สิวในทารก คุณแม่เคยสังเกตเห็นตุ่มหรือผื่นผุดเต็มหน้าลูกน้อยโดยไม่มีสาเหตุไหม? มันดูเหมือนสิวบวมแดงหรือเปล่า? เพราะถ้าใช่ แสดงว่าลูกน้อยกำลังเป็นสิวในทารก ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลเกี่ยวกับ สิวในทารก พร้อมคำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลผิวลูกน้อยวัยทารกเมื่อเป็นสิว มาแนะนำกันค่ะ
สิวในทารก คืออะไร?
สิวในทารก คือโรคผิวหนังที่ทำให้ลูกมีตุ่มหรือผื่นทั่วใบหน้า ทั้งที่แก้ม จมูก และหน้าผาก ซึ่งเกิดขึ้นตามปกติและจะหายไปเอง แต่มีมาตรการป้องกันบางอย่างเพื่อควบคุมการลุกลามของผื่นผิวหนังดังกล่าวได้ หากทราบถึงสาเหตุของการเกิดสิว และได้รับคำแนะนำในการรักษาที่ถูกวิธีจากแพทย์ผิวหนังที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
อ่านต่อ >> “ทารกเป็นสิว เกิดจากอะไร?” หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทารกเป็นสิว เกิดจากอะไร ?
การเกิดสิวพบบ่อยมากในทารกแรกเกิด โดยมักเกิดขึ้นหลังคลอดและคงอยู่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาจดูไม่เรียบเนียนและเป็นสีชมพูจางๆ ซึ่งพบได้ว่าเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์อาจทำให้เกิดสิว การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนระหว่างช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์อาจไปกระตุ้นต่อมไขมันในร่างกายของทารก ทำให้ลูกน้อยเป็นสิวในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด เมื่อระดับฮอร์โมนดังกล่าวลดลง สิวก็จะหาย และผิวของลูกก็จะกลับมาเป็นปกติ
2. การใช้ยาบางอย่าง
การใช้ยาบางประเภทอาจกระตุ้นการเกิดสิวในทารกผ่านการให้นมแม่ โดยสารออกฤทธิ์ในตัวยาอาจเข้าสู่ร่างกายของลูกผ่านน้ำนมแม่และทำให้เกิดสิว
3. การแพ้สารบางอย่าง
อาจเกิดจากการแพ้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิด การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่อันตรายบางอย่าง เช่น น้ำมันทาผิว อาจไปอุดตันรูขุมขนของลูก ทำให้เกิดสิวที่แก้มและใบหน้า
อ่านต่อ >> “ข้อควรสังเกตเมื่อลูกวัยทารกเป็นสิว” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการของสิวที่เกิดขึ้นกับลูกวัยทารกที่ควรสังเกตมีดังนี้
- ผิวลูกที่อาจดูไม่เรียบเนียนหรือมีตุ่มแดงเล็กๆ ทั่วใบหน้า โดยเฉพาะแก้ม หน้าผาก และจมูก
- ผื่นผิวหนังมักปรากฏให้เห็นบนผิวลูกน้อยช่วงระหว่าง 2-4 สัปดาห์หลังคลอด
- ลูกแสดงอาการหงุดหงิดรำคาญ ผิวลูกน้อยจะระคายเคืองทุกครั้งที่สัมผัสกับน้ำลาย ผ้าขรุขระ หรือน้ำนมแม่
- ผื่นหรือตุ่มบนผิวหนังของเด็กแรกเกิดไม่ใช่สิวในทารกเสมอไป นั่นอาจเป็น ‘Milia’ คือตุ่มคล้ายสิวซึ่งจะไม่อักเสบและไม่ใหญ่ขึ้น แค่ทำให้ผิวไม่เรียบเนียน แต่ถ้าผื่นแห้งแตก นั่นอาจหมายถึงโรคผิวหนังอักเสบ
- แพทย์จะยืนยันโรคได้หลังจากตรวจใบหน้าและผิวหนังบริเวณนั้นๆ อย่างละเอียด
การรักษาสิว
เนื่องจากผื่นหรือสิวจะหายไปเองใน 2-3 สัปดาห์ แพทย์จึงไม่แนะนำการรักษา แต่ถ้าเป็นนานกว่านั้น แพทย์อาจสั่งยาจำพวกครีมหรือโลชั่นทาผิว อย่าซื้อยาใช้โดยไม่ปรึกษาแพทย์เพราะยาบางอย่างเป็นอันตรายกับลูก
อ่านต่อ >> “9 วิธีรับมือเมื่อลูกวัยทารกเป็นสิว” หน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
9 วิธีการป้องกันสิวให้กับลูกวัยทารก
ต่อไปนี้คือมาตรการป้องกันที่ได้ผลเพื่อควบคุมและจัดการโรคสิวที่เกิดขึ้นในลูกวัยทารก
1. หลีกเลี่ยงการเกา
ผื่นผิวหนังของลูกจะต่างจากสิวในผู้ใหญ่หรือวัยรุ่น การรักษาโรคสิวในทารก คุณต้องไม่แกะหรือเกาสิวบนใบหน้าของลูกน้อยอย่างเด็ดขาด
2. ปรึกษาแพทย์
ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยาสมานผิวหรือยาทาเฉพาะที่ใดๆ เช่น ยารักษาสิว (Benzoyl Peroxide) หรือยาฆ่าเชื้อรา (Salicylic Acid) ถ้าแพทย์อนุญาต ให้ทายาโดยใช้คอตตอนบัดนุ่มๆ
3. ใบหน้าลูกต้องสะอาดเสมอ
ล้างหน้าลูกด้วยสบู่อ่อนๆ ที่ไม่ทำให้ผิวแห้งตึง หากรูขุมขนอุดตันจะยิ่งกระตุ้นการเกิดสิว สิ่งสำคัญคือต้องไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน ด้วยการทำให้ใบหน้าลูกสะอาดเสมอ ผิวเด็กแรกเกิดยังอ่อนมาก จึงควรใช้สำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดหน้าลูกอย่างเบามือเพื่อทำความสะอาดสิวบนใบหน้า
4. หลีกเลี่ยงการใช้โลชั่นหรือน้ำมันทาผิว
ครีม โลชั่น และน้ำมันจะไปอุดตันรูขุมขนของลูกจนเกิดสิว ควรหยุดใช้จนกว่าสิวในทารกจะหายหมดแล้ว
5. อย่าให้ลูกเกา
สวมถุงมือให้ลูกน้อยเพื่อป้องกันการเกาผื่นหรือสิวที่อาจทำให้อาการยิ่งแย่ลงและติดเชื้อทางผิวหนังรุนแรงขึ้น
6. ผิวลูกต้องแห้งเสมอ
อย่าให้ใบหน้าลูกเปียกชื้นนานๆ ใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดหน้าลูกทันทีที่ลูกพ่นน้ำลาย ความเปียกชื้นจะทำให้คันและลูกจะยิ่งหงุดหงิดรำคาญ
7. ซักผ้าลูกเป็นประจำ
ซักผ้าลูกเป็นประจำเพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่มาสู่ผิวลูก ซักเสื้อผ้าและผ้าขนหนูใหม่ของลูกก่อนใช้ทุกครั้ง
8. กินอาหารที่มีประโยชน์ขณะให้นมลูก
ระหว่างให้นมลูก คุณแม่ควรระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หรืออาหารขยะเพราะจะทำให้สิวในทารกแย่ลง ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อขับถ่ายสารพิษในร่างกายและให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ที่สะอาด กินผักและผลไม้สดๆ เพื่อให้ผิวของลูกน้อยเปล่งปลั่งสดใส
9. แจ้งรายการยาที่คุณแม่ใช้ให้แพทย์ทราบ
ระหว่างให้นมลูก การใช้ยาบางอย่างของคุณแม่อาจกระตุ้นการเกิดสิวของลูกน้อย แจ้งรายการยาทุกอย่างที่คุณแม่ใช้ระหว่างให้นมลูก ถ้ามียาตัวไหนที่กระตุ้นการแพ้ แพทย์จะได้รีบเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นให้แทน
ในเด็กแรกเกิดสามารถเกิดสิวขึ้นได้ ที่ส่วนมากแล้วเกิดจากฮอร์โมน แนะนำว่าไม่ควรแคะ แกะ เกาเด็ดขาด การรักษาที่ดีที่สุดควรอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ผิวหนังเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของลูกน้อย …ด้วยความห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!
รู้ทัน ภาวะซีดในทารก ก่อนลูกขาดธาตุเหล็กรุนแรง
10 วิธี ทำ ให้ ทารก หยุดร้องไห้
กระหม่อมทารก ปิด-เปิด-โป่ง-ยุบ เรื่องสำคัญ แม่ต้องสังเกต
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
momjunction