AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกนอนกรน

Q เราควรกังวลกับเสียงกรนของลูกทารกวัย 3½ สัปดาห์หรือไม่ อย่างไรคะ
ทารกแรกเกิดมักจะหายใจเสียงดัง เพราะทางเดินหายใจแคบและเต็มไปด้วยสารคัดหลั่ง ซึ่งพออากาศเคลื่อนผ่าน ก็จะเกิดเสียงที่เรียกกันว่าเสียงกรน
กลืนน้ำลายเป็น เสียงกรนจะค่อยๆหายไปเอง แต่ในบางกรณี เสียงกรนอาจจะเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าทางเดินหายใจไม่ได้โล่งอย่างที่ควรจะเป็น เช่น เมื่อทางเดินหายใจเกิดการอุดกั้น ทารกต้องหายใจแรงขึ้นเพื่อให้อากาศเคลื่อนผ่านไปได้ และนั่นก็คือสาเหตุของเสียงกรน

 

ถ้าลูกทารกหายใจเสียงดังหรือนอนกรน คุณรับมือได้ด้วยการ…
ล้างจมูกให้ทางเดินหายใจโล่ง จะได้หายใจสะดวกขึ้นถ้าลูกมีอาการคัดจมูก คุณก็ควรจะล้างจมูกให้เขาอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้น้ำเกลือแบบสเปรย์พ่นจมูกซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปหรือจะทำน้ำเกลือเองก็ได้(ละลายเกลือ ¼ ช้อนชาในน้ำ 8 ออนซ์)พอล้างจมูกเรียบร้อยแล้วให้ใช้ลูกยางแดงดูดสารคัดหลั่งออกมา

 
• ใช้ไอน้ำช่วยอุ้มลูกเข้าไปในห้องน้ำ ปิดประตูและเปิดก๊อกน้ำร้อน ไอน้ำจะช่วยทำให้สารคัดหลั่งคลายตัวจนทางเดินหายใจโล่ง และให้ทำแบบนี้ก่อนพาลูกเข้านอน เพราะการหายใจเสียงดังจากทางเดินหายใจที่เกิดการอุดกั้นมักจะเกิดขึ้นในขณะที่นอนหลับ สำหรับการเพิ่มความชื้นให้กับอากาศในห้องนอน ให้เปิดเครื่องทำความชื้นแบบไอร้อนซึ่งในช่วงที่อากาศแห้ง จะช่วยได้มากทีเดียว

 
• ทำให้ห้องนอนของลูกปลอดสารก่อภูมิแพ้อย่างฝุ่นและขนสัตว์ห้องนอนและที่นอนของลูกทารก ไม่ควรมีอุปกรณ์มากเพราะจะเป็นที่ดักฝุ่น หากจำเป็นควรย้ายสิ่งต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้ออก เช่น หมอน ตุ๊กตาต่างๆ

 
· ถ้ารู้สึกว่าปัญหาดูจะรุนแรงขึ้น อาจต้องปรึกษาแพทย์คุณหมอจะได้ทำการทดสอบโดยบันทึกรูปแบบการหายใจในขณะที่นอนหลับเพื่อดูว่ามีความผิดปกติของการนอนหลับหรือเปล่า ตรวจทางเดินหายใจให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดการอุดกั้น (ในบางกรณี ผนังกลางจมูกอาจจะเบนไปทางด้านใดด้านหนึ่งจนทำให้รูจมูกข้างหนึ่งเกิดการอุดกั้นเป็นบางส่วน ซึ่งทารกจะชดเชยด้วยการพยายามหายใจผ่านรูจมูกข้างที่ไม่ได้เกิดการอุดกั้น จึงหายใจเสียงดัง) ตรวจช่องคอและเฝ้าสังเกตการหายใจของลูกให้แน่ใจว่าไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับโครงสร้างของทางเดินหายใจ

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง