AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกเป็นหวัด อาการ แบบนี้ถ้าลูกยังเล็กจะเป็นอันตรายไหม

ลูกเป็นหวัด อาการ หลายอย่างที่พ่อแม่มือใหม่ไม่แน่ใจว่าลูกกำลังเป็นหวัดหรือเปล่า โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นกับลูกเล็กที่ยังไม่สามารถพูดได้ว่าเขารู้สึกอย่างไร มาสังเกต 6 อาการ ถ้าลูกเป็นแบบนี้แสดงว่าโดนโรคหวัดโจมตี มีอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ

 

 โรคหวัดคืออะไร?

โรคหวัด (Common cold) ที่เราจะพูดกันถึงนี้คือโรคหวัดธรรมดาที่ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถเจ็บป่วยได้เหมือนกัน โดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่มักพบว่าป่วยเป็นหวัดได้บ่อยถึงปีละ 6 – 8 ครั้ง เพราะว่าเด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เป็นหวัดง่าย ฉะนั้น โรคหวัด สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะกับหน้าฝน หรือหน้าหนาวเท่านั้น

โรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัสทำให้มีการอักเสบของอวัยวะระบบทางเดินหายใจ ซึ่งไวรัสที่พบว่าก่อโรคหวัด ก็คือ กลุ่มไรโนไวรัส (Rhinoviruses) และ โคโรนาไวรัส(Coronaviruses)

ลูกเป็นหวัด อาการ  แบบนี้ต้องมีแน่ๆ

ในบางครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าเมื่อ ลูกเป็นหวัด อาการ แต่ละอย่างจะเป็นอันตรายร้ายแรงหรือไม่ และต้องดูอย่างไรจึงจะรู้ว่าลูกเป็นแค่หวัดธรรมดา หรือเป็นไข้หวัดที่รุนแรงกว่า มาดู เช็กลิสต์ 6 อาการหวัดของลูกน้อยได้ดังนี้

แต่หากลูกเป็นไข้หวัด มักมีไข้สูง เกิน 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป คุณแม่จำเป็นต้องเช็ดตัวบ่อยๆ และกินยาลดไข้เพื่อไม่ให้อุณหภูมิร่างกายเกินไป ซึ่งเสี่ยงทีจะเกิดภาวะชักได้ รวมถึงมีอาการเหมือนหวัดทั่วไป ทั้ง คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ คอแดง มักเป็นอยู่ราว 5-7 วัน จากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้น

 

สำหรับโรคหวัดที่เกิดขึ้นกับลูกเล็ก ๆ นั้น พ่อแม่สามารถดูแลรักษาอาการหวัดให้ลูกดีขึ้นจนหายจากหวัดได้ แพทย์หญิงปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต จากเพจ Dr.Pam book club(1) ได้ให้ความรู้พ่อแม่ในการดูแลลูกเล็กเมื่อ ลูกป่วยเป็นหวัด ให้ได้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง มีดังนี้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

6 เรื่องที่พ่อแม่อาจไม่รู้ เมื่อ ลูกเป็นหวัด อาการ แบบนี้อันตรายหรือไม่

1. เด็กเล็กหายใจทางจมูกเท่านั้น

ทารกโดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ลิ้นจะมีขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับช่องปาก เพราะฉะนั้น เขาจะหายใจผ่านจมูก มากกว่า 90%  และเหตุนี้แม้เราจะคิดว่าการเป็นหวัด เป็นเพียงการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยในผู้ใหญ่  แต่สำหรับเด็กเล็กนั้นการเป็นหวัด ทำให้ทรมานมากทีเดียว เพราะการที่เยื่อบุจมูกบวมขึ้นเพียงแค่ 1 มิลลิเมตรอาจทำให้การต้านทานอากาศเพิ่มขึ้น หายใจเอาลมเข้าไปยากขึ้น ถึง 16 เท่า

หัวใจสำคัญของการรักษาโรคหวัดในเด็ก ก็คือ nose care  พ่อแม่สามารถช่วยลูกด้วยการหยดน้ำเกลือเพื่อชะล้างน้ำมูกที่อยู่ในโพรงจมูกอันกว้างขวาง และน้ำมูกหลังลำคอที่ทำให้เกิดเสียงครืดคราด

ควรหยดน้ำเกลือในจมูกตอนไหน ? จริง ๆ ทำได้บ่อยเท่าที่ต้องการเพราะไม่ได้มีอันตรายอะไร แต่อย่างน้อย ถ้าแม่ไม่อยากทำ หรือทำยาก ไม่ถนัดคือต้องหยดให้ลูกก่อนนอน

2. ถึงจะมีไข้ แต่ถ้ายังยิ้มได้ กินนมได้ ลูกเป็นหวัด อาการ ไม่น่าห่วง

พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะกังวลกับการมีไข้ของลูก หมอจะบอกว่า “ไข้” เป็นกระบวนการตอบสนองต่อเชื้อโรคตามธรรมชาติของร่างกาย ไม่ว่าติดเชื้อใด ๆ ก็จะมีไข้ ซึ่งแปลได้ว่ามีการทำงานของภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นแล้ว การมีไข้ ทำให้ลูกไม่สบายตัว พ่อแม่สามารถช่วยลูกได้ด้วยการเช็ดตัวเพราะทำให้สบายตัวได้ทันที การเช็ดตัวที่ถูก คือเอาผ้าชุบน้ำ บิดให้หมาดและถูโดยออกแรงเล็กน้อย เพื่อให้เส้นเลือดใต้ผิวหนังขยายตัว จะได้ระบายความร้อนออกไปเช็ดสวนกับรูขุมขน

ส่วนยาลดไข้ให้กินได้ตามความเหมาะสม ถ้าให้ดีแม่มือใหม่ควรซื้อปรอทวัดไข้ไว้ที่บ้าน เพราะการจับหน้าผากด้วยมือไม่แม่นยำ ถ้าไข้สูง (>38.2C) ให้กินยาลดไข้ก็จะช่วยให้ไข้ลดเร็วขึ้นค่ะ แต่ถ้าไข้ต่ำ ๆ แค่เช็ดตัวก็เอาอยู่แล้วค่ะ

 

3. น้ำเกลือหยดจมูกไม่ทำให้สำลัก ไม่เหมือนการล้างจมูก

เมื่อพาลูกไปหาหมอ สิ่งที่คุณหมอมักจะให้กลับมาก็คือยาลดไข้ กับ น้ำเกลือเอาไว้หยดจมูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าน้ำเกลือเอาไว้หยดจมูก ไม่ใช้ล้างจมูกลูกนะคะ เพราะในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ยังไม่สามารถกลั้นหายใจตามจังหวะการพ่นน้ำเกลือเข้าจมูกได้ จึงต้องใช้วิธีหยดเข้าจมูกแทนค่ะ

พ่อแม่มักกลัวว่าลูกจะสำลัก ถ้าเพียงแต่หยดลงไป 2-3 หยดต่อข้าง น้ำเกลือไม่ลงมาถึงกล่องเสียงหรือหลอดลมค่ะ ไม่สำลัก หยดได้ เด็กอาจจะร้องไห้ปกติอยู่แล้ว แต่หลังจากหยดน้ำเกลือ เขาจะรู้เลยว่าหายใจสบายขึ้น ถ้าพ่อแม่ทำบ่อย ๆ ลูกจะเรียนรู้ไปเอง

 

 4. ลูกเล็กเป็นหวัด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาลดน้ำมูก

 

เป็นหวัด หมายถึง การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจที่แสดงอาการเด่นบริเวณจมูกและลำคอ ไวรัส ไม่มียาฆ่าเฉพาะ หายได้ด้วยภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของเด็กเอง

