พัฒนาการเด็ก 4 ลูกโตมากขึ้นแค่ไหนแล้ว ทั้งร่างกายและสมองมีอะไรที่ ลูก 4 เดือน พัฒนาไปบ้าง และพ่อแม่ต้อง กระตุ้น พัฒนาการทารก 4 เดือน อย่างไรให้สมวัย มาดูกันเลย
พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย
ลูกมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง?
ทารกเข้าเดือนที่ 4 วัยนี้ลูกก็ใกล้พ้นคำว่าวัยแบเบาะเข้าไปทุกที เพราะลูกน้อยเริ่มจะไม่ยอมอยู่นิ่งๆ อีกต่อไป และลูกจะสนุกกับการพลิกคว่ำ เป็นหนึ่งในการฝึกฝนกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงด้วยตัวเองตามพัฒนาการ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนั่งได้เดือนต่อไป นอกจากนี้คุณแม่จะสังเกตเห็นได้ว่าตามหมอนที่ลูกนอนจะมีเส้นผมบางๆของลูกเริ่มร่วงหล่นอยู่ (ถ้าไม่ได้โกนผมไฟเสียก่อน) เพราะ พัฒนาการเด็ก 4 เดือน ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผลัดผมใหม่ สี และลักษณะของเส้นผมที่ขึ้นใหม่นี้ จะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเด็กแล้ว
นอกจากนี้ในส่วนของกล้ามเนื้อคอจะค่อยๆแข็งแรงมากขึ้น ตั้งตรงและหันไปรอบๆได้ คุณแม่อุ้มลูกน้อยได้สบายมากขึ้น เมื่อจับนอนคว่ำ ยกศีรษะได้เกือบตั้งฉาก แถมยังยกขายกมือได้ ถ้าให้นอนหงายลูกจะชอบใช้มือจับขา ใช้นิ้วมือในการจับสิ่งของได้มากขึ้น แต่ยังไม่คล่องนัก เริ่มใช้นิ้วโป้ง นิ้วชี้ ชอบจับ สิ่งของเข้าปาก อีกทั้งยังชอบเล่นน้ำลาย ส่งเสียงอ้อแอ้ อยากพูดอยากทักทาย หรือโต้ตอบ
Must read : ลูกผมร่วง เพราะ ผ้าอ้อมกัดหัว ผ้าอ้อมกัดผม จริงหรือ?
ทั้งนี้ในช่วง 4 เดือนขึ้นไป ลูกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มเป็นสองเท่าของตอนแรกคลอด ซึ่งน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกว่าลูกโตขึ้น แต่ให้คุณแม่ช่วยคอยสังเกตด้วยว่าลูกดูสมบูรณ์ดีหรือไม่ มีไขมันที่ต้นขา ท้อง แขนท่อนบน และบนใบหน้าแบบที่เด็กๆ ควรจะมีหรือเปล่า
โดยเด็กผู้ชายจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5.3-7 กก. ส่วนสูง 58-64 ซม. ส่วนเด็กผู้หญิง จะมีน้ำหนักประมาณ 4.9-6.7 และมีส่วนสูงอยู่ที่ 56.8-64.5 ทั้งนี้ถ้าลูกดูผอมเกินไป แขนขาเล็ก ตัวเล็ก ควรพาลูกไปตรวจที่โรงพยาบาลหรือศูนย์สุขภาพเด็ก เพราะในช่วงขวบปีแรกนั้นเด็กควรจะโตเร็วมาก ไม่ใช่เฉพาะร่างกายเท่านั้น แต่หมายถึงสมองด้วย
Must read : โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก
พัฒนาการทารก 4 เดือน เรื่องการกินนม และการนอน
เวลานอนของลูกวัย 4 เดือน จะสั้นลงในช่วงกลางวัน และจะนอนได้นานขึ้น+ตื่นน้อยลงในช่วงกลางคืน แต่ก็ยังต้องให้ลูกนอนกลางวันอยู่ดี เพราะจะมีผลต่อการนอนในช่วงกลางคืน โดยคุณแม่อาจใช้วิธีกล่อมนอนแบบเดียวกัน ไม่ว่าตอนกลางวันหรือกลางคืน
ส่วนเรื่องการให้นม ลูกจะยังดูดนมเก่งขึ้น ซึ่งนมก็ยังเป็นอาหารสิ่งเดียวที่จำเป็นกับลูกวัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมผสมก็จะให้สารอาหารที่จำเป็นแก่เด็กวัยนี้ได้อย่างครบถ้วน จึงไม่จำเป็นที่จะให้ลูกวัย 4 เดือน เริ่มอาหารเสริมเหมือนกับที่โบราณเคยเลี้ยง ควรจะเริ่มตอนอายุ 6 เดือนจะดีที่สุด
Must read : อาหารเสริมทารก เริ่มอย่างไร ให้ลูกกินเก่งแถมกินง่าย!
Must read : ป้อนกล้วยทารก ก่อนวัยเริ่มอาหารเสริมอันตรายถึงชีวิต!
อ่านต่อ >> “7 เรื่องสุดว้าว! ลูก 4 เดือนสามารถทำแบบนี้ได้แล้ว”
คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
พัฒนาการเด็ก 4 เดือน “7 เรื่องสุดว้าว” ลูกสามารถทำแบบนี้ได้แล้ว!
1. ลูกเริ่มมองเห็นได้ชัดเจนแล้ว
พัฒนาการทารก 4 เดือน ลูกน้อยสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนเทียบเท่ากับผู้ใหญ่แล้ว โดยจะเริ่มแยกแยะแม่สีได้บ้างแล้ว และมักให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่รอบตัวมากขึ้น โดยเฉพาะพวกของเล่นหลากสี (สามารถแยกแยกสีแดงและสีส้มได้) หรืออะไรที่ดูแปลกใหม่ สะดุดตา ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรหาของเล่นมาให้ลูกได้ฝึกมองบ่อยๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมกล้ามเนื้อตาและประสาทการมองเห็นของลูกไปด้วย
Must read : 10 กิจกรรมเล่นกับลูกเสริม พัฒนาการทารก 4 เดือน
2. ลูกสามารถหันตามเสียงเรียกชื่อได้แล้ว
ลูกน้อยจะเริ่มจดจำชื่อของตัวเองได้ ดังนั้นเมื่อคุณแม่เรียกชื่อ เขาก็จะหันตามเสียงเรียกชื่อในทันที โดยสามารถหันศีรษะไปรอบๆ ได้ และเมื่ออยู่ในท่าคว่ำ ก็ยกศีรษะขึ้นมาได้ 90 องศาเลยทีเดียว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพูดคุยและเรียกชื่อลูกบ่อยๆ เพื่อเสริมพัฒนาการด้านนี้ของเขาให้ดียิ่งขึ้น
3. ลูกสามารถเชื่อมโยงระหว่างภาพกับเสียงได้แล้ว
พัฒนาการเด็ก 4 เดือน วัยนี้จะรู้จักเชื่อมโยงประสาทสัมผัสอย่างหนึ่งกับอีกอย่าง เช่น เสียงที่ได้ยินกับภาพเคลื่อนไหวที่เห็น แต่การแยกแยะสิ่งกระตุ้นประสาทสัมผัสที่จู่โจมเข้ามาพร้อมๆ กันก็เป็นเรื่องยากสำหรับเขา
ดังนั้นในงานเลี้ยงรวมญาติที่มีทั้งเสียงพูดคุยของคนมากหน้าหลายตา เสียงเพลงดังลั่นและเด็กโตที่ชวนกันวิ่งเล่นจึงทำให้ลูกน้อยงอแงได้ง่ายๆ ขณะที่การจับกระเด้งขึ้นๆ ลงๆ บนเข่าพร้อมกับร้องเพลงกล่อมเด็กให้ฟังก็ทำให้เจ้าตัวเล็กหายงอแงได้ไม่ยากเช่นกัน ทารกวัย 4 เดือนกว่าๆ นี้ จึงค่อนข้างชอบการเคลื่อนไหวขึ้นๆ ลงๆ ที่สัมพันธ์กับเสียงเพลงที่ไม่ดังเกินไป
4. ลูกสามารถส่งเสียงอ้อแอ้ได้นาน 10-20 นาที
จากที่ก่อนหน้านี้ลูกน้อยพอจะส่งเสียงอ้อแอ้ได้บ้างนิดหน่อย เมื่ออายุครบ 4 เดือน ลูกจะสามารถส่งเสียงอ้อแอ้ร้องเรียกพ่อแม่ได้นานขึ้น โดยมักจะนอนเล่นน้ำลาย พร้อมกับส่งเสียงอ้อแอ้ได้นานถึง 10-20 นาทีเลยทีเดียว และหากมีเรื่องถูกใจก็จะส่งเสียงหัวเราะคิดคักดังลั่นอีกด้วย
5. ลูกสามารถนั่งพิงได้10-15 นาที
ลูกวัยนี้ ลูกจะสามารถนั่งหลังพิงได้บ้างแล้ว โดยจะนั่งได้ประมาณ 10-15 นาที แต่พ่อแม่ต้องเป็นคนจับเขานั่ง เพราะลูกยังไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้การที่พ่อแม่จับลูกนั่งพิงบ่อยๆ ก็จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกสันหลังของลูก และเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ ให้ลูกลุกนั่งเองได้เร็วขึ้นอีกด้วย
6. ลูกสามารถเลียนแบบสีหน้าของพ่อแม่ได้
วัยนี้ลูกสามารถเลียนแบบสีหน้า ท่าทางของพ่อแม่ได้แล้ว ถ้าใครอยากให้ลูกทำสีหน้าแบบไหน ก็ลองทำสีหน้าแบบนั้นกับลูกบ่อยๆ ดู รับรองว่าไม่นานลูกน้อยจะเลียนแบบสีหน้าของคุณได้แบบเป๊ะๆ เลยทีเดียว
7. ลูกจะชอบมองตัวเองในกระจก
ลูกน้อยจะชอบมองตัวเองในกระจก และอาจยิ้มหรือหัวเราะให้กับกระจกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้ เนื่องจากเขากำลังให้ความสนใจกับสิ่งรอบข้างและสิ่งแปลกใหม่ที่ได้พบเห็นนั่นเอง
Must read : กระจก … ช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกน้อยได้!
จากพัฒนาการสุดว้าว ทั้ง 7 ข้อที่ลูกสามารถทำได้ สิ่งสำคัญที่พ่อแม่สามารถมีส่วนช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการดังกล่าวคือ มีเวลาเล่นกับลูก โดยทุกครั้งที่พูดคุยกับลูก ให้คุณแม่ออกท่าทางหน้าตาเกินจริง เป็นการตอบสนองความสนใจของลุกน้อยได้ดี อีกทั้งลูกวัยนี้ยังชอบเสียงร้องเพลงของคุณแม่อยู่เสมอ รวมไปถึงหาของเล่นที่หลากหลาย แต่เน้นความปลอดภัยให้ลูกได้เรียนรู้เสียง สัมผัส ผ่านของเล่น และการเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ด้วยทุกครั้ง
เพราะ พัฒนาการทารก 4 เดือน มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ลูกจะเริ่มมีบุคลิกเฉพาะ มีความเป็นตัวของตัวเองให้เห็นได้ชัดเจนขึ้น รวมไปถึงมีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่รวดเร็วจนคุณแม่อดที่จะรู้สึกภูมิใจกับตัวเองไม่ได้ ที่ 3 เดือนที่ผ่านมาอดตาหลับขับตานอน ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูลูกน้อย มาถึงตอนนี้ลูกไม่ใช่ “เบบี๋” ที่เอาแต่นอนแบเบาะอีกต่อไป เมื่อลูกเคลื่อนไหวได้มากขึ้น พลิกคว่ำพลิกหงาย คว้าจับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ใกล้ได้มาก สิ่งที่สำคัญคือคุณแม่ต้องคอยดูแลเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่คาดคิดด้วยนะคะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :
- พัฒนาการช้า เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องสังเกตลูก
- พัฒนาการทารก 1 เดือน ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง!
- พัฒนาการเด็ก 2 เดือน ลูกโตแค่ไหน ต้องส่งเสริมพัฒนาการยังไง?
- พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ต้องกระตุ้นอย่างไร? ให้ลูกแข็งแรงสมวัย
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.sanook.com , www.konthong.com , beyc.co.th , www.huggies.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่