การผายลม ถือว่าเป็นเรื่องปกติทั่วไปของมนุษย์ทุกคน แต่ทำไมทารกแรกเกิดที่ไม่ได้ทานอะไรนอกจากนมถึงตดบ่อยจัง? ไขข้อสงสัยทำไม ทารกตดบ่อย และ ตดบ่อยแค่ไหนคือสัญญาณอันตราย ที่นี่ค่ะ
ทารกตดบ่อย ตดบ่อยเกินกี่ครั้งคือสัญญาณอันตราย?
การผายลม หรือ การตด ฟังดูแล้วเป็นเรื่องน่าอายและน่าขบขันไม่น้อย แต่มันก็เป็นเพียงกระบวนการทางธรรมชาติของร่างกายในการขับไล่ลมหรือแก๊สผ่านลำไส้ใหญ่เท่านั้น ทุกครั้งที่เรากินอาหาร ดื่มเครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งพูดคุยทั่วไป เรากลืนอากาศเข้าไปด้วย การตดในชีวิตประจำวันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ยังสงสัยว่าทารกแรกเกิดที่ไม่ได้ทานอะไรนอกจากนมถึงมีก๊าซในท้องเยอะจังเลย มาดูสาเหตุกันค่ะ
สาเหตุของการผายลมในทารก
โดยทั่วไปที่คนเราทานอาหาร เมื่ออาหารเดินทางเข้าสู่กระเพาะอาหาร อาหารบางส่วนที่ไม่ถูกย่อย จะถูกส่งมายังลำไส้ใหญ่ เพื่อเป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้จะย่อยและหมักอาหารดังกล่าว แล้วผลิตวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินบี และวิตามินเค รวมไปถึงสารจำเป็นสำหรับพัฒานาระบบอวัยวะต่าง ๆ ผลจากการย่อยและหมักของเชื้อแบคทีเรีย ก่อให้เกิดก๊าซบางส่วนขึ้นในลำไส้ใหญ่ ร่างกายก็จะขับก๊าซเหล่านี้ผ่านการเรอหรืออการผายลมนั่นเอง
สำหรับเด็กทารก ถึงแม้จะกินนมแม่หรือกินนมจากขวดนมเพียงอย่างเดียวนั้น ก็สามารถมีก๊าซสะสมในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเหล่านี้
- ดื่มนมช้าเกินไป ลักษณะของจุกขวดนมหรือหัวนมของมารดา เช่น หัวนมบอด อาจทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อยหรือไหลช้า ส่งผลให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้นในระหว่างดูดนม
- ดื่มนมเร็วเกินไป หากน้ำนมจากเต้าของมารดาหรือจุกขวดนมไหลออกมามากเกินไป ลูกน้อยจะต้องกลืนน้ำนมอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดแก๊สสะสมในกระเพาะอาหารได้มากเช่นกัน
- ดื่มนมที่มีฟองอากาศ สำหรับทารกที่ดื่มนมผง ในระหว่างขั้นตอนผสมนมผงกับน้ำอาจมีฟองอากาศเกิดขึ้น ทารกอาจท้องอืดได้หากกลืนฟองอากาศมากเกินไป ดังนั้น หลังผสมนมเสร็จแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 นาที เพื่อให้ฟองอากาศแตกตัวก่อนให้ลูกน้อยดื่ม
- ร้องไห้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปจำนวนมาก
>>อ่าน แนะนำพ่อแม่มือใหม่! ขั้นตอนการเตรียมนมและวิธีชงนมที่ถูกต้องเพื่อไม่ไห้เกิดฟอง (มีคลิป)<<
และที่สำคัญที่สุด กระบวนการย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารของทารกในช่วง 3 เดือนแรกยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ การเกิดก๊าซในกระเพาะอาหารเมื่อดูดนมแม่จึงเป็นเรื่องปกติ อาการของทารกจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองเมื่อมีอายุมากขึ้น ส่วนทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไปที่เริ่มรับประทานอาหารชนิดอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว ในช่วงแรกระบบย่อยอาหารอาจยังไม่คุ้นชินกับอาหารชนิดใหม่ ๆ ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้เช่นกัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ทารกตดเหม็นไม่อันตรายเท่า…ทารกตดบ่อย
ทารกตดเหม็นไม่อันตรายเท่า…ทารกตดบ่อย
โดยปกติแล้ว ผู้ที่มีร่างกายอุดมสมบูรณ์และแข็งแรงดีจะตดประมาณ 14-23 ครั้งต่อวัน เมื่อใช้เกณฑ์นี้เป็นตัววัดแล้ว การผายลมที่มากกว่า 23 ครั้งภายในหนึ่งวันถือว่าผิดปกติ โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊สในร่างกายมากเกินไป เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ชีส กระหล่ำปลี หัวหอม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม หรืออาจเกิดจากภาวะความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งภายในร่างกาย
การผายลมบ่อยมากเกินไปเป็นสัญญาณที่บ่งบอกสุขภาพภายในได้เป็นอย่างดี ซึ่งภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการผายลมมีด้วยกันดังนี้ โรคมะเร็งลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน ระบบดูดซึมอาหารทำงานผิดปกติ การแพ้อาหารที่มีส่วนประกอบของแลคโตส(lactose) เช่น นมวัวและโยเกิร์ต ภาวะที่เกี่ยวของกับกระเพาอาหาร เช่น ภาวะอาหารเป็นพิษ ดังนั้น คุณแม่จึงควรหมั่นนับจำนวนครั้งที่เราผายลมในแต่ละวันเพื่อสังเกตการทำงานที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้ หากทารกผายลมบ่อยครั้งเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร
อาหารที่แม่ทานก็ทำให้ลูกตดบ่อยได้นะ
แม้ว่าทารกแรกเกิดจะยังทานอาหารอย่างอื่นที่นอกเหนือจากนมแม่หรือนงผงไม่ได้ แต่อาหารที่คุณแม่รับประทานก็อาจไหลผ่านน้ำนม และส่งผลให้ทารกมีก๊าซในกระเพาะอาหารได้ แม้ลูกจะไม่ได้รับประทานเองโดยตรง โดยอาหารต่อไปนี้ เป็นอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อลูกน้อยเริ่มมีก๊าซสะสมในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ หรือ เมื่อลูกน้อยเริ่มผายลมบ่อย ๆ
- พืชตระกูลถั่ว
- บร็อคโคลี่
- กะหล่ำปลี
- รำข้าว
- ข้าวโอ๊ตบด
- ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว
สำหรับอาหารบางชนิดที่ไม่ทำให้เกิดก๊าซสะสมในกระเพาะอาหาร แต่ทารกบางคนอาจมีอาการแพ้โปรตีนจากอาหารได้ เช่น นม โยเกิร์ต ชีส รวมถึงโปรตีนในนมผงและน้ำนมแม่ เป็นต้น
หากคุณแม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซได้ง่ายแล้ว แต่ก็ยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และหาทางแก้ไขอย่างเร็วที่สุด
อย่างที่ทราบกันว่า ทารกตดบ่อย ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เป็นเพียงกระบวนการขับไล่ลมหรือก๊าซในกระเพาะอาหารโดยทั่วไปเท่านั้น ไม่ว่าจะตดเหม็น ตดดัง หรือ ตดบ่อย หากไม่ได้ตดบ่อยเกิน 23 ครั้งต่อวัน ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่อันตรายใด ๆ ค่ะ เพียงแต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ อาการท้องอืดของลูก ที่ไม่สามารถขับไล่ลมในกระเพาะอาหารได้นั่นเอง ดังนั้น การจับเรอทุกครั้งหลังมื้อนม จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกมีก๊าซในกระเพาะอาหารมากเกินไปค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
5 วิธีแก้ปัญหา ลูกท้องอืดท้องเฟ้อ
ท่านอนของทารก ท่าไหนปลอดภัย ท่าไหนอันตราย?
มหาหิงค์ vs ไกร๊ปวอเตอร์ อันไหนแก้ลูกท้องอืดได้ดีกว่ากัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : Poppad, ทรูปลูกปัญญา, ข่าวสด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่