AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า เพราะอะไร แล้วจะพัฒนาได้ไหม ?

สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า

สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า สิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนาอยากจะให้ลูกเกิดมามีความสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งร่างกายและสติปัญญา บางครั้งก็อาจไม่เป็นอย่างที่หวัง แต่ด้วยความเป็นพ่อแม่เราจะต้องดูแลลูกให้ดีที่สุดไม่ว่าเขาจะเกิดมาสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีงานวิจัยที่เผยให้เห็นถึงการเติบโตของ สมองเด็กออทิสติก ที่สามารถพัฒนาให้ลูกได้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป

 

สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า

กลุ่มโรคออทิสติก (Autistic spectrum disorder) เป็นกลุ่มของโรคที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของสมอง ทำให้มีความบกพร่องของพัฒนาการหลายด้าน ได้แก่ พัฒนาการด้านภาษาและสังคมล่าช้า มีพฤติกรรม ความสนใจและการกระทำที่ซ้ำๆ และจำกัดโดยอาการดังกล่าวเกิดก่อนอายุ 3 ขวบ ซึ่งมีความรุนแรงของแต่ละโรคในกลุ่มแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางภาษา ระดับสติปัญญา/ไอคิว (IQ, Intelligence Quotient) ซึ่งการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย จะทำให้เด็กมีโอกาสพัฒนาได้มากกว่าการรักษาเมื่ออายุมากขึ้น1

พฤติกรรมที่แสดงว่าลูกเป็นเด็กออทิสติก

ปัจจุบันการวินิจฉัยว่าเด็กเป็นออทิสติกหรือไม่นั้น สามารถตรวพบได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ สำหรับเด็กที่เป็นโรค ออทิสติก จะแสดงอาการตั้งแต่แรกเกิดที่ยังแสดงอาการออกไม่ชัดเจนมากนัก แต่เมื่อลูกอายุได้ 3-5 เดือนเรื่อยไปจนถึง 2 ขวบ ลูกจะมีอาการแสดงออกว่าว่าเป็นออทิสติกอย่างชัดเจน สำหรับลูกในช่วงขวบปีแรก  พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถตรวจสอบพฤติกรรมบ่งชี้ออทิสติกได้เบื้องต้น ดังนี้

  1. เงียบ นิ่ง เฉย
  2. ไม่สบตา
  3. ไม่ตอบสนองทางด้านอารมณ์
  4. ผูกพันกับสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ
  5. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
  6. ไม่สนใจให้ใครกอดรัดเล่นด้วย
  7. เรียกให้คนอื่นเล่นด้วยไม่เป็น
  8. ไม่แสดงท่าทางหรือส่งเสียงเรียก
  9. ไม่สนใจที่จะให้ใครอุ้ม
  10. ท่าทางเฉยไร้อารมณ์เมื่อถูกชักชวนให้เล่น

 

Good to know… “กลุ่มโรคออทิสติก 10 – 83% มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมอง และมีโอกาสเกิดโรคลมชักมากกว่าคนทั่วไปในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่งเด็กกลุ่มโรคออทิสติกที่มีระ ดับเชาวน์ปัญญา/ไอคิว (IQ) ต่ำ จะมีโอกาสเกิดอาการชักได้มากขึ้น2

อ่านต่อ >> “สมองเด็กออทิสติก เติบโตช้า เพราะอะไร” คลิกหน้า 2

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การเรียนรู้หรือการรับรู้ของเด็กออทิสติกนั้นมีความแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป  ซึ่งเกิดจากระบบสมองที่เติบโตได้ไม่เป็นไปตามพัฒนาการ ทางทีมงานจากพอไปดูว่า เพราะอะไร สมองเด็ก ออทิสติก เติบโตช้า กันค่ะ

เครดิตภาพ : vcharkarn.com

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอส แองเจลิส พบแนวทางที่น่าจะอธิบายได้ว่าเหตุใดเด็กที่เป็นโรคออทิสติกถึงได้แสดงอาการหรือคิดแตกต่างกับเด็กคนอื่น

นักวิจัยแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างการเชื่อมต่อระหว่างส่วนต่างๆ ของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องภาษาและทักษะทางสังคม พบว่าโครงสร้างการเชื่อมต่อของเด็กที่เป็นโรคออทิสติกนั้นเติบโตช้ากว่าเด็กที่ไม่เป็นโรคอย่างมาก โดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Human Brain Mapping แล้ว

 ในสหรัฐอเมริกานั้นมีเด็กที่เป็นโรคออทิสติกคิดเป็น 1 คนต่อเด็ก 110 คนเลยทีเดียว และตัวเลขนี้ก็กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม แม้ตัวเลขจะค่อนข้างสูง แต่ความเข้าใจโรคนี้ยังถือว่าน้อย และยังไม่มีวิธีรักษาที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้

 โดยปกติแล้ว ช่วงที่เด็กเติบโตกลายเป็นวัยรุ่น โครงสร้างสมองของเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับการสร้างการเชื่อมต่อในสมองขึ้นมาใหม่เรื่อยๆว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด การเชื่อมต่อนี้เรารู้จักกันในชื่อ สารสีขาวในสมอง นอกจากนี้ สมองยังจะต้องตัดเซลล์ที่ไม่ใช้แล้วออกไปด้วย ที่เราเรียกกันว่า สารสีเทาในสมองนั่นเอง เมื่อสมองเติบโตขึ้นมาแล้วสมองของเราจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ สามารถเข้าใจ และตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 ทีมวิจัยทีมนี้จึงได้กำเนิดขึ้นเพื่อศึกษาเชิงลึก นำโดยศาสตราจารย์เจนนิเฟอร์ จี. เลวิตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช สถาบันประสาทวิทยาลัยและพฤติกรรมมนุษย์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอส แองเจลิส ผนวกกับผู้บุกเบิกโครงการอย่างซัว หัว นักวิจัยหลังปริญญาเอก และทีมงานหลายคนเด็กออทิสติก

 ผลการศึกษา นักวิจัยพบว่า เด็กที่เป็นโรคออทิสติกมีอัตราการเติบโตของสมองหลายๆ ส่วนที่ช้า ทำให้ทักษะทางสังคมต่ำ การสื่อสารบกพร่อง เกิดพฤติกรรมทำอะไรซ้ำๆ ตามมา3

เด็กที่เป็นโรคออทิสติก จะรักษา หรือดูแลพัฒนาการได้อย่างไร ?

  1. การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม เพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การลดพฤติกรรมซ้ำๆ การลดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
  2. การฝึกพูด เป็นการรักษาที่สำคัญโดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า การฝึกการสื่อสารได้เร็วเท่าไหร่จะทำให้เด็กเรียนรู้จากการใช้ภาษาได้เร็วเท่า นั้น และช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
  3. การส่งเสริมพัฒนาการ ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม4

 

ถึงแม้ว่าเด็กที่เป็นออทิสติก ระดับพัฒนาการจะไม่เป็นไปตามวัยเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป  แต่พ่อแม่รวมทั้งทุกคนในครอบครัว ก็สามารถที่จะกระตุ้นพัฒนาการให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และช่วยเหลือตัวเองได้ในเรื่องง่ายๆ เช่น การแปรงฟัน ตักข้าวทานเองได้  หรือทำกิจวัตรประจำวันส่วนตัวได้ด้วยตัวเอง   ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกครอบครัวค่ะ

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจ

การเลือกของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
ลูกร้องอาละวาดในที่สาธารณะ แม่จะทำยังไงดี?
ลูกเป็นออทิสติกเทียม เพราะดูทีวีมากเกินไป

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1,2,4พญ.จอมสุรางค์ โพธิสัตย์ วว.จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น. ออทิสติก : กลุ่มโรคออทิสติก (Autistic spectrum disorder). haamor.com
3www.vcharkarn.com
www.autismthai.com