คุณพ่อ คุณแม่หลายบ้าน อาจเคยพบกับปัญหาเรื่อง ลูกขาโก่ง จึงพยายามดัดขาให้ลูกด้วยตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่าการดัดขาลูกด้วยตัวเอง โดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ อาจจะทำให้ความหวังดีของพ่อแม่ ทำร้ายลูกน้อยได้โดยไม่รู้ตัว ดังเช่นกรณีนี้ที่หนูน้อยถูก “ดัดขาจนขาหัก”
แม่กลัว ลูกขาโก่ง หมอเตือน! อย่าดัดขา เสี่ยงทำขาลูกหัก
เด็กทารก #ขาหัก เพราะถูก #ดัดขา
กระดูกขาส่วนปลายข้างขวา หัก 2 ชิ้น ต้องใส่เฝือก
"#ขาโก่ง" ไม่ต้องดัดก็ได้ค่ะ
เนื่องจากทารกอยู่ในครรภ์ของแม่ ทารกแรกคลอดขาจะโก่งเสมอ เพราะลูกเคยอยู่ในที่ที่คับแคบนั่นเอง
ตามธรรมชาติแล้ว ขาของน้องจะตรงเองโดยไม่ต้องดัดนะคะ
บางคนไม่สบายใจ อยากใช้มือกำขาของลูกเบาๆ ไม่เป็นไร
แต่ระวัง! อย่าใช้แรงดัดขาลูก อย่ากำขาทั้งสองข้างบีบเข้าหากัน
อย่าใช้นิ้วกดแรงๆ ค่ะ กระดูกของลูกยังบอบบาง หักได้ ดั่งเช่นในรูปนี้นะคะ
อ่านต่อ >> “วิธีเช็กว่าลูกขาโก่งหรือไม่โก่ง” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
√ ดูอย่างไรว่า ลูกขาโก่ง หรือไม่โก่ง
ขาโก่งที่เห็น อาจเป็นขาโก่งจริง หรือขาไม่ได้โก่งจริงแต่ท่ายืนไม่ตรง จึงทำให้ดูภายนอกเหมือนขาโก่ง ลองสังเกตดู ดังนี้
1. เมื่อเรายืนปลายเท้าชี้ออกด้านนอก งอเข่าเล็กน้อย จะดูเหมือนขาโก่งโค้งออกด้านนอก
2. ถ้ายืนหันปลายเท้าเข้าด้านใน งอเข่าเล็กน้อยจะเหมือนขาโก่งเข้าด้านใน
3. เพราะเด็กช่วงวัย 1-2 ปี เป็นช่วงหัดเดิน การทรงตัวยังไม่มั่นคง เด็กจะเดินขาถ่างบ้าง เข่างอเล็กน้อย และกางแขนเป็นบางครั้งเพื่อช่วยในการทรงตัว ซึ่งเป็นท่าเดินมาตรฐานในเด็กวัยนี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4. เวลาดูว่ากระดูกขาโก่งหรือไม่แบบง่ายๆ ต้องเหยียดเข่าให้ตรงสุด หันลูกสะบ้าตรงมาด้านหน้า นำข้อเท้ามาชิดกัน โดยช่องว่างระหว่างขอบด้านในของเข่าไม่ควรห่างเกิน 2 นิ้วของคุณพ่อคุณแม่
5. สังเกตลูกในวัยเดิน ให้คุณแม่สังเกตการเดินของลูกดูนะคะว่าเค้าเดินได้สะดวกดีไหม กระเผลก หรือว่ามีอาการเท้าปุกร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าคุณแม่สังเกตพบความผิดปกติดังที่กล่าวมาให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด
6. หรืออย่างช้าควรตรงก่อนอายุ 3 ปี หรือถ้านำข้อเท้ามาชิดกันแล้ว แต่เข่าลูกซ้อนกันหรือเกยกัน ก็ควรพาลูกมาตรวจกับแพทย์ด้วยเช่นกัน
ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภาวะ “ขาโก่ง”
- การดัดขาหลังอาบน้ำจะช่วยให้ขาตรงมากขึ้น ไม่จริง และไม่ควรทำ เพราะอาจทำให้ลูกเจ็บ
- การใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปจะทำให้ขาโก่งมากขึ้น ไม่จริง ที่จริงแล้วยังใช้เป็นการรักษาภาวะข้อสะโพกเคลื่อนได้ด้วย
- การอุ้มเข้าสะเอวจะทำให้ขาโก่งมากขึ้น ไม่จริง และเช่นเดียวกับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป หมอแนะนำให้ทำเพื่อเป็นการรักษาภาวะข้อสะโพกเคลื่อน
ทั้งนี้การอุ้มลูกโดยการช้อนใต้วงแขนลูกทั้งสองข้างแล้วยกขึ้นมาเป็นการอุ้มที่ถูกต้องแล้วค่ะ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ท่าที่อันตรายคือการจับส่วนอื่นๆ ของแขน เพราะอาจทำให้ข้อศอกหรือข้อไหล่เคลื่อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการจับเพียงแขนเดียว
อ่านต่อ >> “แบบไหนที่เรียกว่าขาโก่งปกติหรือโก่งผิดปกติ” คลิกหน้า 3
อาการขาโก่งมักพบในเด็กในวัยช่วงหัดเดิน ซึ่งขาและเข่าจะโก่งหรือโค้งงอเท่า ๆ กัน ทั้งขาซ้ายและขาขวา หรือบางรายอาจจะพบว่าขาโกงข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า ขาโก่งตามสรีระ (physiologic bow legs) อย่างไรก็ตาม ขาโก่งที่ลูกเป็นอยู่นั้นต้องแยกให้ออกว่า มีลักษณะโก่งแบบธรรมชาติ ซึ่งถ้าเป็นในลักษณะนี้อาการจะค่อยหาไปเมื่อโตขึ้น แต่ถ้าเป็นโรคขาโก่งที่ไม่หาย ลักษณะขาโก่งของลูกคุณอาจจะมีอาการโก่งมากขึ้น
สำหรับภาวะขาโก่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ
1. ขาโก่งตามธรรมชาติ หรือขาโก่งปกติ ซึ่งในช่วงเด็กวัยก่อน2 ขวบ จะพบว่ามีอาการขาโก่งแบบนี้ได้ เชื่อว่าเพราะขณะที่เค้าอยู่ในครรภ์มารดานั้น อาจจะมีอาการขดตัว ทำให้เกิดการตึงของเส้นเอ็น และการรั้งของกล้ามเนื้อด้านในของข้อเข่า แต่พอเค้าเริ่มยืน กล้ามเนื้อส่วนนี้มีการออกแรง ร่างกายก็จะปรับเข้าที่เข้าทางมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าที่จริงๆ ก็เมื่อเค้าอายุประมาณ 2 ขวบขึ้นไป
2. ขาโก่งที่เกิดจากความเป็นโรค หรือขาโก่งผิดปกติ สาเหตุเกิดจากเนื้อกระดูกผิดปกติ หรือเป็นอาการแสดงหนึ่งของกลุ่มโรคกระดูกอ่อน ข้อเข่าเสื่อม หรือเกิดจากความผิดปกติของข้อตะโพก เป็นต้น โดยคุณพ่อคุณแม่สังเกตได้จากเวลายืนหรือเดินเด็กมักจะหมุนขาเข้าใน ซึ่งถ้าหลังจากลูกอายุ 3 ขวบไปแล้ว ยังมีลักษณะขาโก่งอยู่ การเดินเหมือนเป็ดถือว่าผิดปกติให้นำลูกไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
วิธีการรักษาและป้องกันลูกขาโก่ง
- การดัดดาม
โดยใช้อุปกรณ์ดัดขา จะใช้หลักการดัดคล้ายกับใช้มือดัด แต่มีอุปกรณ์ช่วยดามคงแรงดัดและแนวการดัดไว้ อุปกรณ์ที่ดามจะต้องยาวจากต้นขาลงมาถึงเท้า และต้องใส่นานหลายชั่วโมงต่อวัน จึงทำให้เด็กเดินลำบาก และไม่เป็นที่นิยมใช้กัน ผลการรักษาจึงไม่แน่นอน
- การรักษาด้วยการผ่าตัด
โดยตัดแต่งกระดูกให้ตรง ใส่เฝือกขารอกระดูกติด เป็นวิธีที่สะดวก คาดหวังผลได้ชัดเจน และในเด็กเล็กกระดูกจะติดเร็วมาก โดยทั่วไปใส่เฝือกประมาณ 1-2 เดือน หลังจากนั้น สามารถปล่อยให้เด็ก ยืน เดิน ออกกำลังกายเบาๆ ให้กล้ามเนื้อฟื้นความแข็งแรง
การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาโก่ง
หลักการสำคัญ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังไม่ให้เด็กอ้วน เพราะภาวะนี้จะพบมากในเด็กที่อ้วน การเฝ้าสังเกตดูอาการของลูกถ้าลูกเริ่มเดินขาโก่งแล้วรู้สึกว่ามันไม่ดีขึ้น อายุเริ่มเข้าใกล้ 2 ขวบแล้ว ขายังคงโก่งมากอยู่ หรือขาโก่งไม่เท่ากันจะต้องรีบพาไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตามถ้าปล่อยให้ภาวะขาโก่งนานๆ อาจมีการเจริญของขาฝั่งด้านผิดปกติทำให้กระดูกเกิดการผิดรูปและสั้นลงด้วย ทำให้ขาโก่งมากขึ้น และข้อเข่าที่ผิดรูปจะทำให้เสื่อมได้ง่ายขึ้น
โรคขาโก่งออกด้านนอกในเด็กเล็ก ถ้าได้รับการรักษาที่เร็ว ผลการรักษาได้ผลดี โอกาสโก่งซ้ำน้อย อย่างไรก็ตาม บางรายที่ปล่อยขาเด็กให้โก่งไว้นาน หรือโรคเป็นมาก เยื่อเจริญด้านในกระดูกขาเสียหายมาก ทำให้มีโอกาสเกิดขาโก่งซ้ำภายหลังผ่าตัดได้ การผ่าตัดจะทำยากขึ้น และต้องทำหลายครั้ง
ดังนั้น ทางที่ดีในช่วงเด็กเล็กคุณพ่อคุณแม่ควรเอาใจใส่ดูถึงพัฒนาการของลูกสักนิดถ้าลูกของคุณเริ่มจะมีภาวะขาโก่งแล้วต้องรีบมาปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด จะได้รักษาอย่างทันท่วงที
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- คำสอนโบราณเรื่องการเลี้ยงลูก เชื่อได้จริงหรือ!
- ช่วยลูกหัดยืน
- ไขข้อข้องใจ ลูกทารก “ขาโก่ง” ผิดปกติไหม?
ขอขอบคุณ พญ. สราพรรณ ณ นคร และแม่นก อนุญาตให้ใช้รูปค่ะ
#นมแม่แบบแฮปปี้
หากคุณพ่อ คุณแม่สงสัยว่าลูกขาโก่ง อย่าใช้วิธีดัดขาลูกด้วยตัวเอง หรือฟังคำคนอื่นแนะนำ เพราะอาจจะ “ดัดขาจนขาหัก” ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ค่ะ
เครดิต: เฟสบุ๊คเพจ นมแม่ แบบแฮปปี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.vejthani.com