ลูกนอนกระตุก อาการปกติ หรือไม่? ร่วมไขข้อข้องใจไปพร้อม ๆ กันได้ที่นี่!
คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่า ทำไมลูกของเราถึงมักมีอาการกระตุกในขณะที่กำลังนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กแรกเกิดจนถึง 3 เดือน แล้วอาการแบบนี้เรียกปกติหรือไม่ และจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรถึงจะผิดปกติ วันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้เตรียมข้อมูลดี ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนแล้วละค่ะ
ทารกนอนกระตุกเพราะอะไร?
ในขณะที่ทารกกำลังนอนหลับแล้วมีการกระตุกเราเรียกอีกอย่างว่า Twitching นั้นถือเป็นเรื่องปกติสำหรับทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก หรือแม้แต่ตัวผู้ใหญ่เองค่ะ ซึ่งการกระตุกที่ว่านี้ จะเป็นการกระตุกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นที่แขนหรือที่ขา
การกระตุก (Twitching) หากทารกหลับ ในระดับที่ลูกตามีการกรอก (rapid eye movement) ทารกมีกระตุก เล็กน้อย ที่แขน หรือที่ขา เวลาตื่นไม่มีกระตุก ผู้ใหญ่บางครั้งก็มี การกระตุก ก่อนรู้สึกตัและจะรวตื่น เช่นเดียวกัน พ่อแม่มักพา ทารกมาปรึกษา โดยบอกว่าลูกชัก หากบุคลากรทางการแพทย์ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ ทารกมักถูกรับ ไว้ในโรงพยาบาล ซึ่งเราสามารถแบ่งอาการกระตุกเกร็งของทารกออกเป็น 3 แบบด้วยกัน
อ่านต่ออาการกระตุกเกร็งของทารกทั้ง 3 แบบได้ที่หน้าถัดไปค่ะ
5 อาการกระตุก เกร็งของทารก
- แบบ Primitive reflex คือ อาการแสดงออกที่ตอบสนองต่อการสั่งการของสมองส่วนกลาง และมักที่จะพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ๆ ที่การเจิรญของสมองยังไม่เติบโตเต็มที่ และจะค่อย ๆ หายไปเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น แต่ก็ยังพบได้ไม่มากหากเทียบกับ 4 แบบที่เหลือนี้
- Moro reflex หรือ Startle reaction จะเป็นการสะดุ้งเมื่อตกใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะสามารถสังเกตได้จาก เวลาที่เมื่อลูกตกใจ เช่น จากเสียงที่ดัง ลูกก็จะมีอาการเกร็ง ขาเหยียดออก แขนจะกางออกก่อนแล้วงอเข้าตัวทีหลัง ฝ่ามือจะกางออกและนิ้วมือจะเกร็งและไม่นานจะเกร็งแน่นเป็นกำปั้น คอจะยกขึ้น มักพบในเด็กแรกเกิด และพอโตขึ้นก็จะหายไปได้เองค่ะ แต่ถ้าหากลูกอายุ 6 เดือนไปแล้วและยังมีอาการนี้อยู่ละก็ แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ
- Tonic neck reflex or fencing posture พบในเด็กแรกเกิดถึง อายุประมาณสี่เดือน คือลักษณะที่เด็กนอนแล้วศีรษะของเด็กน้อยก็หันไปทางด้านไหน แขนด้านนั้นจะเหยียดตรง แขนอีกข้างจะงอ เป็นต้น แต่ถ้าหกเดือนแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์เช่นกันค่ะ
- Myoclonic jerk คือ อาการบิดตัว ขากระตุก 1 – 2 ครั้ง ในขณะที่ลูกหลับ อาการนี้มักเกิดขึ้นภายหลังที่มีการกระตุ้นด้วยเสียง อาการก็จะคล้ายกับการผวา และมักจะเกิดขึ้นได้ไม่นานและไม่มีอาการแทรกซ้อนใด ๆ ค่ะ
- Jitteriness คือ เป็นอาการสั่นรัว ๆ ของคางเมื่อเด็กเคลื่อนไหว หรือร้องไห้ บางครั้งอาจเป็นมากถึงกับมีกระตุกกลับไปกลับมาของแขน ขา ด้วยก็เป็นได้ อาการกลุ่มนี้จะไม่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติของตา เช่น ตาค้าง และจะมีอาการมากขึ้นเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเสียง หรือการเคลื่อนไหว อาการจะสงบหรือหายไปเมื่อจับหรือห่อตัวเด็ก หรือกอดเด็ก คือให้แขนงอพับไว้บนอก ขางอพับไว้บนหน้าท้อง เป็นต้น
แล้วสาเหตุของกระตุกเกร็งที่เรียกว่าผิดปกตินั้นมีอะไรบ้าง คลิก!
5 สาเหตุของการที่ ลูกนอนกระตุก เกร็งแบบผิดปกติ
ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยของเรานอนกระตุกในแบบที่จัดได้ว่าเป็นเรื่องผิดปกตินั้น มักเกิดมาจากความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาท อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ลูกขาดออกซิเจนเป็นเวลานานภายหลังจากที่คลอด ถ้าสมองขาดออกซิเจนนานอาจทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการร่วมด้วยได้
- ลูกได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ มีเลือดออก เลือดคั่ง ทำให้มีความดันในกระโหลกศีรษะสูง เช่นหล่นจากเตียง หรือศีรษะไปกระแทกกับบางสิ่ง
- มีไข้ตัวร้อน ทำให้ไปกระตุ้นประสาทส่วนกลาง พบได้ในเด็กอายุสามเดือนถึงห้าปี และจะพบควบคู่ไปกับไข้สูงในระยะแรก และต่อมาอาจจะชักได้
- มีการติดเชื้อในสมองและระบบไขสันหลัง เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในอาการสำคัญก็คือ อาการกระตุกเรื้อรังบริเวณแขนและขา
- มีความผิดปกติของคลื่นสมองที่เรียกว่าโรคลมชัก
เป็นต้น
มาถึงตอนนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจได้แล้วละค่ะว่าเวลาที่ลูกน้อยของเรานั้นนอนกระตุก ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากลูกโตขึ้นแล้วยังไม่หาย หรือคุณพ่อคุณแม่คิดว่า อาการดังกล่าวไม่ปกติแน่นอนแล้วละก็ แนะนำให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คอย่างละเอียดทันที
เครดิต:MDVU และ Epilepsyfoundation
อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่