AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เอ๊ะ นั่น…เสียงอะไรนะŽ

ดร.จิล ไวท์ลอว์ ประธานสถาบันโสตสัมผัสวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา ในเมืองเรสตัน รัฐเวอร์จิเนีย อธิบายเรื่องการได้ยินว่า ทารกได้ยินเสียงตั้งแต่แรกเกิด แต่ยังไม่รู้ว่าเป็นเสียงอะไร รู้เพียงว่าเป็นเสียงดัง ประสาทสัมผัสด้านการได้ยินเสียงเป็นส่วนที่จะพัฒนาไปตามวัยและประสบการณ์ มาตามติดพัฒนาการการได้ยินของลูกกัน

 
แรกเกิดถึง 4 เดือน : ช่วงนี้ลูกน้อยมักสะดุ้งเวลาได้ยินเสียงดัง พออายุได้ 2 เดือน เขาจะไม่ตกใจกับเสียงที่คุ้นแล้ว

 
คุณช่วยได้ : ด้วยการพูดคุย ร้องเพลง และเล่านิทานให้ลูกได้ยิน ได้คุ้นเสียง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นวางพื้นฐานการพูดที่ได้จากการได้ยินและเลียนเสียงต่างๆ ด้วย

 

 

 
4 – 6 เดือน : ทารกจะหันหน้าไปมองหาเสียงที่ได้ยินและทำเสียงอ้อแอ้ แถมยิ้มหรือหัวเราะเบาๆ

 
คุณช่วยได้ : โดยให้ลูกได้รู้จักเสียงหลากหลายขึ้น ทั้งเสียงเพลงเบาๆ กล่องดนตรี ของเล่นเขย่า หรือแม้แต่เคาะกล่องโต๊ะ ช้อนส้อม ไปจนถึงหม้อ กะละมัง ถัง ให้เขาได้ยิน

 

 

 
6 – 9 เดือน : เริ่มจับเสียงได้มากขึ้น เขาจะเริ่มพูดเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน เสียงอ้อแอ้เริ่มชัดถ้อยชัดคำขึ้น เช่น บะบะŽหรือ กะกะŽ เริ่มบันไดขั้นแรกของการพูด

 
คุณช่วยได้ : ให้ลูกได้ยินคำเรียกคน สัตว์ สิ่งของ อาการต่างๆ ให้ตรงกับสิ่งที่ลูกได้เห็น เช่น ดูนกสีแดงนั่นสิŽ นี่ดอกไม้สีเหลืองŽ แม่กำลังยิ้มหวานŽ

 

 

 
9 เดือน – 1 ขวบ : ลูกเริ่มพูดคำหลักๆ ได้ เช่น แม่แม่Ž และ ไม่Ž เขาจะเลียนแบบคุณ และอาจกระโดดโลดเต้นหรือเต้นตามเพลงถ้าเห็นคุณทำ

 
คุณช่วยได้ : ให้กำลังใจ เมื่อได้ยินคำที่ลูกพยายามพูด ด้วยการพูดตอบ แสดงสีหน้ายินดีหรือปรบมือให้เขา ใช่แล้วลูก นั่นพี่หมาŽ

 

 

 
แต่ถ้าคุณเป็นห่วงเรื่องพัฒนาการการได้ยินของลูก ลองปรึกษากับกุมารแพทย์เพื่อเตรียมการตรวจเมื่อลูกโตสักหน่อยเพราะการสูญเสียการได้ยินมักไม่แสดงอาการให้เห็นในช่วงแรกเกิด การได้ยินและการเรียนรู้เริ่มตั้งแต่วันแรกเกิด

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง