ทารกแรกเกิดที่ไต้หวันถูกอบสุกด้วย ผ้าห่มไฟฟ้า ในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลปัดความรับผิดชอบให้บริษัทผลิตผ้าห่ม ทางบริษัทกล่าวว่าไม่ควรนำมาใช้กับเด็กทารกแต่แรก โดยเด็กน้อยถูกส่งตัวไปหาแม่เพื่อให้นมก่อนที่จะถูกส่งกลับไปยังเตียงที่มีผ้าห่มไฟฟ้า
พยาบาลบอกว่าเธอเอาผ้าห่มไฟฟ้ามาห่มให้ทารกจนอุณหภูมิร่างกายปกติ แต่เมื่อเปลี่ยนผ้าห่มออกให้เด็กหลังจากนั้น 2 ชั่วโมง ก็พบรอยไหม้พุพองขนาดใหญ่ พยาบาลอ้างว่าทารกถูกห่อด้วยผ้า ทำให้มีแผลแค่เพียง 20% ของร่างกายส่วนล่าง
โรงพยาบาลกล่าวว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด และจะส่งให้ทางผู้ผลิตตรวจสอบ ทั้งยังบอกว่าเด็กจะหายดีใน 2 สัปดาห์ ส่วนรอยแผลเป็นจะต้องรักษาต่อไป
บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องจะต้องถูกเพิกถอนใบรับอนุญาต อาจถูกจำคุก 3 ปี ส่วนทางโรงพยาบาลถูกปรับแล้วกว่า 285,000 และอาจถูกศาลแพ่งสั่งให้จ่ายเงินชดเชยผู้ปกครองด้วย
ชมคลิปได้ที่นี่
ทำไมถึงต้องเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้ทารก?
หลังคลอด ลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุณหภูมิร่างกายต่ำ เพราะปัจจัยหลายประการ ส่วนการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายเมื่อลูกน้อยอุณหภูมิร่างกายต่ำใช้ ผ้าห่มไฟฟ้า วางบนตัวลูกน้อย 30 นาที แล้ววัดอุณหภูมิซ้ำ หรือวางลูกน้อยใต้เครื่องให้ความอบอุ่น 2 วิธีนี้พบว่ามีปัญหา
มีการใช้เวลานานกว่า 30 นาที บางครั้งเจ้าหน้าที่ไม่ได้ติดตามวัดเวลา จนลูกน้อยมีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไปถึง 38 องศา บางครั้งเจ้าหน้าที่จะนำผ้าห่มมาคลุมเครื่องไว้เพื่อไม่ให้ความร้อนกระจายออกไป ทำให้อุณหภูมิสูงมากเกินไป และมองไม่เป็นลูกน้อยด้านใน
อ่านต่อ “วิธีการเพิ่มอุณหภูมิให้ลูกน้อยแบบไม่อันตราย” คลิกหน้า 2
วิธีการเพิ่มอุณหภูมิให้ลูกน้อยแบบไม่อันตราย
การเพิ่มอุณหภูมิทารกที่มีอุณหภูมิร่างกายต่ำทำได้หลายวิธี เช่น แกงการูแคร์ เป็นการเพิ่มอุณหภูมิวิธีหนึ่ง โดยการให้ลูกน้อยสัมผัสกับแม่แบบเนื้อแนบเนื้อ มีการศึกษาวิจัยว่ามีประโยชน์มากกับเด็กทารกทั้งคลอดครบกำหนด คลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อย หรือน้อยมาก และไม่มีผลด้านลบกับเด็ก ทำให้ภาวะการเต้นของหัวใจช้า และการหยุดหายใจลดลง การหายใจรับออกซิเจนดีขึ้น การควบคุมอุณหภูมิร่างกายดีขึ้น
วิธีปฏิบัติ
1.เตรียมคุณแม่ ทำความสะอาดร่างกายให้เรียบร้อย ให้ปัสสาวะ ใส่เสื้อเปิดกระดุมด้านหน้า
2.ถอดเสื้อให้ทารก โดยทารกครบกำหนดปกติไม่ต้องสวมหมวก แต่ถ้าน้ำหนักตัวน้อยให้สวมหมวกได้
3.ใส่ผ้าอ้อมให้ทารก จัดท่าให้ทารกอยู่ในท่านอนคว่ำบนหน้าอกคุณแม่ ลำตัวตั้งขึ้น วางแนบอกแม่
4.ลูกน้อย แขน ขา งอ ในท่ากบ หันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง คุณแม่นั่งในท่าเอนหลังมีพนักพิง มีที่วางเท้า
5.ใช้เวลา 1 – 3 ชั่วโมง หรือนานเท่าที่ทารกอาการคงที่ ถ้ามีสัญญาณว่าไม่สุขสบาย ให้หยุดทำได้ ทำ 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยจะได้ผลดี แล้วจัดท่าให้ลูกน้อยนอนได้ตามปกติ
ประโยชน์ของการทำแกงการูแคร์
ทำให้เพิ่มความมั่นใจในการดูแลทารกของคุณแม่ ช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกาย ลดภาวะเครียดของคุณแม่จากการที่ลูกน้อยร้องกวน และไม่เสี่ยงต่ออันตรายจากการใช้ผ้าห่มไฟฟ้า
เครดิต: TomoNews Thailand, สุธิดา ทองสุขโข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น