AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ ? เลือกแบบไหนวัดไข้ลูกแม่นยำที่สุด!

ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ เลือกแบบไหนวัดไข้ลูกแม่นยำที่สุด

หากคุณแม่ต้องการซื้อ ปรอทวัดไข้ลูก ซึ่งในท้องตลาดมีขายอยู่มากมายหลายชนิด แล้วความจริง ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ และแบบไหนสามารถ วัดไข้ ลูกได้แม่นยำที่สุด ตามมาดูกันค่ะ

ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ เลือกแบบไหนวัดไข้ลูกแม่นยำที่สุด

ปรอทวัดไข้ทารก หรือ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็ก เป็นไอเท็มสำหรับในหมวด ของใช้ลูก ที่ขาดไม่ได้ เพราะลูกน้อยสามารถป่วยไข้ได้ตลอดเวลา ซึ่งไข้เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย มักทำให้ลูกงอแง ซึ่งหากลูกอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 – 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะถือว่า ลูกกำลังป่วยเป็นไข้

ทั้งนี้การใช้เพียงความรู้สึกจากการสัมผัสด้วยมือว่าลูกมีไข้สูงหรือไม่ อาจไม่เพียงพอเพราะมีความคลาดเคลื่อนได้มาก และในกรณีที่ลูกมีไข้สูงมากจริง อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่ ไม่ทันได้ระวังว่าจะเกิดการชักจากไข้สูง เพราะไม่ทราบว่าขณะนั้น อุณหภูมิของตัวลูกเป็นเท่าไรกันแน่ ทำให้ไม่ได้รีบให้ยาลดไข้และเช็ดตัว เพื่อทำให้ไข้ลงได้ทันการณ์

ซึ่งหากลูกน้อยเจ็บป่วยมีไข้ขึ้นมา เมื่อคุณพ่อคุณแม่พาไปหาคุณหมอเพื่อปรึกษาเรื่องการเจ็บป่วยของลูกนั้น ควรจะบอกคุณหมอเสมอว่าวัดไข้ได้เท่าไร และวัดที่ส่วนไหนของร่างกายรวมถึงชนิดของปรอทที่ใช้ด้วย เพื่อที่จะได้ช่วยคุณหมอวินิจฉัยอาการป่วยของลูกน้อยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

การใช้ปรอทวัดไข้กับลูกน้อย

วิธีการวัดไข้

ทั้งนี้การ วัดไข้ เป็นการวัดค่าอุณหภูมิของร่างกายด้วยปรอท หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แบบต่าง ๆ เพื่อดูว่าเป็นปกติหรือมีอาการไข้ ดูประสิทธิภาพในการใช้ยาลดไข้ และช่วยคำนวณหาวันไข่ตกในผู้หญิงตั้งครรภ์ โดยการวัดไข้สามารถวัดได้จากหลายจุดในร่างกาย และก่อนที่จะไปดูว่า ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้วัดไข้ให้ลูก โดยสามารถแบ่งออกเป็น 5 วิธี  ดังนี้

อ่านต่อ >> ข้อควรรู้ก่อนเลือกปรอทวัดไข้ให้เหมาะกับลูกน้อย” คลิกหน้า 2

อ่านต่อบทความอื่น คลิก : 

ขั้นตอนในการวัดไข้ให้ลูก ก่อนที่จะทราบว่า ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ

เชื่อว่าคงมีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายคนประสบปัญหาไม่น้อยกับการวัดไข้ลูกให้ถูกต้อง เพราะการวัดไข้มีความสำคัญในการระบุว่าลูกน้อยเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด โดยการวัดไข้ก็สามารถวัดได้หลายทางดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ซึ่งละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ทีนี้ก่อนการวัดไข้ คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องทราบกันก่อนด้วยว่าระดับของไข้มีอุณหภูมิแตกต่างกันดังนี้

และหากวัดไข้แล้วมีอุณหภูมิตั้งแต่ 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป แสดงว่าลูกมีไข้สูงมาก โดยหากมีไข้สูงถือว่าเป็นระดับที่อันตรายแล้ว ควรรีบไปพบคุณหมอโดยด่วน

การเตรียมตัวก่อนการวัดไข้

ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางประเภทก่อนการวัดไข้หรืออาจรอให้เวลาผ่านไปสักพัก เพราะอาจส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้น และค่าตัวเลขที่วัดออกมาผิดเพี้ยน เช่น ไม่ควรวัดไข้ทันทีหลังรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม แต่ควรทิ้งช่วงประมาณ 20-30 นาที แต่ในกรณีที่เพิ่งอาบน้ำอุ่นมาก่อนหน้านี้ควรรอให้เวลาผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วค่อยวัดไข้

ผลข้างเคียงของการวัดไข้

ลูกอาจรู้สึกอึดอัดเล็กน้อยในระหว่างการวัดไข้จากหลายวิธี ส่วนความเสี่ยงด้านอื่นควรระมัดระวังในการใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทวัดไข้ ซึ่งอาจเกิดการแตกในขณะการวัดไข้และทำให้ลูกน้อยได้รับสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย รวมไปถึงการวัดไข้ทางทวารหนักอาจทำให้เกิดอาการปวดหรือเกิดการบาดเจ็บจากการสอดเทอร์โมมิเตอร์ลงไปลึกมากเกินไป เพื่อความปลอดภัย ควรขอคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาล

การอ่านผลในการวัดไข้

อุณหภูมิปกติของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะอยู่ระหว่าง 36.5-37.2 องศาเซลเซียส แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งในระหว่างวันอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในร่างกายได้เล็กน้อยจากหลายปัจจัย เช่น ช่วงเช้าจะวัดอุณหภูมิร่างกายได้ต่ำกว่าช่วงบ่าย เด็กอายุมากกว่า 6 เดือนอาจมีอุณหภูมิปกติต่างกัน 1-2 องศาเซลเซียส

โดยเกณฑ์ปกติของอุณหภูมิในร่างกาย แบ่งตามวิธีในการวัดไข้ได้ดังนี้

หากอุณหภูมิที่วัดออกมาสูงกว่าเกณฑ์ข้างต้นแสดงว่าร่างกายมีอาการไข้หรือเกิดความปกติอื่น ๆ  ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาหลายปัจจัยประกอบ ไม่ควรดูเฉพาะค่าอุณหภูมิที่วัดได้เท่านั้น แล้ว ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ หรือแบบไหนใช้อย่างไร แม่นยำที่สุด เพื่อให้การวัดไข้ลูกอย่างถูกต้อง ตามมาดูวิธีการวัดไข้แต่ละประเภทกันเลยค่ะ

 

อ่านต่อ >> “ประเภทของปรอทวัดไข้
และวิธีเลือกที่วัดไข้ให้เหมาะกับลูกน้อย” คลิกหน้า
3

ประเภทของ ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ !?

1. ปรอทแก้ว หรือ ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา

การวัดไข้ทางรักแร้ = อายุที่เหมาะสม เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดและเด็กเล็ก

วิธีวัด:  ก่อนการวัดไข้ควรมีการตรวจดูภายในช่องปากว่าไม่มีสิ่งใดตกค้างอยู่ เช่น ลูกอม หมากฝรั่งหรือขนม รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการวัดไข้ทันทีหลังการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม แต่ควรรอเวลาอย่างน้อย 20-30 นาที เพราะอาจมีผลต่ออุณหภูมิที่วัดได้ และควรตรวจสภาพของปรอทก่อนการใช้ทุกครั้งว่าแถบสารปรอทอยู่ต่ำกว่าตัวเลข 36 องศาเซลเซียสหรือไม่ ถ้าอยู่สูงกว่าควรสะบัดให้สารปรอทลดลงมาก่อนใช้วัดไข้

