เปิดพัดลมจ่อ ระวัง!! ลูกน้อยเสี่ยงปอดอักเสบ โดยไม่รู้ตัว - amarinbabyandkids
เปิดพัดลมจ่อลูก ทำปอดอักเสบ

เปิดพัดลมจ่อ ลูกเสี่ยงปอดอักเสบ

event
เปิดพัดลมจ่อลูก ทำปอดอักเสบ
เปิดพัดลมจ่อลูก ทำปอดอักเสบ

ประสบการณ์จริงจากคุณแม่ที่ เปิดพัดลมจ่อ ลูกน้อย ช่วงกลางวันร้อนๆ คุณพ่อ คุณแม่หลายท่าน อาจจะเปิดพัดลม หรือเปิดแอร์เอาไว้ให้ลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัว แต่รู้หรือไม่การเปิดพัดลมแรงๆ ใกล้ตัวลูกน้อย หรือเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม ก็อาจจะเป็นการทำร้ายลูกได้

คุณแม่ตูนได้ออกมาแชร์ประสบการณ์ในคลับ “HerKid รวมพลคนเห่อลูก” ว่า น้องอะตอมเป็นปอดอักเสบและมีอาการหอบ เพราะคุณแม่กลัวน้องร้อน เลยเปิดพัดลมจ่อจนต้องแอดมิทที่โรงพยาบาล ลองไปฟังคุณแม่ตูนแชร์ประสบการณ์กันเลยค่ะ

คุณแม่ตูนเล่าว่า “เอาประสบการณ์มาแชร์กันต่อน้า น้องอะตอม ตอนนี้8เดือน25วัน ตอนน้องป่วยอายุ 4เดือนกว่าค่ะ น้องเข้าโรงพยาบาลมา2ครั้ง เป็นหนักจนต้องใช้อ๊อกซิเจน เพราะน้องเป็นปอดอักเสบและหอบค่ะ ต้นเหตุมาจาก เราชอบเปิดพัดลมแรงๆ เพราะเราขี้ร้อนจนลูกเป็นแบบนี้ถึงจะคิดได้ ไม่เปิดพัดลมใส่ลูกอีกเลยค่ะ ไม่ว่าจะร้อนแค่ไหน

อยากมาเตือน! คุณแม่นะคะว่า อย่าเปิดพัดลมจ่อหน้าลูกน้า เดี๋ยวน้องจะเป็นหอบและปอดอักเสบ ปอดติดเชื้อได้ค่ะ ดูอาการจากน้องหายใจเร็ว แล้วหน้าอกบุ๋ม แต่เรากะผ่านจุดๆนั้นมาได้ จุดที่เหนื่อยที่สุดดดด น้องไม่ป่วยอีกเลยค่ะ แถมดื้อมากด้วยยย”

เปิดพัดลมจ่อ

ด้วยบ้านเราเป็นเมืองร้อน  คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะรู้สึกสงสารลูกน้อย กลัวว่าลูกจะร้อน จึงเปิดพัดลมจ่อ จนทำให้เด็กๆ เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ โรคหอบหืด โรคปอดบวม โรคหวัด และเป็นไข้ เพราะเมื่ออากาศร้อน ร่างกายของคนเราจะขับเหงื่อออกมาสร้างความชื้นเพื่อระบายความร้อนให้กับร่างกายโดยธรรมชาติ เมื่อเราเปิดพัดลมให้ลูกน้อย ลูกจะสูดหายใจเอาความชื้นของเหงื่อที่ขับออกมาทางผิวหนังกลับเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ลูกน้อยเจ็บป่วยได้ง่าย

หากอากาศร้อน คุณพ่อ คุณแม่สามารถเปิดพัดลมให้ลูกน้อยคลายร้อนได้ แต่ไม่ควรสัมผัสโดยตรง อาจจะเปิดส่าย ใช้ความแรงพัดลมเบาๆ ก็เพียงพอ คำเตือนในคู่มือการใช้พัดลมยังมีการระบุว่าอย่าเปิดพัดลมจ่อตรงตัว เพราะจะทำให้ไม่สบายได้

บทความแนะนำ รวม 20 อาการต้องสงสัย ลูกไม่สบาย แบบนี้..! กำลังป่วยเป็นโรคอะไร?

คุณพ่อ คุณแม่บ้านไหนที่มีแอร์ ก็ควรเปิดแอร์ให้เหมาะสม โดยอุณหภูมิในห้องเด็กควรอยู่ที่ 25-27 องศาเซลเซียส

ฉะนั้น คุณพ่อ คุณแม่ควรระวังไม่ “เปิดพัดลมจ่อ” ลูกน้อย เพราะลูกน้อยอาจจะไม่สบายหรือเจ็บป่วยได้ง่ายๆ ทีมแม่ABK อยากเตือนด้วยความเป็นห่วงค่ะ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


เครดิต: herkid.com, รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, หมอชาวบ้าน

ทางด้านอ.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ออกมาอธิบายในรายการพบหมอรามาว่า การเปิดพัดลมจ่อลูกอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักทำให้เกิดปอดอักเสบ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เสียทีเดียวว่าไม่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นมาดูกันว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ ปอดบวมในเด็ก

1. ตัวเด็กเอง

  • อายุน้อย ตั้งแต่แรกคลอด-5 ปี
  • มีความผิดปกติทางเดินหายใจ
  • มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
  • ไม่ได้กินนมแม่
  • ไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือฉีดไม่ครบ

2. สิ่งแวดล้อม

  • อยู่อย่างแออัด (อากาศถ่ายเทไม่ดี)
  • ฝุ่นละอองและควันบุหรีภายในบ้าน

3. เชื้อโรค

  • มีการระบาดของเชื้อโรค
  • เชื้อโรคดื้อยา

โรคปอดอักเสบ

อาการจากโรคปอดอักเสบ ปอดบวมในเด็ก

อาการเริ่มต้น ปอดอักเสบ – เป็นไข้ มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไอ

อาการระยะปอดอักเสบ – ไข้สูง ไอมากขึ้น เริ่มหอบเหนื่อย เพลีย ซึม ไม่ค่อยทานอาหารและน้ำ

เมื่อไปพบแพทย์ ทำการเอ็กซเรย์ปอดจะพบจุดขาวๆ หรือฝ้าขาวๆ อยู่ในปอด แสดงว่าปอดอักเสบ

 

การรักษาโรคปอดอักเสบ ปอดบวมในเด็ก

  1. รักษาตามอาการและประคับประคอง ให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ถ้ามีอาการหอบมาก คุณหมออาจให้ออกซิเจน
  2. การรักษาจำเพาะต่อเชื้อโรค คุณหมอต้องรู้ก่อนว่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดปอดอักเสบ คือเชื้ออะไร ก็จะให้ยาตามนั้น
โรคปอดอักเสบในเด็ก
โรคปอดอักเสบในเด็ก ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

วิธีป้องกันโรคปอดอักเสบ ปอดบวมในเด็ก

  1. กินนมแม่ให้นานที่สุด
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันธูป
  3. ฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  4. หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนอยู่อย่างแออัด

จากปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดปอดอักเสบในเด็ก คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันลูกได้โดยหลีกเลี่ยงการพาออกไปที่แออัด โดยเฉพาะในช่วงที่มีข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงหากไปข้างนอกกลับมาควรล้างมือก่อนจับหรือห้อมแก้มลูกน้อย คุณหมอยังย้ำอีกว่า ในกรณีเด็กเล็ก หากคุณแม่ยังมีน้ำนม การให้นมแม่เป็นการป้องกันได้ดีที่สุดอีกด้วย

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ปอดอักเสบ ในเด็ก (ปอดบวม) ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

แม่แชร์! ลูกชายเสียชีวิตเพราะ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up