ลูกอึเสร็จ ตอนไหน เมื่อไหร่จะถึงเวลา แม่เปลี่ยนผ้าอ้อม - Amarin Baby & Kids
ลูกอึเสร็จ ตอนไหน

ลูกอึเสร็จ ตอนไหน แม่จะรู้ได้ยังไง เมื่อไหร่จะถึงเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม

account_circle
event
ลูกอึเสร็จ ตอนไหน
ลูกอึเสร็จ ตอนไหน

เพิ่งเปลี่ยนผ้าอ้อมไป ลูกอึใส่อีกแล้ว สัญญาณการขับถ่ายของทารก สังเกตได้ไหมว่า ลูกอึเสร็จ ตอนไหน

ลูกอึเสร็จ ตอนไหน แม่จะได้เปลี่ยนผ้าอ้อม

หนึ่งในปัญหาน่าปวดหัวสำหรับคนเป็นพ่อแม่มือใหม่ เมื่อลูกวัยทารก ขับถ่ายบ่อยเสียเหลือเกิน ทั้งยังเดาไม่ถูกด้วยว่า ลูกอึเสร็จแล้วหรือยัง

ทำความเข้าใจการขับถ่ายของทารก

ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจการขับถ่ายของทารกกันก่อน เพราะทารกแต่ละช่วงวัย มีจำนวนการอึ ฉี่ ที่แตกต่างกันไป รวมถึงสีของอุจจาระที่เปลี่ยนไปด้วย

  • อายุทารกแรกเกิด 1-2 วัน มักจะปัสสาวะ 1-2 ครั้งต่อวัน อุจจาระ 1-2 ครั้งต่อวัน ส่วนสีของอุจจาระจะเป็นสีเขียวคล้ำหรือดำ แม่ไม่ต้องตกใจ เพราะนี่คือการขับถ่ายขี้เทาออกมา
  • อายุทารกแรกเกิด 3-4 วัน มักจะปัสสาวะ 3-4 ครั้งต่อวัน อุจจาระ 3 ครั้งต่อวัน ส่วนสีของอุจจาระจะเป็นสีน้ำตาล สีเขียว หรือสีเหลือง
  • อายุทารกแรกเกิด 5-7 วัน มักจะปัสสาวะ 6 ครั้งต่อวัน อุจจาระ 3 ครั้งต่อวัน ส่วนสีของอุจจาระจะเป็นสีเหลือง
  • อายุทารก 1-3 สัปดาห์ มักจะปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวัน อุจจาระ 2-3 ครั้งต่อวัน ส่วนสีของอุจจาระจะเป็นสีเหลือง
  • ลูก 1 เดือนขึ้นไป มักจะปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวัน อุจจาระมากหรือน้อยครั้งเริ่มไม่แน่นอน ส่วนสีของอุจจาระจะเป็นสีเหลือง

สีของอุจาระเองก็บ่งบอกถึงสุขภาพทารกได้ด้วย เช่น สีเหลือง มักจะเป็นสีปกติ หากสีเหลืองออกน้ำตาลเป็นเพราะกินนมผง ส่วนสีเหลืองปนเขียวเป็นเพราะกินนมน้อย สำหรับสีอุจจาระที่ต้องระวัง สีดำ หลังจากช่วงวันแรก ๆ อาจเป็นไปได้ว่า มีเลือดออกในทางเดินอาหารของลูกน้อย สีแดงอาจเป็นผลจากอาการท้องผูก ทำให้เกิดแผลที่ทวารหนัก ส่วนสีขาวซีด อาจเป็นท่อน้ำดีอุดตัน ถ้าลูกมีสีอุจจาระที่เสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ พ่อแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูร่างกายอย่างละเอียด