จากนั้นเอาปลายกระเปาะของปรอทให้ลูกหนีบไว้อยู่กึ่งกลางรักแร้และไม่เลยออกไปด้านหลัง ควรรออย่างน้อย 4 นาที ให้แถบสารปรอทหยุดนิ่ง แล้วอ่านค่าที่วัดได้ โดยค่าอุณหภูมิปกติทางรักแร้จะต่ำกว่าการวัดทางช่องปากประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส

ปรอทแก้ว หรือ ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา วัดทางรักแร้

ส่วนการวัดไข้ทางช่องปาก ด้วย ปรอทแก้ว วิธีนี้เหมาะสำหรับ เด็กอายุ 5 ขวบ ขึ้นไป หรือผู้ใหญ่ หากใช้ปรอทวัดไข้แบบแก้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้กับเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพราะมีความเสี่ยงที่เด็กอาจกัดโดนปรอทแตก

ข้อดี/ข้อเสีย: เด็กบางคนอาจจะยังอมปรอทไม่เป็น อาจจะกัดแตกได้ ห้ามใช้ในกรณีที่เด็กไม่ยอมร่วมมือ และ/หรือ ในเด็กที่มีโอกาสชักจากไข้สูง เพราะอาจเกิดการชัก ขณะที่อมปรอทอยู่ในปากทำให้เกิดอันตรายได้ บางครั้งอ่านผลยากถ้าไม่ชำนาญ

2. ปรอทวัดทางก้น

อายุที่เหมาะสม สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด ถึง 4 ขวบ *แต่ควรทำอย่างระมัดระวังหรือมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล เพราะมีความเสี่ยงในการเกิดอาการบาดเจ็บ

วิธีวัด: ก่อนวัดไข้ ให้คุณพ่อคุณแม่ตรวจสภาพของปรอทก่อนว่าอยู่ในสภาพปกติพร้อมที่จะใช้งานได้ ให้หล่อลื่นปลายของปรอท ที่มีกระเปาะปรอทอยู่ด้วยวาสลิน หรือเควาย เจลลี่เพื่อหล่อลื่น จากนั้นจับให้ลูกอยู่ในท่านอน (คว่ำ, หงาย หรือ ตะแคง) ค่อยๆ สอดใส่ปรอทเข้าทางรูก้น ลึกประมาณ 1.25-2.5 เซนติเมตร ขั้นตอนนี้ควรระมัดระวังไม่สอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปลึกจนเกินไป และให้เวลาประมาณ 2 นาที ก่อนดึงออกมาอ่าน

ปรอทวัดไข้ ที่ใช้วัดทางก้น

ข้อดี/ข้อเสีย: ราคาไม่แพงให้ค่าที่มีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดแตกหักง่าย และบางครั้งอ่านผลยาก ถ้าไม่ชำนาญ เด็กโต จะไม่ค่อยชอบให้เหน็บก้น

3. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล

อายุที่เหมาะสม ใช้ได้ทั้งเด็กเล็ก และ เด็กโต

วิธีวัด: เหมือนกับปรอทวัดแบบทั่วไป โดยการนำเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล หรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้สอดเข้าไปที่ปาก (อมใต้ลิ้น) หรือรักแร้ โดยให้ปลายเทอร์โมมิเตอร์อยู่กึ่งกลางรักแร้และไม่เลยออกไปด้านหลัง จากนั้นหนีบเทอร์โมมิเตอร์ไว้สักพัก แล้วรอจนสัญญาณเสียงดังขึ้น จากนั้นอ่านค่าที่วัดได้ โดยค่าอุณหภูมิปกติทางรักแร้จะต่ำกว่าการวัดทางช่องปากประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล หรือ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้

 ข้อดี/ข้อเสีย: สะดวกตรงที่จะมีเสียงเตือน เมื่อถึงกำหนดเวลาอ่าน และอ่านได้ง่ายเพราะเป็นตัวเลขขึ้นเลย แต่จะมีราคาแพงกว่าปรอทวัดไข้แบบธรรมดา อีกทั้งความแม่นยำในการวัดอาจด้อยกว่าปรอทแก้วเล็กน้อย และอาจเสียได้ง่าย ซึ่งมีข้อควรระวังด้วย คือ ห้ามนำไปล้างน้ำหรือทำตกกระแทก เพราะอาจทำให้พังได้

4. แถบเทปวัดไข้

อายุที่เหมาะสม  เป็นวิธีการวัดที่เหมาะกับเด็กทุกวัย เพราะเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกและวัดไข้ได้อย่างรวดเร็ว

วิธีใช้: ก่อนการวัดไข้ควรมีการทำความสะอาดผิวบริเวณหน้าผากลูกให้เรียบร้อย จากนั้นนำเอาแผ่นแปะทาบตรงกลางหน้าผาก จากนั้นกดเบา ๆ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที ตัวเลขจะค่อยๆ ปรากฏชัดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถอ่านค่าอุณหภูมิได้เลยหลังจากที่ตัวเลขหยุดการเคลื่อนไหวแล้ว

แถบเทปวัดไข้

ข้อดี/ข้อเสีย: ให้ความสะดวกในการวัดไม่ต้องคอยให้เด็กร่วมมือ แต่ค่าที่ได้จะมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งสูงกว่า หรือต่ำกว่าที่เป็นจริง

5. เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ใช้วัดทางหู/หน้าผาก

อายุที่เหมาะสม สำหรับลูกน้อยวัย 3 ขวบ ขึ้นไป

วิธีวัด: ทำได้สะดวก เพราะใส่ที่รูหู โดยดึงใบหู ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม (ดึงขึ้น และเบน ไปทางด้านหลังเล็กน้อย) ควรทำการวัดซ้ำ อย่างน้อยหนึ่งหรือสองครั้ง และหาเป็นค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ

เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดที่ใช้วัดทางหู

ข้อดี/ข้อเสีย: ใช้เวลาสั้นมากในการอ่าน และ มีความไวต่ออุณหภูมิของแก้วหู ได้ดีมาก เพราะใช้เทคโนโลยี ในการตรวจหาความร้อนโดย อินฟราเรด ค่าจะคลาดเคลื่อนมากถ้าใช้กับเด็กเล็ก เพราะรูหูมีขนาดเล็ก หรือเด็กที่มีขี้หูเยอะ

ทั้งนี้ในปัจจุบันมีอินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่จะมีแสงสีฟ้าไว้วัดไข้ลูกน้อย เพียงกดปุ่มและจ่อไว้ที่หน้าผากก็จะอ่านค่าได้แม่นยำ อีกทั้งสามารถวัดไข้ลูกขณะนอนหลับโดยไม่ทำให้ตื่นด้วย

อินฟาเรดเทอร์โมมิเตอร์ที่จะมีแสงสีฟ้า วัดไข้ทางหน้าผาก

 

สรุปจากข้อสงสัยที่ว่า ปรอทวัดไข้มีกี่แบบ คือมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ ซึ่ง ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา หรือแบบแก้วนั้นจะมีราคาไม่แพง มีความถูกต้องแม่นยำดี ส่วนเครื่องวัดอุณหภูมิชนิดอื่นๆ (ยกเว้นแบบ แถบเทป) ก็มีความถูกต้องแม่นยำสูง และสะดวกมากเช่นกัน แต่จะมีราคาแพงกว่า และ ต้องทำการฝึกฝนวิธีใช้ และการอ่านค่าบ้างเล็กน้อย

ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกกำลังรณรงค์เรื่องสารปรอทเป็นพิษในสิ่งแวดล้อม จึงมีมาตรการในการลดการใช้ปรอทในกรณีต่างๆ และลดการผลิตปรอทแก้วลง ทำให้เครื่องอุปกรณ์วัดอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการวัดไข้คือ เครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิตอล หรือแบบอินฟราเรดที่ใช้วัดทางหู หรือทางหน้าผาก นั่นเอง

อ่านต่อบทความดีๆ น่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง เรื่อง วิธีเลือกชนิดของปรอทวัดไข้ จาก นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์ เว็บไซต์คลินิกเด็ก.คอม www.clinicdek.com และ www.pobpad.com , www.promotivecare.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids