AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

คัมภีร์ การดูแลทารกแรกเกิด 8 เรื่องที่แม่มือใหม่ต้องรู้!

การดูแลทารกแรกเกิด หลังคลอด เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ เพื่อจะได้รับมือและเลี้ยงลูกได้เป็นอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงชีวิตในระยะที่มีความสำคัญมาก เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในท้องแม่ออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกท้องแม่ ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น การดูแลทารกแรกเกิด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ

คัมภีร์ การดูแลทารกแรกเกิด 8 เรื่อง ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!

สำหรับ การดูแลทารก โดยหลักๆ แล้วมีอยู่ 2 เรื่อง ด้วยกัน คือ การดูแลทางด้านร่างกาย และการดูแลทางด้านจิตใจ

ซึ่ง การดูแลทารกแรกเกิด ในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้…

1. นมแม่ อาหารมื้อแรกของลูก

องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะน้ำนมแม่  เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอด และให้ดูด 8-12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว

⇒ Must read : นมแม่ป้องกันโรค ช่วยลูกสุขภาพดีตั้งแต่แรกเกิด

ทั้งนี้ การให้นมลูก ควรให้ในสถานที่ที่สงบและสะอาด ควรนวดเต้านมและลานหัวนมให้นิ่ม และบีบน้ำนมออกประมาณ 2-3 หยดก่อนให้ลูกดูด จัดท่าทางให้สบาย โดยคุณแม่อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัว ให้ปากของลูกอยู่ตรงหัวนม มืออีกข้างประคองเต้านม แล้วใช้หัวนมกระตุ้นริมฝีปากลูกให้ลูกอ้าปาก จากนั้นเคลื่อนลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็ว ให้ลูกอมหัวนมให้ลึกถึงลานหัวนม และลิ้นอยู่ใต้ลานนม เมื่อลูกอิ่มแล้วจะถอนปากออกจากหัวนมเอง แต่ถ้าอิ่มแล้วยังอมหัวนมอยู่ ให้คุณแม่ใช้นิ้วกดคางเบาๆ หรือใช้นิ้วก้อยสอดเข้ามุมปากของลูกเล็กน้อย แล้วจึงดึงหัวนมออก

2. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง ความสะอาด

แรกคลอดจะพบว่า ทารกแรกเกิด มีไขมันเกาะอยู่ คุณแม่ควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดเบาๆ ไขมันจะค่อยๆ ออกไปวันละน้อย แล้วจึงค่อยเช็ดตัว สระผม หรืออาบน้ำให้ทารก (อาบน้ำแบบแช่ได้เมื่อสายสะดือหลุดแล้ว ซึ่งปกติสายสะดือจะหลุดประมาณ 7 วันหลังคลอด)

คุณแม่ควรใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับให้แน่นบริเวณใต้รักแร้ทารก อ้อมไปถึงต้นแขนเพื่อไม่ให้ทารกหลุดจากมือ

คุณแม่ควรทำความสะอาดโดยใช้สำลีพันปลายไม้หรือคอตตอนบัตชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดจากโคนสะดือ (บริเวณที่สะดือติดกับผิวหนังหน้าท้อง) คุณแม่ควรล้างมือให้สะอาด แล้วจับเชือกที่ผูกสายสะดือเอียงไปทีละข้าง เพื่อเช็ดโคนสะดือมายังปลายสะดือ (จะเช็ดสะดือหลังเช็ดตัวทาแป้ง หรือครีมแล้วก็ได้) แต่ห้ามใช้แป้งโรยบนสะดือเพราะจะเกิดการติดเชื้อจากความไม่สะอาดของแป้ง ถ้าทาครีมแล้ว ไม่ควรทาแป้งทับ

⇒ Must read :  ระวัง! 4 จุดบอบบางของเบบี๋ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

ในรายที่เชือกผูกสายสะดือหลุด และมีเลือดไหลออกมาทางปลายสะดือ คุณแม่ควรใช้เศษผ้าสะอาด (ห้ามให้เชือก หรือด้ายพลาสติกที่มีความคม) ผูกสายสะดือเหนือบริเวณที่เคยผูกเพื่อให้เลือดหยุด และพามาโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน”

ควรสระผมให้ลูกน้อย วันละ 1 ครั้ง ก่อนสระควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดไขที่บริเวณศีรษะ และด้านหลังใบหูเพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เกิดจากการหมักหมมของไขมันเด็ก หรือที่ โบราณเรียก “แผลชันนะตุ”

3. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การนอน

⇒ Must read : คัมภีร์นอนหลับ สร้างอัจฉริยะให้ลูกน้อย

4. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การร้องของลูกน้อย

การร้องของทารก แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ส่วนมากจะร้องเมื่อ มีความต้องการ เช่น ต้องการนม ต้องการความอบอุ่น ทั้งนี้คุณแม่ลองสังเกตหรือเข้าไปฟังใกล้ๆ ดู เวลาที่ลูกร้องเพราะหิว ง่วง หรือรู้สึกเฉอะแฉะ เสียงต่างกันทั้งนั้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เสียงร้องหลักๆ ของทารกมีอยู่ 4 เสียง คือ

ซึ่งสำหรับ การดูแลทารก ในเรื่อง การร้องของลูกน้อย นั้นคุณพ่อคุณแม่จะจับเสียงเหล่านี้ได้ต้องใช้เวลาและต้องสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยจึงจะเข้าใจความหมายของแต่ละเสียง

แต่หากจู่ ๆ ลูกน้อยเกิดร้องไห้เสียงดัง และมีน้ำเสียงที่แหลมราวกับเสียงกรีดร้อง นั่นแสดงว่า ลูกของคุณพ่อคุณแม่กำลังรู้สึกเจ็บ อาจจะเกิดจากโดนแมลงหรือมดกัด หรือตกหมอนนั่นเองค่ะ สิ่งที่คุณควรทำก็คือ อุ้มลูกขึ้นมากอด พร้อมกับลูบหลังเบา ๆ แล้วดูสิว่า ที่ตัวของลูกนั้นมีรอยแผลอันเกิดจากแมลงกัดหรือไม่ จะได้หายามาทาให้ถูกต้อง

5. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง อุจจาระ

การสังเกตอุจจาระ ปัสสาวะ

⇒ Must read : สีอุจจาระลูก ไม่ว่าจะนมแม่หรือนมผสมต่างกันอย่างไร

6. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การทำความสะอาดผ้าอ้อม

เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและกลิ่นอับ ต่างๆ เมื่อถอดผ้าอ้อมออกจากตัวทารก ให้ปฏิบัติ ดังนี้

  1. ผ้าอ้อมที่เปื้อนอุจจาระ ควรใช้ น้ำธรรมดาลาดผ้าอ้อม เพื่อให้ เศษอุจจาระหลุดออก แล้วแช่ไว้ใน น้ำธรรมดาผสมยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนนำไปซัก
  2. ผ้าอ้อมที่เปื้อนปัสสาวะควรขยำในน้ำธรรมดา 1 ครั้ง แล้วแช่ไว้ ในน้ำธรรมดาที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนนำไปซักจะทำให้ผ้าอ้อม มีกลิ่นสะอาด มั่นใจในความสะอาดหลังซัก

7. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค

การให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค กับทารก สามารทำได้หลังคลอด โดยคุณแม่ควรพาทารกและตัวเองมาตรวจร่างกาย ภายใน 4 สัปดาห์หลังคลอด โดยตัวคุณแม่เองควรจะต้องมาตรวจเพื่อว่าร่างกายกลับคืน สภาพเดิมก่อนมีครรภ์ตรวจมะเร็ง และแนะนำเรื่องการคุมกำเนิด ส่วนลูกน้อยวัย 8 สัปดาห์ ควรพาไปหาหมอเพื่อดูความเจริญเติบโตและ ความผิดปกติพร้อมทั้งให้วัคซีนคุ้มกันโรค (โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ) เมื่อครบ 2 เดือน เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจความเจริญเติบโตหรือความผิดปกติของทารก และวางแผนให้ภูมิคุ้มกันโรคต่อไป

⇒ Must read : ตารางวัคซีน ปี 2561 จากสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย มาแล้วเช็กเลย!

⇒ Must read : สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก มีความสำคัญอย่างไร?

ซึ่งจะต้องมาตรวจ หลายครั้งตามกำหนดที่แพทย์ วางแผนไว้จึงจะได้ผล และมีความจำเป็นมากแก่ทารก (อาจพาลูกน้อยไปที่โรงพยาบาล หรือศูนย์อนามัยใกล้บ้าน) เมื่อถึงกำหนดนัดถ้าลูกป่วยมีไข้น้ำมูกไหล ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้หาย จึงนำมาให้วัคซีนภูมิคุ้มกันได้

8. หาก ทารกแรกเกิด มีอาการผิดปกติ

  1. มีไข้สูงเกิน 38.4 องศาเซลเซียส ระหว่างเดินทางมาพบแพทย์ คุณแม่ควรเช็ดตัวให้ด้วยนํ้าธรรมดา เพื่อป้องกันการชัก ถ้าทารกมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.1 องศาเซลเซียส ควรให้ความอบอุ่น แล้วรีบนำส่งแพทย์
  2. ลูกมีอาเจียนพุ่งมากกว่า 1 ครั้ง คุณแม่ต้องแยกให้ออกระหว่าง การอาเจียนกับการสำรอก การสำรอกจะเกิดเมื่อทารกได้รับ น้ำนมหรือน้ำมากเกินความต้องการ หรือเมื่อเปลี่ยนท่า เร็วๆ หลังให้นมสิ่งที่ขับออกมาจะมีจำนวนน้อย ส่วนการอาเจียน จะเกิดได้ตั้งแต่ลูกเริ่มได้น้ำนมหรือน้ำ สิ่งที่ขับออกมามีจำนวน มากว่าการสำรอก ถ้าลูกอาเจียนให้จับลูกนอนราบแล้วหัน ศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักอาเจียน การอาเจียนมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ร้องกวน
  3. ลูกปฏิเสธการให้นมติดๆ กัน เกินกว่า 2 ครั้ง
  4. ลูกมีอาการง่วงซึมไม่เคลื่อนไหวแม้กระตุ้น
  5. ลูกหน้าเขียวขณะให้นม ควรงดให้นม

การสังเกตพัฒนาการในด้านต่างๆ ของทารกแรกเกิด

ทั้งนี้สำหรับ การดูแลทารกแรกเกิด ทุกรายควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกป่วย หากพบมีความผิดปกติในการได้ยินตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะสามารถใส่เครื่องช่วยฟังได้ทันท่วงที เพื่อพัฒนาการพูดและการได้ยินให้เป็นปกติในอนาคต

การสังเกตการได้ยินทำได้โดยดูว่าลูกมีอาการตกใจหรือมีปฏิกิริยา เช่น กะพริบตา หยุดดูดนม หรือเงียบเวลามีเสียงดังหรือไม่ การสังเกตการมองเห็นทำได้โดยดูว่าลูกจ้องมองหน้าตาของพ่อแม่ขณะที่คุยด้วยหรือไม่ และสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจมีพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 เดือน คือการไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วงที่กำลังตื่นตัวดี หากพบว่าลูกทำไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตาม คัมภีร์การดูแลทารกแรกเกิด ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนหลังคลอด นี้ ถือเป็นช่วงชีวิตที่สำคัญของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาอันมีค่านี้ผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยเปล่าประโยชน์ ควรเรียนรู้และปรับตัวไปพร้อมๆ กันกับลูกน้อย ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่ค่อยมั่นใจในการเลี้ยงดูลูก แต่ด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และความมั่นใจ ที่สำคัญคือสัญชาตญาณของความเป็นพ่อและแม่นั่นเอง ที่จะช่วยคลายกังวล และสามารถเลี้ยงดูเอาใจใส่ลูกน้อยให้อยู่รอดปลอดภัย เติบโตอย่างมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจได้

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : คู่มือการดูแลลูกรัก วัยแรกเกิด จนถึง อายุ 6 ปี (http://203.157.39.7/psd/data/56-06-002%20Karndulaelook%20300.pdf) และ th.yanhee.net