รู้ได้ยังไงว่าลูกกำลังอึ

  1. ลูกอึแน่หลังกินนมแม่ ทารกที่อิ่มแปล้มีนมแม่อยู่เต็มกระเพาะ มักจะท่อตรงขับถ่ายได้ไว โดยเฉพาะทารกในวัย 2-3 ปี และมักจะเป็นในมื้อเช้า หลังจากที่พักท้องไปตลอดทั้งคืน นอกจากนี้ ในช่วงเดือนแรก ๆ ของทารกอาจจะถ่ายได้บ่อย ถ่ายกระปริดกระปรอย ไม่ใช่ท้องเสีย แต่เพราะกินนมแม่มากเกินไปทำให้ผ่านไปลำไส้ใหญ่ได้เร็ว แลคโตสจากนมแม่จะดึงน้ำเข้ามาในลำไส้ใหญ่ทำให้ถ่ายท้องคล้ายกับท้องเสีย ลองปรับวิธีการให้นม เช่น ให้นมลูกจนเกลี้ยงเต้าแต่ละข้างเพื่อให้ลูกได้น้ำนมส่วนท้ายที่มีไขมันเยอะ ถ้าลูกไม่เคยกินเกลี้ยงเต้าเลยเพราะแม่มีน้ำนมมาก ก็ให้บีบน้ำนมส่วนต้นออกก่อนหรือเก็บไว้ทำสต็อค ลูกจะได้กินน้ำนมส่วนท้ายเยอะหน่อย
  2. เบ่งจนหน้าบู้บี้ ทารกบางคนเบ่งตั้งแต่ยังไม่กินนม แต่สักพักก็เลิกเบ่งแล้วหันมาเข้าเต้าแม่เอง หลังจากท้องอิ่มอุจจาระก็จะมาเช่นเคย เด็กบางคนทำท่าเบ่งมากจนคล้ายว่าอึไม่ออก ให้แม่สังเกตอุจจาระนะคะ เพราะทารกยังพูดไม่ได้ สีหน้าที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะว่าปวดท้องอยากถ่าย ไม่ได้เกิดจากอาการท้องผูกแต่อย่างใด
  3. ร้องไห้โยเย อีกหนึ่งอาการสำคัญของทารกที่กำลังเบ่งอึ คือการร้องไห้ เพราะทารกไม่เข้าใจถึงอาการลำไส้บีบตัว ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว แต่ถ้าลูกเกิดมีอาการร้องไห้เสียงดัง เบ่งจนหน้าแดงไปถึงเขียวคล้ำ แสดงท่าทีนี้เป็นเวลานานเกิน 10 นาที บ่อย ๆ ลองปรึกษากุมารแพทย์เพื่อดูว่าลูกมีอาการ infant dyschezia หรือไม่

อาการ infant dyschezia ทารกมักจะเบ่งจนหน้าดำหน้าแดง เบ่งเป็นเวลานานมากถึง 10 นาทีกว่าที่อุจจาระจะออกมา นั่นเป็นเพราะทารกยังไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อช่องเชิงกรานให้คลายตัวในจังหวะที่สัมพันธ์กับการเบ่ง ยังเบ่งอุจจาระไม่เก่ง ซึ่งอาการนี้มักจะพบในทารกอายุ 1 เดือน และมีบ้างที่พบในทารกอายุ 3 เดือน แต่อาการนี้มักจะหายไปเมื่อทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป สำหรับลักษณะของอุจจาระจะมีสีปกติ ไม่ได้แสดงถึงอาการท้องผูก พอขับถ่ายเสร็จเจ้าตัวน้อยก็เพลิดเพลินได้เป็นปกติ

ลูกอึเสร็จ ตอนไหน
ลูกอึเสร็จ ตอนไหน

ลูกอึเสร็จแล้วนะแม่ เปลี่ยนผ้าอ้อมได้!

สำหรับสัญญาณลูกอึเสร็จนั้น เด็กแต่ละคนจะมีพฤติกรรมที่ไม่ชัดเจน หนึ่งในพฤติกรรมของทารก หากอึเสร็จแล้วมักจะร้องไห้เพราะรู้สึกว่า ไม่สบายตัว เป็นสัญญาณที่บ่งบอกคุณแม่ว่า เปลี่ยนผ้าอ้อมกันเถอะ แต่ถ้าลูกยังหน้านิ่ง ไม่หือไม่อือ แสดงว่า เจ้าตัวน้อยยังอึไม่เสร็จ แม่อย่าเพิ่งเปลี่ยนผ้าอ้อม ให้ค่อย ๆ ยกขาทารกน้อยขึ้น งอเข่ามาแตะที่พุง หรือใช้มือจับช่วยทารกในท่าปั่นจักรยานอากาศ ถ้าลูกอึเสร็จจะเริ่มขยับตัว ร้องไห้บอกแม่ว่า หนูพร้อมจะเปลี่ยนผ้าอ้อมแล้ว การจับขาลูกถีบจักรยานอากาศ ยังช่วยบรรเทาอาการท้องผูกของทารกได้ด้วยนะ

วิธีทำความสะอาดก่อนเปลี่ยนผ้าอ้อมทารก

เมื่อลูกขับถ่ายเสร็จสิ้นแล้ว ก็ถึงเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมเสียที แต่ก่อนจะเปลี่ยนผ้าอ้อม ก็ต้องดูแลทำความสะอาดให้กับลูกน้อยเสียก่อน สำหรับทารกเพศชายกับทารกเพศหญิง ต่างก็มีวิธีทำความสะอาดที่แตกต่างกัน

  • เริ่มจากการทำความสะอาดลูกสาวหลังจากอุจจาระแล้ว ให้เช็ดบริเวณใต้สะดือให้ทั่ว เปลี่ยนสำลีใหม่แล้วใช้ปลายนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ของมือข้างที่ไม่ถนัด แหวกอวัยวะเพศออกอย่างเบามือ เช็ดจากด้านในก่อนอย่างรวดเร็ว เช็ดจากบนลงล่าง ทั้งซ้ายและขวา เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ เช็ดด้านนอกที่บริเวณแคมเล็ก ๆ ทั้งสองข้าง ซ้ายและขวา เน้นความไว แต่นุ่มนวล เปลี่ยนสำลีอีกครั้ง เช็ดบริเวณขาหนีบและข้อพับให้ทั่ว เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่เพื่อเช็ดบริเวณร่องก้น โดยเช็ดจากด้านบนลงล่าง ควรเช็ดให้แห้งสนิทและสะอาด
  • ส่วนลูกชายให้เช็ดบริเวณใต้สะดือให้ทั่ว ใช้มือข้างไม่ถนัดค่อย ๆ รูดหนังหุ้มปลายลงอย่างเบามือ จนเห็นรูเล็ก ๆ ที่ปลายองคชาต (ปลายท่อปัสสาวะ) จึงใช้อีกมือจับลำสีชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดให้ทั่ว เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ แล้วเช็ดบริเวณลูกอัณฑะให้สะอาด เปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่อีกครั้งเช็ดบริเวณขาหนีบและข้อพับให้ทั่ว แล้วเปลี่ยนสำลีแผ่นใหม่ เช็ดบริเวณร่องก้น โดยเช็ดจากด้านบนลงล่าง ควรเช็ดให้แห้งสะอาด อย่าให้มีความชื้นเหลืออยู่ ย้ำอีกครั้งว่า การทำความสะอาดทารกควรทำอย่างนุ่มนวล แต่รวดเร็วนะคะ

เมื่อลูกอึเสร็จแล้ว ก็ทำความสะอาดให้ทารกอย่างเบามือ ทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว ทั้งยังต้องดูไม่ให้เกิดความอับชื้นก่อนจะใส่ผ้าอ้อมด้วยนะ

อ้างอิงข้อมูล :  breastfeedingthai, facebook.com/thaibreastfeeding และ thebeaverton

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อุปกรณ์อาบน้ำเด็กแรกเกิด ต้องเตรียมอะไรบ้าง แม่มือใหม่จำเป็นต้องรู้ ?

10 เพลงกล่อมนอน 10 นาที ช่วยให้ลูกหลับปุ๋ยฝันดีตลอดคืน

16 วิธีดูเเลลูกน้อยให้ไม่เป็น ผื่นแดง ผื่นผ้าอ้อม

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up