัง ไม่พอใจ ไปพร้อมๆ กับความรู้สึกสงสารลูก แต่หมออยากให้กำลังใจคุณพ่อคุณแม่ ให้สามารถหลุดออกจากความรู้สึกนั้น แล้วเอากำลังกาย กำลังใจ มาทุ่มเทให้กับลูกได้เร็วที่สุด เพราะไม่มียาวิเศษใดๆ หรือการฝึกใดๆ ที่จะช่วยรักษาลูกได้ดีไปกว่าความรักและเอาใจใส่ของพ่อแม่ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะทำเพื่อลูกได้ดีที่สุดก็คือการเรียนรู้และเข้าใจโรคนี้ให้ได้อย่างถ่องแท้ รวมถึงศึกษาแนวทางการรักษาต่างๆ ที่มีในปัจจุบัน โดยหาข้อมูลรอบด้านทั้งข้อดีและข้อเสีย เพราะปัจจุบันมีวิธีการรักษาทางเลือกมากมายที่ให้ความหวังกับพ่อแม่ของเด็กออทิสติก แต่ส่วนใหญ่การรักษาทางเลือกเหล่านั้นยังมีผลการวิจัยด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่มากเพียงพอ อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรจะปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลด้วยว่าวิธีต่างๆ ที่จะเลือกทำนั้นปลอดภัยหรือเหมาะสมกับลูกของเราหรือไม่”

อ่านเพิ่มเติม คลิก!! “ลูกชอบเรียงของเล่นเป็นออทิสติก จริงหรือไม่?”

เครดิต: พ.ญ. นันทกรณ์ เอื้อสุนทรวัฒนา กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม, 9thaihealth, พิซซ่าหน้าบูด