AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

5 เคล็ดลับสร้างนิสัย “การนอนของทารก” ให้มีประสิทธิภาพ

การนอนของทารก

การนอนของทารก มีความสำคัญต่อพัฒนาการทั้งทางสมองและทางร่างกาย การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ลูกเติบโตได้อย่างแข็งแรงและสมวัย

5 เคล็ดลับสร้างนิสัย “การนอนของทารก” ให้มีประสิทธิภาพ

วงจรการนอนหลับของทารกนั้นสั้นกว่าวงจรการนอนหลับของผู้ใหญ่ซึ่งสามารถนอนได้ยาว แต่กลับต้องการจำนวนชั่วโมงในการนอนมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเด็กแรกเกิดใช้เวลาในการนอนหลับมากถึง 17 ชั่วโมงต่อวัน โดยในตอนกลางคืน ทารกจะตื่นทุก ๆ 2-5 ชั่วโมง เพื่อมาทานนม เมื่ออายุได้ 6-8 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มนอนได้ยาวขึ้น และมีช่วงเวลาการนอนหลับตื้น (REM sleep) น้อยลง ในขณะที่มีช่วงเวลาการหลับลึก (non-REM sleep) มากขึ้น

และเมื่อลูกอายุ 4-6 เดือน เด็กโดยส่วนมากจะสามารถนอนได้ยาวถึง 8-12 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน (เด็กบางคนสามารถนอนยาวได้ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์) แต่เพราะนิสัยในการนอนของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ในเด็กบางคนอาจจะยังไม่นอนยาวและยังคงตื่นระหว่างคืนจนถึงวัยเตาะแตะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ ยังไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด ตราบใดที่ลูกน้อยยังคงมีพัฒนาการที่ดีและลูกยังใช้เวลาในการนอนรวมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (เช็คดูได้ที่นี่ ตารางการนอนของทารก นอน/ตื่นกี่ครั้ง นอนนานแค่ไหน?) หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ยังคงไม่ยอนนอนยาวเมื่ออายุ 4-6 เดือน ลองทำตามเคล็ดลับต่อไปนี้ เพื่อฝึกให้ลูกมีลักษณะนิสัยการนอนหลับที่ดีกันดูค่ะ

ทารกนอนหลับ

5 เคล็ดลับสร้างนิสัย “การนอนของทารก” ให้มีประสิทธิภาพ

  1. ให้ลูกได้งีบหลับตอนกลางวันบ่อย ๆ

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดว่า ถ้าลูกนอนตอนกลางวันบ่อย ๆ จะทำให้ลูกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน เด็กแรกเกิด – 2 เดือน จะไม่สามารถตื่นตอนกลางวันได้นานเกิน 2 ชั่วโมง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกตื่นนอนนานเกิน 2 – 2.25 ชั่วโมง เพราะหากปล่อยให้ลูกตื่นนอนนานเกินนี้ จะทำให้ลูกเหนื่อยจนเกินไป และเมื่อลูกเหนื่อยจนเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุให้ลูกมีปัญหาเวลาที่คุณพ่อคุณแม่พาเข้านอน และอาจเป็นการสร้างลักษณะนิสัยการนอนผิด ๆ ได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ 5 เคล็ดลับสร้างนิสัย “การนอนของทารก” ให้มีประสิทธิภาพ

5 เคล็ดลับสร้างนิสัย “การนอนของทารก” ให้มีประสิทธิภาพ

2. ให้ลูกรู้ถึงความแตกต่างของกลางวันและกลางคืน

เมื่อลูกน้อยยังอยู่ในท้องของคุณแม่ ลูกไม่สามารถรับรู้ได้เวลากลางวันและกลางคืนได้มากนัก ทำให้ทารกแรกเกิดจึงยังตื่นตอนกลางคืนได้บ่อย ๆ แต่เมื่อลูกอายุ 2 อาทิตย์แล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้ลูกรู้เวลาได้โดยวิธีต่อไปนี้

เล่นกับลูก

สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกได้เรียนรู้ว่าเวลาไหนกลางวัน เวลาไหนกลางคืน และควรจะนอนในเวลาไหน เล่นได้ในเวลาไหน

3. สังเกตสัญญาณของลูก

แม้ว่าทารกจะยังพูดไม่ได้ แต่ลูกก็สามารถส่งสัญญาณให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้ว่า “หนูง่วงแล้วนะ” “หนูหิวแล้วแม่” การสังเกตว่าลูกส่งสัญญาณอะไรมาให้คุณพ่อคุณแม่รับรู้มีความสำคัญต่อการฝึกให้ลูกนอนหลับเช่นกัน เพราะต้องอย่าลืมว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเหนื่อยจนเกินไป เพราะเป็นการสร้างนิสัยการนอนที่ผิด สัญญาณที่บ่งบอกว่าถึงเวลานอนกลางวันของลูกน้อย ได้แก่ ขยี้ต ดึงหูตัวเอง งอแงกว่าปกติ (อ่านต่อ แม่ต้องรู้! 9 สัญญาณ บ่งบอกเมื่อ ลูกหิวนม)

4. ฝึกให้ลูกนอนเป็นเวลา

ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะยังเล็กเกินไป การฝึกลูกนอนให้เป็นเวลานั้น ยิ่งฝึกเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งฝึกได้ง่ายขึ้นเท่านั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มฝึกลูกได้ตั้งแต่ลูกอายุ 6-8 สัปดาห์เป็นต้นไป (อ่านต่อ ฝึกลูกนอน (เร็วและเป็นเวลา) จำเป็นไหม? พร้อมวิธีฝึกลูกให้หลับเร็ว)

5. ฝึกให้ลูกนอนเอง

เมื่อลูกอายุได้ 6-8 สัปดาห์ ลองวางลูกลงบนที่นอนเมื่อลูกง่วงแต่ยังไม่หลับ แล้วฝึกให้ลูกหลับไปเอง แทนที่จะอุ้มกล่อมหรือให้นมจนกว่าลูกจะหลับแทน ในครั้งแรก ๆ ลูกอาจจะยังไม่สามารถนอนได้เองหรอกนะคะ เพราะโดยส่วนมากจะเริ่มฝึกกันเมื่อลูกอายุได้ 4-6 เดือน แต่การที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มฝึกให้ลูกรู้จักการนอนเองบ้าง จะทำให้การฝึกลูกนอนเองเมื่อลูกอายุ 4-6 เดือน ได้สำเร็จง่ายขึ้น และเป็นการสร้างนิสัยการนอนหลับที่ดีให้ลูกในอนาคตได้อีกด้วย (อ่านต่อ พ่อแชร์เทคนิคดี๊..ดี ฝึกลูกนอนเอง นอนยาว แบบ “Cry it out”)

การสร้างลักษณะนิสัยที่ดีของ การนอนของทารก นั้น นอกจากจะช่วยให้ลูกได้นอนหลับอย่างเต็มที่และเพียงพอแล้ว ยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ไม่เหนื่อยจนเกินไปจากการตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อดูแลลูกบ่อย ๆ อีกด้วยนะคะ ดังนั้น มาฝึกให้ลูกมีนิสัยการนอนที่ดีกันเถอะค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

REM Sleep ช่วง “การนอนของทารก” ที่ทำให้ลูกโตช้า

วัคซีนพื้นฐาน 2563 จาก กระทรวงสาธารณสุข มาแล้ว!!

ฝึกลูก ” เลิกขวดนม ” ง่ายๆ ภายใน 1 ขวบ!! ป้องกันฟันผุ

ช่วยฝึกลูกนั่ง คลาน ยืน เดิน อย่างถูกวิธี และไม่เร่งลูก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : babycenter.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids