นมแม่เหม็นหืน คุณแม่หลายคนคงเจอกับปัญหานี้ เมื่อนำนมแม่ไปแช่แข็งจะมีกลิ่นไม่เหมือนน้ำนมแม่สดๆ ทำให้ลูกทารกบางคนไม่ชอบ คุณแม่อาจใช้วิธีปั๊มน้ำนมสดๆ ผสมกับน้ำนมที่แช่แข็งเอาไว้ แล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนนมที่แช่แข็งให้ลูกค่อยๆ ปรับตัว
สาเหตุที่ นมแม่เหม็นหืน
นมที่แช่แข็งแล้วมีกลิ่นเหม็นหืนมักเป็นกับนมที่แช่แข็งในตู้เย็นที่มีละลายน้ำแข็งโดยอัตโนมัติ และเก็บไว้นาน เนื่องจากในช่วงที่ระบบละลายน้ำแข็งทำงาน นมที่แช่แข็งอาจละลายบางส่วน พอตู้เย็นกลับมาเย็นจัดใหม่ นมก็กลับมาแข็งใหม่ กระบวนการที่ละลายแล้วแข็ง แข็งแล้วละลาย สลับไปมา จะทำให้ไขมันในนมมีการเปลี่ยนแปลงทำให้มีกลิ่นหืนได้
สาเหตุที่นมแม่ที่แช่แข็ง แล้วนำมาละลายเป็นน้ำนม มักมีกลิ่นหืน เพราะในนมแม่มีเอนไซม์ “ไลเปส” ซึ่งคุณแม่แต่ละคนมีเอนไซม์มากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งหน้าที่ของเอนไซม์ตัวนี้คือ จะช่วยย่อยไขมันในนมแม่ให้แตกตัว เป็นอนุภาคเล็กๆ ผสมกับโปรตีนเวย์ได้ดี ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินเอ และดี ได้ดี ถ้าคุณแม่มีไลเปสมากก็จะย่อยไขมันได้มาก จึงทำให้เกิดกลิ่นหืน แต่ไม่เป็นอันตรายกับลูกน้อย สามารถดื่มได้
1.วิธีป้องกันไม่ให้ นมแม่เหม็นหืน
- ตรวจเครื่องปั๊มน้ำนมว่าสะอาดหรือไม่ ต้องนึ่งฆ่าเชื้อโรคทุกวัน ภาชนะที่เก็บน้ำนมต้องสะอาด ปลอดเชื้อ
- ถ้าเก็บน้ำนมแม่ไว้ในถุงพลาสติกแล้วมีกลิ่น ให้เปลี่ยนไปใช้ภาชนะที่เป็นแก้วแทน
- แช่แข็งให้เร็วที่สุด ถ้าน้ำนมละลายแล้ว ไม่แช่ซ้ำ ต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง
- นำนมแม่ที่พึ่งปั๊มรวมกับนมที่แช่แข็งทำให้นมละลายบางส่วนได้ ควรแช่เย็นก่อนละลายรวมกัน
- ไม่ควรจัดเรียงนมแม่ให้ชิดผนังของช่องแข็งที่มีระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติ
- อย่าเก็บน้ำนมรวมกับอาหารอย่างอื่น ควรปิดอาหารอื่นๆ ให้มิดชิด เพราะกลิ่นอาหารอาจจะมารวมกันได้
- ปั๊มนมให้ลูกดื่มวันต่อวัน ถ้าแช่ช่องธรรมดาจะเก็บได้ 2-3 วัน มักจะไม่เป็นหืน
- ควรรีดอากาศออกไปจากถุงก่อนปิดปาก ให้เหลือฟองอากาศประมาณปลายนิ้วก้อย เผื่อน้ำนมขยายตอนแข็งตัว และนำนมเข้าช่องแข็งให้เร็ว หรือใช้น้ำเย็นจัดราดถุงนมก่อนแช่แข็ง เพื่อให้นมเย็นเร็วขึ้น หรือใช้ถาดแสตนเลสรองเอาไว้เพื่อกระจายความเย็น นมจะแข็งเร็ว และเหม็นหืนน้อย
อ่านต่อ “การเก็บนมแม่ และวิธีนำมาใช้ไม่ให้เหม็นหืน” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
3.การเก็บนมแม่ และวิธีนำมาใช้ไม่ให้เหม็นหืน
- เมื่อต้องการนำนมแม่ที่แช่แข็งไว้มาใช้ ให้ละลายนมแม่ด้วยการนำไปแช่ในตู้เย็นปกติ 1 คืนก่อน ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็เขย่าแบบเย็นๆ แล้วป้อนลูกได้เลย ถ้าลูกไม่ชอบแบบเย็นให้นำไปแช่ในน้ำอุ่น ห้ามใช้น้ำร้อน หรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายสารอาหาร และภูมิคุ้มกันออกไปด้วย
- ไม่ควรปล่อยให้นมที่แช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าต้องการให้ละลายเร็วๆ ให้แช่ในน้ำธรรมดา
- นมที่เก็บในถุงเก็บจะละลายเร็วกว่าในขวด หรือภาชนะอื่นๆ
- น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้อีกเพียง 24 ชั่วโมง น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดสามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
- ไม่ควรนำนมที่แช่แข็งแล้วกลับไปแช่แข็งใหม่
- ปั๊มนมที่บีบใหม่ๆ รวมกับนมที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากการเก็บครั้งแรก
- ถ้าต้องการใช้นมภายใน 7 วัน หลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นปกติ ถ้าต้องการแช่แข็งต้องแช่ภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังจากปั๊มออกมา
- น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้วอาจมีกลิ่นเหม็นหืน แต่ไม่เสีย วิธีพิสูจน์ว่านมเสียหรือไม่คือคุณแม่ควรชิมก่อนด้วย
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :
- เทคนิค ปั๊มนมเกลี้ยงเต้า เพื่อลูกได้สารอาหารครบ!
- รับมือนมแม่สต็อกในตู้เย็นละลาย ขณะฝนตกไฟดับ
- CDC แนะนำการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่แบบใหม่
- ตอบชัดๆ 10 เมนูกลิ่นแรงทำ นมแม่เหม็น จริงไหม
- 4 เคล็ดลับเก็บน้ำนมแม่ได้นานในตู้เย็น คุณค่าสารอาหารครบ ไม่เหม็นหืน
เครดิต: มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย, www.breastfeedingthai.com, www.ardothai.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save