AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

คลิปป้าหมอสอน “ทารก ขาโก่ง” ดูอย่างไร? ต้องดัดขาไหม?

ทารก ขาโก่ง

ทารก ขาโก่ง …สามารถพบได้ในเด็กแรกเกิดทุกคน ซึ่งภาวะนี้ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจไม่น้อยว่า ลูกจะขาโก่งเมื่อโตขึ้น บางคนก็จะได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่ให้ดัดขา ทีมงานมีคำแนะนำจากป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ มาฝากค่ะ

คลิปป้าหมอสอน “ทารก ขาโก่ง” ดูอย่างไร? ต้องดัดขาไหม?

ทำไม “ทารก ขาโก่ง” ?

ภาวะโก่งแบบปกติ พบในเด็กแรกเกิดทุกคนเกิดจากการที่เขาอยู่ในท้องแม่ซึ่งเป็นที่แคบ ๆ จึงต้องงอแขนงอขาให้มากที่สุด ทำให้กล้ามเนื้อบางมัด เส้นเอ็นบางเส้น ตึงมากกว่าอีกด้านหนึ่ง ลักษณะของกระดูกจึงไม่ตรง แต่เมื่อคลอดออกมาแล้ว แขนขาจะเหยียดออกมากขึ้น กระดูกจะดูตรงมากขึ้นเองเมื่ออายุ 2 ขวบ หากบางคนยังอาจดูโค้งเหมือนโก่งนิด ๆ จนโต อาจพบได้ในครอบครัวเดียวกัน เป็นลักษณะกรรมพันธุ์ ไม่ต้องรักษา เนื่องจากไม่ส่งผลทำให้การเดิน การวิ่งผิดปกติ

ลักษณะขาของทารก

ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบที่พบลักษณะขาโก่ง ส่วนใหญ่เป็นภาวะปกติ ไม่ต้องการการรักษา มีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นที่ผิดปกติเนื่องจากเป็นโรคกระดูก เช่น ขาดวิตามินซี วิตามินดี หรือเป็นโรคพันธุกรรมที่พบได้ยาก ซึ่งหากเป็นความผิดปกติจริง เด็กต้องมีอาการผิดปกติของแขนหรือกระดูกส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย หรือเป็นการโก่งที่มีการบิดของปลายเท้าชี้เข้าด้านใน (In Toeing) หรือพบขาโก่งร่วมกับตัวเตี้ยผิดปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ต้องรักษาโดยวิธีผ่าตัดแก้ไขรูปทรง หรือการตัดรองเท้าพิเศษโดยศัลยแพทย์โรคกระดูกเฉพาะทางสำหรับเด็ก

ภาวะขาโก่งในเด็ก มีหลายรูปแบบ ทั้งโก่งออกด้านนอก โก่งเข้าด้านใน โก่งมาด้านหน้า หรือด้านหลัง แต่โดยส่วนใหญ่วัยหัดเดิน หรือมากกว่า 95% จะเป็นขาโก่งออกด้านนอก คือโก่งแบบเดินขาถ่าง ๆ เข่าห่างจากกัน เท้าอาจจะบิดหมุนเข้าด้านใน แต่ถ้าไม่ใช่ขาโก่งแบบออกด้านนอกถือว่าผิดธรรมชาติ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ทารก ขาโก่ง หรือไม่โก่งดูอย่างไร (มีคลิป)

√ ทารก ขาโก่ง หรือไม่โก่งดูอย่างไร

คลิปป้าหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ สอนวิธีดูว่า ทารก ขาโก่ง หรือไม่? จำเป็นต้องดัดขาไหม? เพราะอะไรถึงไม่ควรดัดขา? ได้ที่นี่ค่ะ

ขาโก่งที่เห็น อาจเป็นขาโก่งจริง หรือขาไม่ได้โก่งจริงแต่ท่ายืนไม่ตรง จึงทำให้ดูภายนอกเหมือนขาโก่ง ลองสังเกตดู ดังนี้

1. เมื่อเรายืนปลายเท้าชี้ออกด้านนอก งอเข่าเล็กน้อย จะดูเหมือนขาโก่งโค้งออกด้านนอก

2. ถ้ายืนหันปลายเท้าเข้าด้านใน งอเข่าเล็กน้อยจะเหมือนขาโก่งเข้าด้านใน

3. เพราะเด็กช่วงวัย 1-2 ปี เป็นช่วงหัดเดิน การทรงตัวยังไม่มั่นคง เด็กจะเดินขาถ่างบ้าง เข่างอเล็กน้อย และกางแขนเป็นบางครั้งเพื่อช่วยในการทรงตัว ซึ่งเป็นท่าเดินมาตรฐานในเด็กวัยนี้

4. เวลาดูว่ากระดูกขาโก่งหรือไม่แบบง่ายๆ ต้องเหยียดเข่าให้ตรงสุด หันลูกสะบ้าตรงมาด้านหน้า นำข้อเท้ามาชิดกัน โดยช่องว่างระหว่างขอบด้านในของเข่าไม่ควรห่างเกิน 2 นิ้วของคุณพ่อคุณแม่

5. สังเกตลูกในวัยเดิน ให้คุณแม่สังเกตการเดินของลูกดูนะคะว่าเค้าเดินได้สะดวกดีไหม กระเผลก หรือว่ามีอาการเท้าปุกร่วมด้วยหรือเปล่า ถ้าคุณแม่สังเกตพบความผิดปกติดังที่กล่าวมาให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียด

6. หรืออย่างช้าควรตรงก่อนอายุ 3 ปี หรือถ้านำข้อเท้ามาชิดกันแล้ว แต่เข่าลูกซ้อนกันหรือเกยกัน ก็ควรพาลูกมาตรวจกับแพทย์ด้วยเช่นกัน

ซ้าย – ทารก ขาปกติ, ขวา – ทารก ขาโก่ง

(รูปภาพจาก www.childrenshospital.org)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ขาโก่งแบบธรรมชาติหายเองได้หรือไม่ แล้วจะหายเมื่อไหร่

ภาวะขาโก่งในเด็ก

ขาโก่งแบบธรรมชาติหายเองได้ เป็นอย่างไร แล้วจะหายเมื่อไหร่

 

กลไกการเจริญเติบโตตามธรรมชาติของกระดูกขาคนเรา แนวกระดูกขาจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับสมดุลตามช่วงเวลา เพื่อให้ขามาอยู่ในแนวที่รับน้ำหนักตัวได้ดีที่สุด โดยขาคนเราประกอบด้วยสามส่วน คือส่วนต้นขาเหนือเข่า ส่วนขาใต้เข่า และเท้า ถ้ามองด้วยสายตาจะเห็นส่วนต้นขาอยู่ในแนวเส้นเดียวกันกับกระดูกใต้เข่า แต่ในความเป็นจริงกระดูกต้นขากับกระดูกส่วนใต้เข่าไม่ได้อยู่ในเส้นแนวเดียวกัน แต่จะทำมุมกันประมาณ 6-7 องศา

การเจริญเติบโตของแนวขาเกิดขึ้นทั้งแนวด้านข้าง ด้านหน้า-หลัง และแนวหมุน คือเปลี่ยนแปลงทั้งสามมิติ ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงแนวขาด้านข้าง ซึ่งทำให้ขาดูโก่งออกด้านนอกหรือโก่งเข้าด้านใน

ลักษณะของขาในเด็กเล็กจนถึงวัยเด็กโต

(รูป A B C D แสดงภาวะปกติของกระดูกขาเด็กตามช่วงวัย)

A คือขาปรกติสำหรับทารก
B คือขาปรกติสำหรับ 1 ขวบครึ่ง
C คือขาปรกติสำหรับ 3 ขวบครึ่ง
D คือขาปรกติสำหรับ 7 ขวบ

รูปด้านบนนี้ เป็นหลักที่ใช้ดูการเจริญเติบโตของแนวขาเทียบกับอายุที่ดี ถ้าสังเกตว่าลูกของเราแนวขาไม่เป็นไปตามนี้ ควรพาลูกมาตรวจกับแพทย์ คือถ้าเป็นแบบโก่งออกด้านนอกแบบธรรมชาติ ความโก่งจะค่อย ๆ ตรงเมื่ออายุ 2 ปี อย่างช้าไม่เกิน 3 ปี แต่ถ้าเป็นแบบขาโก่งเป็นโรค แนวขาจะโก่งออกมากยิ่งขึ้น นอกจากเด็กจะเดินไม่เป็นปกติแล้ว คือตัวจะโยกเยกไปตามขาข้างที่เดิน ข้อเข่าจะเสียเร็ว เนื่องจากการกระจายน้ำหนักของข้อไม่ดีเหมือนคนปกติ ข้อเข่าจะปวดตั้งแต่อายุน้อย อักเสบ เดินไม่ได้ไกลเนื่องจากความเจ็บปวด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

♠ ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับภาวะ “ขาโก่ง”

Must readห่อตัวลูกไม่ถูกวิธี ทำ “ข้อสะโพกผิดปกติ” ได้

การอุ้มลูกโดยการช้อนใต้วงแขนลูกทั้งสองข้างแล้วยกขึ้นมาเป็นการอุ้มที่ถูกต้องแล้วค่ะ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ท่าที่อันตรายคือการจับส่วนอื่น ๆ ของแขน เพราะอาจทำให้ข้อศอกหรือข้อไหล่เคลื่อนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการจับเพียงแขนเดียว

สำหรับวิธีการทดสอบดูว่า ทารก ขาโก่ง หรือไม่ อย่างไรนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรพาลูกปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่าตัดสินใจด้วยตัวเอง หรือฟังจากเพื่อนคุณแม่คนอื่นนะคะ เพราะสรีระร่างกายของแต่ละคนต่างกัน

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด