อาการ ผื่นเแดง ผื่นผ้าอ้อม เป็นอาการที่เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในเด็กทารก ด้วยเพราะ เด็กทุกคนต้องใส่ผ้าอ้อมเป็นประจำ บางครั้งจึงทำให้เกิดอาการแพ้ เกิดเป็น ผื่นแดง เนื่องจากผิวหนังอับชื้น อาจเกิดจากการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกน้อย หรือคุณภาพของผ้าอ้อมนั้นไม่ดี ไม่ค่อยซึมซับน้ำ หรือไม่ เด็กเล็กๆ อาจแพ้ผลิตภัณฑ์ซักผ้า และ น้ำยาปรับผ้านุ่ม เมื่อลูกเล็กเคลื่อนไหวร่างกาย พอผิวถูกับผ้าอ้อมไปมาจึงทำให้เกิดผื่นขึ้น จนเป็นผื่นเเดงให้คุณพ่อคุณเเม่กังวลใจ
ทีมเเม่ ABK จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผื่นผ้าอ้อมมาให้คุณพ่อคุณเเม่ได้อ่านเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกันค่ะ
อาการ ผื่นแดง ผื่นผ้าอ้อม
อาการจะเริ่มจากการมีผิวแห้ง และ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย บริเวณที่ผิวสัมผัสกับผ้าอ้อม เช่น ต้นขา สะโพก ก้น และท้องน้อยช่วงล่าง หากบริเวณผิวของลูกถูกับผ้าอ้อมมาก ๆ อาจเกิดเป็นลักษณะของผื่นถลอก และ อักเสบ มีส่วนทำให้บาดแผลเกิดการติดเชื้อ ต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อราแคนดิดา เกิดเป็นตุ่มน้ำใสๆ หรือ ตุ่มหนอง ซึ่งหากไม่รีบรักษา อาจลุกลามมากขึ้นเรื่อย ๆ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการ ผื่นแดง ผื่นผ้าอ้อม
-
ปัสสาวะ
ปัสสาวะคือของเสียที่ร่างกายขับออกมาผ่านไตในรูปแบบของเหลว มีส่วนประกอบของสารที่ทำให้ระคายเคืองผิว ของเสียที่ขับออกมาจะเกิดการสลายตัวของของเสีย ซึ่งมีผลต่อการทำร้ายผิวหนัง
-
อุจจาระ
ในอุจจาระ มีสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิว เช่น พวกเอนไซม์ และ แบคทีเรียจากลำไส้ หากอุจจาระถูกห่อไว้ในผ้าอ้อมนาน ๆ จะทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อมได้ง่ายขึ่น
-
เหงื่อและความอับชื้น
ผิวหนังมีความรู้สึกไวต่อการอับชื้น ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย ยิ่งเมื่อลูกเคลื่อนไหวร่างกายเยอะ เหงื่อจะออกมามาก หากมีปัสสาวะหรืออุจจาระ ร่วมด้วยแล้ว ความอับชื้นภายในผ้าอ้อมจะเพิ่มสูงมาก ของเสียที่ร่างกายขับออกมา จึงเป็นตัวกระตุ้นให้ทำร้ายผิวได้ง่าย
-
ถูกกระตุ้นด้วยการเสียดสี
การทำความสะอาดผิวหนังของลูกน้อย คุณแม่ต้องระวังไม่ให้เกิดการเสียดสีที่รุนแรง เนื่องจาก ผิวของลูกน้อยอาจช้ำ โดยรอยช้ำดังกล่าวอาจมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และ การมองไม่เห็นนี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของกาการอักเสบได้
-
เชื้อรา
ความอับชื้นภายในผ้าอ้อม เป็นแหล่งเพาะเชื้อราได้อย่างดี มีผลทำให้ผิวหนังอักเสบ จนเกิดเป็นผื่นผ้าอ้อม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
16 วิธีดูเเลลูกน้อยให้ไม่เป็นผื่นผ้าอ้อม
1. เลือกผ้าอ้อมที่หมาะกับลูก
การเลือกซื้อผ้าอ้อมควรเลือกแบบที่ลูกจะไม่มีอาการแพ้ หากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าลูกจะมีอาการแพ้หรือไม่ เบื้องต้นให้ลูกน้อยลองใส่ผ้าอ้อมเพื่อดูความระคายเคือง หากไม่สบายตัวลูกน้อยอาจร้อง หรือ ถ้ามีอาการแพ้จะมีผดผื่นขึ้น นอกจากนี้ควรเลือกผ้าอ้อมให้เหมาะกับลูกน้อย ทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบผ้า
2. สวมผ้าอ้อมพอกระชับ
ไม่ควรใส่แน่นเกินไป เลือกผ้าอ้อมที่หลวมกว่าเอวลูกเล็กน้อย ให้มีพื้นที่ระบายอากาศ และทำให้ไม่อึดอัด สังเกตได้เมื่อปลดออกไม่มีรอยแดงที่ผิวหนัง เมื่อลูกถ่ายจะต้องซึมซับได้ง่าย
3. เปลี่ยนผ้าอ้อมให้เป็นเวลา
ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกทุก 2-3 ชั่วโมงหรือทุกครั้งหลังจากอุจจาระ โดยลูกวัย 1 – 6 เดือน ควรตรวจทุกชั่วโมง เพราะวัยนี้ถ่ายบ่อย ไม่ควรปล่อยให้ก้นลูกเปียกชื้น หมกอยู่กับผ้าอ้อมนานเกินไป และทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม ควรล้างทำความสะอาดก้นของลูกด้วย
4. ให้ก้นลูกสัมผัสอากาศบ้าง
ไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้อยสวมผ้าอ้อมตลอดเวลา หลังเวลาอาบน้ำ หรือ หลังทำความสะอาดก้น ควรปล่อยให้ก้นลูกน้อยโล่งสบายสักพัก ลดอาการแสบระคายเคือง ทั้งนี้ทั้งนั้นควรอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม
5. ล้างมือทุกครั้งหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม
หลังจากที่เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกเเล้ว ควรล้างมือทุกครั้งเพื่อป้องกัน การเเพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังร่างกายส่วนอื่นของลูก
6. ทำความสะอาดอวัยวะเพศของลูกทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าอ้อม
โดยใช้ผ้าหรือเบบี้ไวพ์แตะซับผิวของน้องเบา ๆ ระวังอย่าใช้ผ้าถู เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้
Must read : ทำความสะอาดอวัยวะเพศของ “ลูกสาว”
Must read : ทำความสะอาดอวัยวะเพศของ “ลูกชาย”
7. ให้ลูกหัดกินอาหารทีละอย่าง
เมื่อลูกเริ่มกินอาหารแข็ง ๆ แนะนำให้คุณแม่ให้ลูกหัดกินไปทีละอย่าง รอสักสองสามวันค่อยให้น้องกินอาหารชนิดใหม่ เพื่อตรวจสอบว่าอาหารที่ลูกกินนั้น เป็นที่มาของอาการผื่นแพ้ผ้าอ้อมหรือไม่
12 เมนู อาหารเด็ก 6 เดือน กับสูตรอร่อยเพื่อลูกวัยเริ่มกิน!
รวม 60 สูตร+วิธีทำ เมนูอาหารเด็ก ตั้งแต่ 6 เดือน – 1 ขวบ
8. ไม่ควรซักผ้าอ้อมด้วยผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ผสมน้ำหอมรวมถึงไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม
ทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้ผิวของลูกน้อยระคายเคืองเนื่องจากสารเคมี ควรใช้น้ำร้อนซักทำความสะอาดผ้าอ้อมแล้วล้างด้วยน้ำเปล่าสองครั้ง หรือเติมน้ำส้มสายชูสักครึ่งถ้วยลงในน้ำล้างน้ำแรก เพื่อช่วยขจัดสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งก่อให้การระคายเคือง
9. พยายามหยุดการใช้ผ้าอ้อมหรือใส่ผ้าอ้อมให้น้อยที่สุด
ผิวหนังของลูกควรได้สัมผัสอากาศมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะหากผิวเปียกชื้นตลอดเวลา อาจทำให้ลูกเป็นผื่นผ้าอ้อม จึงควรลดเวลาการใส่ผ้าอ้อมลง หรือ ใช้ผ้าอ้อมให้น้อยที่สุด
10. ให้ลูกกินนมเเม่
นมแม่มีช่วยลดค่า ph ในอุจจาระได้ ทำให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โดยทั่วไปแล้ว การให้ลูก กินนมแม่ยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านทานการติดเชื้อ ทำให้ทารกมีโอกาสใช้ยาปฏิชีวนะน้อยลง ซึ่งยาปฏิชีวนะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้องเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ด้วย
11. ควรใช้ผ้าอ้อมที่มีเจลช่วยดูดซึมความเปียกชื้น
ผ้าอ้อมสำเร็จรูปช่วยดูดซึมความเปียกชื้นจากผิวหนัง ทำให้ผิวหนังแห้งและลดโอกาสเป็นผื่นผ้าอ้อม เมื่อลูกปัสสาวะหรืออุจจาระควรถอดเปลี่ยนผ้าอ้อม แล้วทำความสะอาดผิวหนังส่วนที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆ ด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่ไร้ด่าง
12. เลือกผลิตภัณฑ์อาบน้ำสูตรอ่อนโยนต่อผิวทารก
ในระหว่างการอาบน้ำ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวลูก ผสมน้ำอุ่นเล็กน้อยเพื่อความสะอาดเเละอ่อนโยนต่อผิว
13. หลังทำความสะอาดควรทาครีมเพื่อช่วยให้ผิวลูกไม่ระคายเคือง
เมื่อทำความสะอาดก้นลูกเสร็จ ควรเช็ดให้แห้ง ปล่อยให้ผิวหนังลูกสัมผัสกับอากาศก่อนแล้วจึงทาด้วยครีมหรือ Ointment ที่มี Zinc Oxide หรือ Petrolatum (วาสลีน) หรือ dimethiconeเพื่อเคลือบปกป้องผิวไม่ให้เกิดการระคายเคือง
14.ไม่ควรทาแป้ง บริเวณขาหนีบและอวัยวะเพศของลูก
เพราะแป้งจะจับกับเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นกลายเป็นคราบหรือก้อนแป้งชื้นๆ แฉะๆ ทำให้ผิวชื้นแฉะตลอดเวลา และสามารถเกิดอาการระคายเคืองและเป็นผื่นผ้าอ้อมง่ายขึ้น
15. คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่สุกสะอาดเสมอ
หากคุณแม่รับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรับประทานยาปฏิชีวนะบ่อยครั้งเพราะสุขภาพไม่ค่อยดีในระหว่างช่วงให้น้ำนมลูก ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการท้องเสียได้ง่ายและต้องขับถ่ายบ่อยเป็นพิเศษ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคผื่นผ้าอ้อม
16.ควรพาลูกไปพบแพทย์ หากดูแลรักษาตามวิธีข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น
เมื่อสงสัยว่าลูกอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นตุ่มหนอง หรือ เป็นผื่นเนื่องจากเชื้อรา หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน
ผื่นผ้าอ้อมถือเป็นเรื่องปกติของเด็กเล็ก ในช่วงอายุ 3 – 18 เดือน ด้วยเพราะปัจจัยที่ก่อให้เกิดนั้นบางครั้งคุณพ่อคุณเม่อาจควบคุมไม่ได้ เช่นอาการเเพ้ของลูกน้อย ขอเพียงเราทำความเข้าใจถึงสาเหตุ วิธีป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง ก็จะสามารถดูแลลูกน้อยให้ห่างไกลจากผื่นผ้าอ้อมได้ค่ะ
อ้างอิง : โรงพยาบาลพญาไท พบแพทย์ Merries
บทความที่น่าสนใจอื่นๆ
ผื่นผ้าอ้อม ผดผื่นตามซอกจุดอับ ตามซอกข้อพับดูแลผิวลูกน้อยให้สบายง่ายนิดเดียว