5. ไม่ใช่หมอคนสุดท้ายเก่ง แต่หวัดถึงเวลาหายพอดี

โดยปกติแล้ว หวัดใช้เวลา 7-10 วันกว่าจะหาย อาการจะหนักที่สุดวันที่ 2 เป็นเวลาที่พ่อแม่พาลูกไปหาหมอคนแรก พอได้ยามากิน พ่อแม่คาดหวังว่าลูกจะหายป่วย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เพราะยาที่ให้ แค่ช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น พอไม่ได้อย่างที่ใจคิด บวกความไม่รู้ ก็มักจะพาไปหาหมอคนที่ 2 คนที่ 3

หมอคนสุดท้าย…มักจะเป็นหมอที่เก่งสุดเสมอ เพราะมาในเวลาที่โรคกำลังจะหายอยู่แล้ว

ลูกเป็นหวัด อาการ หนักจะเป็นช่วง 1-3 วันแรก หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นตามลำดับ แต่ถ้ามีอาการที่ไม่ใช่ของหวัด เช่น ไข้สูงลอย เด็กหอบเหนื่อย ไม่เล่น ไม่กิน เช่นนี้คือสัญญาณบ่งบอกว่ามีภาวะแทรกซ้อน แบบนี้ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจอย่างละเอียด

 

6. เด็กมีพลังฟื้นตัวที่เยี่ยมยอด และแม่คือหมอที่ยอดเยี่ยมของลูก

ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า การจะหายจากการติดเชื้อไวรัสได้ต้องขึ้นกับความแข็งแรงของเด็กเองร่วมกับการดูแลใกล้ชิดของพ่อแม่ แต่จะอย่างไร ก็ยังมีเรื่องให้กังวลสารพัด ตอนป่วยกินน้อยมาก กินแต่น้ำ ยังมีเสียงครืดคราด ยังมีอาการไออยู่เลย และอีกมากมาย

ถ้าเด็กป่วยแล้วเขายังเล่นได้ นั่นแสดงว่าเขายังไหวอยู่ ส่วนการเบื่ออาหารของเด็กที่ป่วยถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อถึงเวลาที่เด็กหายดีแล้วเขาจะทานอาหารชดเชยให้กับร่างกายค่ะ

ดังนั้นหากเมื่อเวลาที่ลูกป่วยแล้วพ่อแม่มีความกังวล แนะนำให้ปรึกษากับคุณหมอนะคะ หมอเด็กเกือบทุกคนเป็นที่ปรึกษาที่ดีค่ะ ถึงจะไม่ได้ยา..แต่ได้ความอุ่นใจ  ไม่ต้องกลัวค่ะ ประสบการณ์จะสอนแม่เอง(1)

 

โรคหวัด หากเกิดขึ้นกับลูก ๆ ที่บ้าน พ่อแม่อย่าเพิ่งกังวลใจมากไป เพราะทุกอย่างแก้ไขได้ เพียงแค่ขอให้มีความเข้าใจในอาการป่วยของลูกก่อนในเบื้องต้น จากนั้นก็ให้ดูแลรักษาตามอาการที่คุณหมอแนะนำมาค่ะ ที่สำคัญการที่ลูกจะหายเป็นหวัดได้เร็วพ่อแม่ต้องดูแลในเรื่องอาหาร มีสภาพแวดล้อมที่ดีให้ลูก ที่สำคัญต้องมีความรักการเอาใจใส่ให้กำลังใจลูกด้วย เพราะกำลังใจที่ดีจะช่วยให้ลูกหายจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น  …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ  

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1แพทย์หญิงปุษยบรรพ์ สุวรรณคีรี กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต. 6 ข้อที่หมอเด็กอยากบอกเมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด. จากเว็บเพจ Dr.Pam book club

บทความน่าสนใจเพิ่มเติม

6 โรคที่มากับหน้าฝน ในเด็กที่ต้องระวัง รู้เท่าทันป้องกันลูกป่วย

วิธีดูแล เด็กเป็นไข้ อันตรายที่มากับหน้าฝน

แม่ต้องระวัง! โรคแทรกซ้อนโควิด-19 ในเด็ก ทำลูกป่วยหนัก

แม่เตือนแม่! ระวัง ลูกเป็นหวัด มีน้ำมูก ตาบวม เสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบลงตา