5. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง อุจจาระ
การสังเกตอุจจาระ ปัสสาวะ
- ใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอด อุจจาระจะเป็นสีเทาดำตามปกติ (เรียกว่า ขี้เทา)
- ทารกที่ได้รับนมแม่ อุจจาระจะเหลวและมักจะถ่ายเสมอ หลังให้นม
- ทารกที่ได้รับนมผสม อุจจาระจะแข็งและมีกากมากกว่าทารกที่ได้ รับนมแม่
- ถ้าทารกถ่ายอุจจาระเหลว 6 – 10 ครั้งต่อ 1 วัน ถือว่าผิดปกติ
- ทารกแรกเกิด ปกติควรปัสสาวะ 6 – 10 ครั้งต่อ 1 วัน ถ้าต่ำกว่าควรให้กินนมมากๆ
⇒ Must read : สีอุจจาระลูก ไม่ว่าจะนมแม่หรือนมผสมต่างกันอย่างไร
6. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การทำความสะอาดผ้าอ้อม
เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและกลิ่นอับ ต่างๆ เมื่อถอดผ้าอ้อมออกจากตัวทารก ให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ผ้าอ้อมที่เปื้อนอุจจาระ ควรใช้ น้ำธรรมดาลาดผ้าอ้อม เพื่อให้ เศษอุจจาระหลุดออก แล้วแช่ไว้ใน น้ำธรรมดาผสมยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนนำไปซัก
- ผ้าอ้อมที่เปื้อนปัสสาวะควรขยำในน้ำธรรมดา 1 ครั้ง แล้วแช่ไว้ ในน้ำธรรมดาที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนนำไปซักจะทำให้ผ้าอ้อม มีกลิ่นสะอาด มั่นใจในความสะอาดหลังซัก
7. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค
การให้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรค กับทารก สามารทำได้หลังคลอด โดยคุณแม่ควรพาทารกและตัวเองมาตรวจร่างกาย ภายใน 4 สัปดาห์หลังคลอด โดยตัวคุณแม่เองควรจะต้องมาตรวจเพื่อว่าร่างกายกลับคืน สภาพเดิมก่อนมีครรภ์ตรวจมะเร็ง และแนะนำเรื่องการคุมกำเนิด ส่วนลูกน้อยวัย 8 สัปดาห์ ควรพาไปหาหมอเพื่อดูความเจริญเติบโตและ ความผิดปกติพร้อมทั้งให้วัคซีนคุ้มกันโรค (โรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ) เมื่อครบ 2 เดือน เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจความเจริญเติบโตหรือความผิดปกติของทารก และวางแผนให้ภูมิคุ้มกันโรคต่อไป
⇒ Must read : ตารางวัคซีน ปี 2561 จากสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย มาแล้วเช็กเลย!
⇒ Must read : สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก มีความสำคัญอย่างไร?
ซึ่งจะต้องมาตรวจ หลายครั้งตามกำหนดที่แพทย์ วางแผนไว้จึงจะได้ผล และมีความจำเป็นมากแก่ทารก (อาจพาลูกน้อยไปที่โรงพยาบาล หรือศูนย์อนามัยใกล้บ้าน) เมื่อถึงกำหนดนัดถ้าลูกป่วยมีไข้น้ำมูกไหล ต้องพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาให้หาย จึงนำมาให้วัคซีนภูมิคุ้มกันได้
8. หาก ทารกแรกเกิด มีอาการผิดปกติ
- มีไข้สูงเกิน 38.4 องศาเซลเซียส ระหว่างเดินทางมาพบแพทย์ คุณแม่ควรเช็ดตัวให้ด้วยนํ้าธรรมดา เพื่อป้องกันการชัก ถ้าทารกมีอุณหภูมิต่ำกว่า 36.1 องศาเซลเซียส ควรให้ความอบอุ่น แล้วรีบนำส่งแพทย์
- ลูกมีอาเจียนพุ่งมากกว่า 1 ครั้ง คุณแม่ต้องแยกให้ออกระหว่าง การอาเจียนกับการสำรอก การสำรอกจะเกิดเมื่อทารกได้รับ น้ำนมหรือน้ำมากเกินความต้องการ หรือเมื่อเปลี่ยนท่า เร็วๆ หลังให้นมสิ่งที่ขับออกมาจะมีจำนวนน้อย ส่วนการอาเจียน จะเกิดได้ตั้งแต่ลูกเริ่มได้น้ำนมหรือน้ำ สิ่งที่ขับออกมามีจำนวน มากว่าการสำรอก ถ้าลูกอาเจียนให้จับลูกนอนราบแล้วหัน ศีรษะไปข้างใดข้างหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักอาเจียน การอาเจียนมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ร้องกวน
- ลูกปฏิเสธการให้นมติดๆ กัน เกินกว่า 2 ครั้ง
- ลูกมีอาการง่วงซึมไม่เคลื่อนไหวแม้กระตุ้น
- ลูกหน้าเขียวขณะให้นม ควรงดให้นม
การสังเกตพัฒนาการในด้านต่างๆ ของทารกแรกเกิด
ทั้งนี้สำหรับ การดูแลทารกแรกเกิด ทุกรายควรได้รับการตรวจคัดกรองการได้ยิน โดยเฉพาะทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกป่วย หากพบมีความผิดปกติในการได้ยินตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะสามารถใส่เครื่องช่วยฟังได้ทันท่วงที เพื่อพัฒนาการพูดและการได้ยินให้เป็นปกติในอนาคต
การสังเกตการได้ยินทำได้โดยดูว่าลูกมีอาการตกใจหรือมีปฏิกิริยา เช่น กะพริบตา หยุดดูดนม หรือเงียบเวลามีเสียงดังหรือไม่ การสังเกตการมองเห็นทำได้โดยดูว่าลูกจ้องมองหน้าตาของพ่อแม่ขณะที่คุยด้วยหรือไม่ และสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกอาจมีพัฒนาการทางภาษาที่ล่าช้า ในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 เดือน คือการไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วงที่กำลังตื่นตัวดี หากพบว่าลูกทำไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์
อย่างไรก็ตาม คัมภีร์การดูแลทารกแรกเกิด ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนหลังคลอด นี้ ถือเป็นช่วงชีวิตที่สำคัญของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาอันมีค่านี้ผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยเปล่าประโยชน์ ควรเรียนรู้และปรับตัวไปพร้อมๆ กันกับลูกน้อย ถึงแม้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่ค่อยมั่นใจในการเลี้ยงดูลูก แต่ด้วยความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และความมั่นใจ ที่สำคัญคือสัญชาตญาณของความเป็นพ่อและแม่นั่นเอง ที่จะช่วยคลายกังวล และสามารถเลี้ยงดูเอาใจใส่ลูกน้อยให้อยู่รอดปลอดภัย เติบโตอย่างมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจได้
อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!
- เช็ก พัฒนาการเด็ก ตามวัย! กับคู่มือสำหรับส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด -5 ปี
- ตารางความถี่ในการให้นมลูก คัมภีร์ป้อนนม เพื่อแม่มือใหม่โดยเฉพาะ!
- คัมภีร์ ตารางอาหารตามวัย สำหรับลูกน้อยในวัยขวบปีแรก
- คัมภีร์นอนหลับ สร้างอัจฉริยะให้ลูกน้อย
- พัฒนาการทารก แรกเกิด – 1 ขวบ พร้อมเทคนิคส่งเสริมพัฒนาการ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : คู่มือการดูแลลูกรัก วัยแรกเกิด จนถึง อายุ 6 ปี (http://203.157.39.7/psd/data/56-06-002%20Karndulaelook%20300.pdf) และ th.yanhee.net