AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พัฒนาการทางสมองของทารก อันน่าทึ่ง ลูกน้อย “คิดอะไร” บ้างนะ?

ว่ากันว่าพัฒนาการทางกายในแต่ละเดือนที่ทารกน้อยเติบโตขึ้นเป็นเรื่องที่น่าทึ่งสำหรับพ่อแม่แล้ว …แต่คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่ว่าการเติบโตก้าวหน้าแบบเดือนต่อเดือนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางสมองของทารก ” ที่ทำให้คุณอัศจรรย์ใจได้ยิ่งกว่าอีกนะคะ

สมอง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำหนดคุณภาพและสติปัญญาของมนุษย์เรา โดยสมองจะทำหน้าที่เป็นศูนย์บัญชาการของร่างกาย ทั้งในเรื่องการรับข้อมูล การเก็บข้อมูล และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ดั้งนั้นภายในเนื้อสมองจึงมีส่วนต่าง ๆ มากมายเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องการมองเห็น การใช้ภาษา การเคลื่อนไหว การคิด ความรู้สึก และหน้าที่อื่น ๆ อีกมากมาย

พัฒนาการทางสมองของทารก ตอนอยู่ในท้องแม่

การเติบโตของสมอง

สมอง เริ่มทำงานตั้งแต่อยู่ในท้อง ในช่วงแรกของชีวิตนี้สมองจะทำงานเพียงเพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดเท่านั้น ยังไม่ได้พัฒนาจนเจริญเต็มที่ จนพ้นขวบปีแรกไปสมองของลูกน้อย ก็จะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วมากในทุก ๆ ด้านไปจนถึงอายุประมาณ 4 ขวบ สมองจะพัฒนาไปถึง 60 % จนถึงอายุ 10 ปี จะเจริญเกือบเท่าผู้ใหญ่ จากนั้นก็จะพัฒนาในส่วนของการเรียนรู้ต่อไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีการหยุดยั้งจนกว่าจะตายไป

ระยะ 1-3 เดือน

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ เซลล์ที่เกิดจากการผสมระหว่างไข่และสเปิร์มจะแบ่งตัวและพัฒนาเป็นสมอง โดยมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อ แผ่นบาง แล้วค่อยๆ โค้งงอบรรจบกันเป็นท่อนำประสาท และเริ่มจัดโครงสร้างเป็นสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ระยะนี้จุดประสานประสาทจะเกิดขึ้นในไขสันหลัง เมื่อเซลล์ประสาทเริ่มเชื่อมโยงกัน ก็เกิดการรับส่งข้อมูลถึงกันในสมอง นั้นหมายความว่าสมองของลูกน้อยเริ่มทำงานแล้ว

ระยะ 4-6 เดือน

ช่วงนี้จะมีไขมันล้อมรอบเส้นใยประสาท ทำให้กระแสไฟฟ้าระหว่างเซลล์สมองวิ่งมารวดเร็วยิ่งขึ้น การรับส่งข้อมูลก็ดีมากขึ้น ประสาทตาและหูของลูกจะทำปฎิกิริยากับแสงจ้าและเสียงดัง เซลล์ประสาทดริ่มเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งที่จะทำหน้าที่ต่างๆ ที่ทำให้ระบบประสาทสมบรูณ์

ระยะ 7-9 เดือน

ไตรมาสสุดท้ายของ การตั้งครรภ์ นี้ เซลล์ประสาทจะตายสร้างแขนงประสาทอย่างมากมายค่ะ และแขนงประสาทเหล่านี้จะเชื่อมโยงกันจนกระทั้งทำงานประสานกับระหว่างวงจรประสาทได้เป็นอย่างดี ทำให้ลูกสามารถตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยอย่างเสียงคุณแม่ได้แล้ว

ภาพพัฒนาการสมองของทารกตอนอยู่ในท้องแม่

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Konvicted Leo

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 7 วิธี เสริมความฉลาด สร้างเซลล์สมอง ลูกน้อย
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีเพิ่มพัฒนาการทางสมองให้ลูกในท้อง ช่วงไตรมาสที่ 2

อ่านต่อ “พัฒนาการทางสมองของลูกตั้งแต่ 2-12 เดือน” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

พัฒนาการทางสมองของทารก

การที่สมองจะเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและมีการรับรู้ได้มากนั้น จะต้องมีสิ่งเร้าไปกระตุ้นสมองอยู่เสมอ ๆ สมองจะยิ่งพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะในช่วง 6 ขวบแรกนั้นเป็นช่วงโอกาสทองของการพัฒนาสมองเลยทีเดียว เพราะเป็นช่วงที่สมองกำลังเติบโตและต้องการ การเรียนรู้ในทุกเรื่อง ถ้าเราเร่งสร้างความฉลาดกันในช่วงนี้ สมองจะรับได้ทันที และเป็นพื้นฐานที่ ฝังแน่นติดตัวต่อไปเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเลี้ยงลูกให้ฉลาดนั้นจะเริ่มกันในช่วง 6 ขวบแรกนี้ จะดีกว่าไปพัฒนากันในช่วงหลัง ซึ่งสมองจะรับรู้ได้ช้ากว่ามาก

ยิ่งไปกว่านั้น เชื่อหรือไม่ว่าคุณพ่อคุณแม่เองก็มีส่วนช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางกายให้ส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกทารกได้อีกด้วย มาพิสูจน์ด้วยปฏิบัติการ “ตามติด” พัฒนาการทางสมองของลูกน้อยกันได้เลย

2-5 เดือน: เริ่มกระบวนการเรียนรู้

ตอนอายุ 2-3 เดือน

ทารกเริ่มมองตามคนที่เดินเข้ามาหาและรู้จักสบตากับพ่อแม่ แปลว่าการมองเห็นพัฒนาไปมากพอที่จะทำให้ทารกพร้อมรับสิ่งกระตุ้นใหม่ๆ (แต่ก็ยังชอบมองรายละเอียดของสิ่งที่คุ้นเคย ซึ่งเพิ่งสังเกตเห็นได้ไม่นาน) และพออายุราวๆ 6 เดือน ทารกจะมองเห็นชัดขึ้นจนแยกแยะใบหน้าคุณกับใบหน้าของผู้ใหญ่ที่เคยเจอได้ไม่ยาก

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ

ตอนอายุ 4-5 เดือน

ทารกจะมองตามสิ่งที่ร่วงหล่นจากมือ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความเข้าใจเรื่องตัวตนที่เป็นอิสระจากคนอื่นๆ และสิ่งรอบตัว ส่วนการเล่นซ่อนแอบหรือจ๊ะเอ๋ก็ช่วยให้ทารกได้เรียนรู้ว่าถึงจะมองไม่เห็น แต่วัตถุและคนที่เล่นด้วยไม่ได้หายไปไหน และด้วยความเข้าใจนี้ทำให้ทารกรู้จักวาดภาพในใจของสิ่งที่ไม่ได้อยู่ตรงหน้า นี่จึงเป็นก้าวแรกที่ทำให้ทารกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจินตนาการได้

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน :  ปล่อยให้ลูกร้องไห้นานๆ ทำลายสมองจริงหรือ?
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ส่งเสริมให้ลูกเล่น ขวบปีแรก พัฒนาการสมองดี

อ่านต่อ “พัฒนาการทางสมองของลูกวัย 6 เดือนขึ้นไป” คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

พัฒนาการทางสมองของทารก

6-12 เดือน: เริ่มเรียนรู้เรื่องภาษา

ตอนอายุราว 6 เดือน

ทารกเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้พูดคุยกับพ่อแม่ โดยเข้าใจว่าจะต้องสลับกันเป็นคนพูดและคนฟัง ซึ่งถ้าพ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย จะเป็นแรงเสริมที่สำคัญของพัฒนาการทางภาษาของลูกน้อยทีเดียว

ตอนอายุราว 8-10 เดือน

ทารกจะเริ่มพูดชัดขึ้น แต่ยังไม่รู้จักเชื่อมโยงคำกับความหมาย คือถึงจะเรียก “มามา” ได้ ลูกก็ยังไม่รู้ว่านั่นหมายถึงคุณแม่ ต้องรอจนอายุราว 10-12 เดือน ทารกถึงจะเริ่มเรียนรู้ว่าคำต่างๆ ล้วนมีความหมาย แต่ก็อาจจะใช้คำคำเดียวในหลากหลายโอกาส เช่น ทารกวัย 1 ขวบอาจใช้คำว่า “ปลา” เมื่อต้องการจะสื่อว่า “หนูอยากกินปลา”, “หนูหิว”, “นั่นเรียกว่าปลา” หรือสารพัดเรื่องเท่าที่ลูกจะจับมาเชื่อมโยงกับคำคำนี้

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิจัยชี้! ลูกน้อยนอนตะแคงดีต่อสมอง
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 10 สุดยอด “อาหารบำรุงสมอง” ลูกน้อย

ตอนอายุ 8 เดือน

ทารกจะเริ่มเก็บคำไว้ในหน่วยความจำระยะยาวทั้งๆ ที่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำเหล่านั้น เพราะมีการศึกษาที่ชี้ว่าถึงเวลาจะผ่านไป 2 สัปดาห์แล้ว แต่ทารกยังคงจดจำคำที่นักวิจัยเคยอ่านให้ฟังได้

พออายุ 12 เดือน

ทารกส่วนใหญ่จะเก็บข้อมูลไว้มากพอที่จะเข้าใจความหมายของคำจำนวน 50 คำ และรู้จักนำคำเหล่านั้นไปใช้ตอนอายุ 18 เดือน

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : กิจกรรมเล่นกับลูก 7 อย่างต้องห้าม เสี่ยงกระทบสมอง อันตรายถึงชีวิต
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 10 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง! บำรุงสมองสดใส หัวใจแข็งแรง

อ่านต่อ “โอกาสทองในการพัฒนาสมองลูกคือช่วงไหน?” คลิกหน้า 4

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โอกาสทองของการพัฒนาคือช่วงไหน?

สำหรับพัฒนาการทางสมองบางด้านนั้น จังหวะที่เป็นโอกาสทองก็คือ ช่วง 2-3 ขวบปีแรกที่ทารกลืมตาดูโลก เช่น โอกาสทองของพัฒนาการด้านการมองเห็นคือช่วงอายุ 2-4 เดือน หรือถ้าทารกแรกเกิดเรียนรู้ว่าไม่มีใครมาโอ๋เวลาที่ร้องไห้ ก็ย่อมจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางอารมณ์ไม่มากก็น้อย

ถึงจุดนี้ หลายๆ คนคงเริ่มสงสัยว่าถ้าพ่อแม่ไม่ได้พยายามกระตุ้นพัฒนาการทางสมองตลอดเวลา (ซึ่งเป็นไปไม่ได้) การพลาดโอกาสทองบางจังหวะ (ซึ่งเป็นไปได้) จะส่งผลกับพัฒนาการทางสมองลูกมากน้อยเพียงใด?

คำตอบคือ การพลาดโอกาสทองบางจังหวะถือเป็นการเสียโอกาสในช่วงนั้น แต่ทั้งนี้การกังวลเรื่องผลเสียจนเกินไปก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด เพราะผลลัพธ์ยังขึ้นอยู่กับทารกแต่ละคน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวและศักยภาพที่ต่างกันอีกด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทางที่ดีกว่าคือ เมื่อคุณรู้แล้วว่าโอกาสทองของพัฒนาการทางสมองมีอยู่ทุกช่วงอายุ ก็เพียงแต่ฉวยโอกาสไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ก็เพียงพอแล้ว

บทบาทของพ่อแม่ในการ “ส่งเสริมพัฒนาการลูก”

พ่อแม่ส่วนใหญ่เข้าใจดีอยู่แล้วว่า ความใส่ใจ สำคัญต่อลูกมากแค่ไหน และ สัญชาตญาณ ของความเป็นพ่อแม่ก็สั่งให้เรากอด พูดคุย อ่านนิทานและเล่นกับลูกโดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าความใส่ใจและปฏิสัมพันธ์ที่เราทุ่มเทให้กับลูกคือโอกาสที่เขาจะได้สำรวจสิ่งรอบตัว และเรียนรู้ว่าเขามีค่าควรแก่การที่จะได้ทั้งเวลาและความรักจากพ่อแม่

พัฒนาการทางสมองอาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยังมีสิ่งที่รอให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอีกมากมาย แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนกคือลูกจะค่อยๆ เผยตัวตนให้รู้จักและทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้เห็นภาพกระบวนการทางความคิดในสมองน้อยๆ ทุกวัน และพอถึงวัยเตาะแตะ ภาพดังกล่าวจะชัดเจนขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์

อ่านเพิ่มเติม

เรื่อง : กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

ภาพ : Shutterstock