AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

30 ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ ที่พ่อแม่สังเกตได้

ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ

ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางปัญญาสูงกว่าเด็กทั่วไป และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีสมรรถนะในการคิด ประดิษฐ์ สรรค์สร้างสิ่งใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์

 

ซึ่งหากพ่อแม่สงสัยว่าลูกเป็นเด็กอัจฉริยะหรือไม่ สามารถสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของลูกน้อยได้ก็ต่อเมื่อลูกโตแล้ว หรือก่อนเข้าเรียน ยกเว้นแต่ว่าลูกแสดงออกถึงแววอัจฉริยะ ให้คุณพ่อคุณแม่เห็นตั้งแต่เล็กๆ เช่น สามารถบอกโน๊ตเปียโนได้ทันที ที่คุณคีย์เล่นเปียโนให้เขาฟังแล้ว ส่วนใหญ่จะยากที่จะบอกได้ว่า เด็กเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์พิเศษ หรือเป็นอัจฉริยะหรือไม่ ก่อนอายุ 2 ขวบ

และพบว่ามีถึง 3-5 % ของคนที่มีพรสวรรค์พิเศษอาจไม่ได้แสดงออกถึงความสามารถพิเศษของเขาจนกว่าจะเริ่มเป็นผู้ใหญ่ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ด้วยความตื่นเต้นที่เป็นพ่อแม่ ก็มีหลายคนอยากรู้ว่า ลูกจะเป็นเด็กอัจฉริยะ หรือเป็นผู้ที่มีพรสวรรค์พิเศษหรือไม่ หรือแม้แต่เก่งกว่าเด็กคนอื่นๆ ก็ยังดี ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้รวบรวมพฤติกรรมและลักษณะของเด็กที่มีแววฉลาดและอาจเป็นอัจฉริยะได้ มาให้คุณพ่อคุณแม่คอยสังเกตจับตาดู พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้ลูกเป็นอัจฉริยะได้อย่างสมใจ มาฝากค่ะ

รวม 30 ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ ที่พ่อแม่สังเกตได้

เด็กอัจฉริยะ หรือ เด็กปัญญาเลิศ คืออะไร? 

เด็กอัจฉริยะ หรือ เด็กปัญญาเลิศ (Gifted child) คือ เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงมาก (I.Q. อาจสูงถึง 130-140) เด็กกลุ่มนี้ก็จะดู คล้ายเด็กสมาธิสั้น เนื่องจากความที่เขาฉลาดมาก จึงมักมีความอยากรู้อยากเห็น มีพลังงานในตัวเองมาก นอกจากนี้เขาจะมีสมาธิดีมากใน เรื่องซึ่งตนเองสนใจ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่อยู่ในความสนใจ ก็อาจไม่สนใจเลย จึงดูคล้ายเด็กสมาธิสั้นได้ แต่เรื่องไหนที่สนใจ เขาก็จะพยายามค้นคว้าจนมีความรู้เกินวัย

♥ บทความแนะนำคุณแม่แวะอ่าน : เด็กสมาธิสั้นก็ใกล้ “อัจฉริยะ” ได้นะ

ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกำหนดเกณฑ์ของเด็กปัญญาเลิศ คือระดับสติปัญญาหรือไอคิว เกิน 130 หรือบางคนระดับความสามารถในการเรียน สูงกว่า 2 ชั้นปี เช่น เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ความสามารถในการเรียนเทียบเท่ากับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ซึ่งเด็กปัญญาเลิศจะเฉลียวฉลาดกว่าเด็กวัยเดียวกัน ต้องการการปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู และการสอน เพื่อศักยภาพสูงสุดของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ และคุณครูที่ดูแลเด็กปัญญาเลิศมักบอกตรงกันอย่างหนึ่งว่า ”เหนื่อย” นาทีแรกเด็กปัญญาเลิศอาจพูดจาเกินวัย แบบผู้ใหญ่ แต่อีกนาทีต่อไปอาจหงุดหงิด อาละวาดเพราะไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็นเด็กอัจฉริยะ

จากการศึกษาวิจัยในรัฐ มินิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี ค.ศ. 1994 -1995 โดยศึกษาเด็กปัญญาเลิศ หรือเด็กอัจฉริยะ 241 คน อายุตั้งแต่ 2-12 ปีระดับสติปัญญาตั้งแต่ 160-237  พบว่า

ที่นี้ลองมาดูกันค่ะว่าลูกของคุณพ่อคุณแม่ที่บ้าน มีลักษณะเข้าข่ายเด็กปัญญาเลิศ หรือเด็กอัจฉริยะหรือไม่ โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

อ่านต่อ >> 30 ลักษณะของเด็กอัจฉริยะ ที่พ่อแม่สังเกตได้” คลิกหน้า 2

อ่านต่อบทคความอื่นน่าสนใจ คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลักษณะของ เด็กอัจฉริยะ มีดังต่อไปนี้

1. เป็นนักคิดเรื่องของเหตุผล

2. มักเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

3. สามารถจดจำคำศัพท์ ต่างๆ ได้จำนวนมาก

4. มีความจำเป็นเยี่ยม

5. ถ้าสนใจอะไรแล้วจะมีสมาธิสนใจ จดจ่อได้เป็นเวลานาน

6. เป็นคนอ่อนไหว จึงรู้สึกเจ็บปวด ผิดหวังได้ง่าย

7. คาดหวังว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์ ซึ่งในวัยอนุบาล เด็กปัญญาเลิศบางคนอาจจะค่อนข้างเจ้ากี้เจ้าการ พยายามจัดการงานหรือเพื่อนๆ ตามที่ตัวเองต้องการ และจะผิดหวังง่ายเมื่อคนอื่นไม่เห็นด้วย หรือไม่ร่วมมือ เมื่อโตขึ้นเข้าวัยประถม เด็กปัญญาเลิศมักจะมีมาตรฐานสูง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดีพร้อม ประกอบกับชอบสั่งผู้อื่น ชอบทำตัวเป็นเจ้านาย พยายามบริหารจัดการเพื่อน ครู ไปจนถึงพ่อแม่

8. ตึงเครียดง่าย การที่เด็กปัญญาเลิศมักจะเครียดง่าย อ่อนไหวง่าย อาจทำให้ถูกผู้ใหญ่มองว่าดื้อ ต่อต้านคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกดุว่าหรือลงโทษ หรือถูกมองว่าชอบทำอะไรแตกต่างจากคนอื่น

9. มีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดีสูง

10. มีความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าเด็กทั่วไป

11. มีวุฒิภาวะดีกว่าเด็กอื่นๆ ในวัยเดียวกัน

12. หมกมุ่นเฉพาะเรื่องที่ตนเองสนใจ

13. มีพลังมากในการทำสิ่งต่างๆ อาจถูกวินิจฉัยผิดเป็นโรคสมาธิสั้น เนื่องจากเด็กปัญญาเลิศมักมีลักษณะอ่อนไหว ตึงเครียดง่าย หุนหันพลันแล่น อดทนรออะไรไม่ได้ ค่อนข้างซน อยู่ไม่นิ่ง จึงอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น

14. ชอบคบเพื่อนที่อายุมากกว่าหรือผู้ใหญ่

15. บางทีอาจมีท่าทีท้าทายโต้แย้งผู้ใหญ่

16. มีความสนใจในเรื่องต่างๆ มากมาย

17. มีอารมณ์ขัน แต่มักเป็นอารมณ์ขันที่เพื่อนไม่เข้าใจ

18. เป็นนักอ่านตัวยง ถ้าอายุยังน้อย เช่นวัยก่อนอนุบาล อ่านหนังสือเองไม่ได้ ก็ชอบที่จะให้พ่อแม่อ่านให้ฟัง เด็กส่วนใหญ่ถ้ายังไม่ได้เข้าโรงเรียนมักอ่านหนังสือไม่ได้ โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ก็มักจะ ยังไม่ได้สอนการอ่าน แต่เด็กปัญญาเลิศบางคนอ่านหนังสือได้เร็วกว่าปกติ และอ่านได้ตั้งแต่วัยอนุบาล

19. ผดุงความยุติธรรม ชอบความถูกต้อง เป็นธรรม

20. มีความเมตตา กรุณาและเห็นอกเห็นใจคนอื่นและสัตว์เลี้ยง

21. การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดีเกินวัย

22. เป็นนักสังเกตการณ์ชั้นยอด

23. ชอบทำการทดลองเพื่อหาคำตอบในการแก้ปัญหา

24. มีจินตนาการกว้างไกล

25. มีความคิดสร้างสรรค์

26. ชอบซักถาม

27. มีอัจฉริยภาพด้านการคำนวณ

28. มีความสามารถสูงในการต่อจิ๊กซอว์

29. เด็กปัญญาเลิศมักมีความมั่นใจในความสามารถเกี่ยวกับเรื่องการเรียนของตนเองสูง นอกจากนี้แล้ว ยังต้องการหลักสูตรการศึกษาซึ่งท้าทายมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป

30. เด็กปัญญาเลิศบางคนอาจมีพรสวรรค์เป็นพิเศษในด้านดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม หรือการคิดแบบวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ถ้าลูกของคุณพ่อคุณแม่ มีลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้อยู่หลายข้อ ก็ควรปรึกษากับคุณครูและกุมารแพทย์ เพื่อจะได้ช่วยกันดูว่าจะช่วยให้ลูกได้พัฒนาความสามารถพิเศษของเขาได้อย่างเต็มที่ได้อย่างไรบ้างนั่นเอง

อ่านต่อ >> 40 วิธีง่ายๆ เลี้ยงลูก ให้เป็นเด็กฉลาด เผยความเป็นอัจฉริยะ” คลิกหน้า 3

อ่านต่อบทคความอื่นน่าสนใจ คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 


√ 40 วิธีเลี้ยงลูกแบบนี้… ลูกฉลาดแน่

ซึ่งหลังจากลักษณะของเด็กอัจฉริยะที่กล่าวมานั้น หากลูกของเรายังไม่มีแวว คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถสอนและเลี้ยงดูลูกไปเองจนลูกเผยความอัจฉริยะขึ้นมาได้ ซึ่งหากอยากให้ลูกฉลาด คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

1. ตอบคำถามลูกด้วยความอดทน และจริงใจ 2. เอาใจใส่คำถามของลูก
3. มีกระดานสำหรับแสดงผลงานของลูก 4. ยอมรับความรกรุงรังของบริเวณที่ลูกกำลังทำงานสร้างสรรค์
5. จัดห้องส่วนตัวให้ลูก 6. แสดงความรักลูกในฐานะลูกมิใช่จากผลงานของลูก
7. ให้ลูกมีความรับผิดชอบตามวัย 8. ช่วยลูกให้รู้จักวางแผนและตัดสินใจเอง
9. พาลูกไปชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ 10. สอนลูกให้รู้จักทำหน้าที่ให้ดีขึ้น
11. ให้ลูกคบกับเด็กทุกชนชั้น 12. กำหนดมาตรฐานพฤติกรรมของลูกอย่างมีเหตุผล
13. ไม่เปรียบเทียบลูกกับลูกคนอื่น 14. ไม่ลงโทษลูกด้วยการวางเฉยเมย
15. มีของเล่นและหนังสือให้ลูก 16. ส่งเสริมให้ลูกคิดด้วยตัวเอง
17. อ่านหนังสือให้ลูกฟัง 18. ฝึกนิสัยรักการอ่านให้ลูก
19. สนับสนุนพร้อมส่งเสริมให้ลูกสร้างเรื่องและคิดฝันตามแบบของเขา 20. พิจารณาความต้องการของลูกอย่างรอบคอบ
21. มีเวลาให้กับลูก 22. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการวางแผนไปเที่ยวด้วย
23. ไม่เยาะเย้ยลูกเมื่อทำผิด 24. ส่งเสริมให้ลูกจดจำเรื่องราวคำประพันธ์และเพลงต่าง ๆ
25. ให้ลูกได้เข้าสังคมกับคนทุกวัย 26. สอนให้ลูกทดลองปฏิบัติด้วยตัวเอง เพื่อช่วยลูกให้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ
27. ให้ลูกเล่นวัสดุเหลือใช้ที่เขาสนใจ 28. ให้ลูกได้พบปัญหา และแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
29. ชมลูกเมื่อทำกิจกรรมที่ดี 30. ไม่ชมลูกอย่างพร่ำเพรื่อ ทั้ง ๆ ที่ใจจริงไม่อยากชม
31. มีความจริงใจทางด้านอารมณ์กับลูก 32. คุยกับลูกได้ทุกเรื่อง
33. ให้โอกาสลูกได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง 34. ส่งเสริมลูกให้เป็นตัวของตัวเอง
35. ช่วยลูกหารายการโทรทัศน์ที่มีประโยชน์ 36. ส่งเสริมให้ลูกคิดในแง่ดีเกี่ยวกับความสามารถของตัวเอง
37.ไม่บอกปัดความล้มเหลวของลูกโดยพูดว่า “พ่อแม่เองก็ทำไม่ได้” 38.ไม่ให้ลูกพึ่งผู้ใหญ่เท่าที่จะทำได้
39.เชื่อว่าลูกมีความรู้สึกดีและไว้วางใจ 40. ยอมให้ลูกทำผิดพลาด ดีกว่าพ่อแม่เข้าไปช่วยทำแทน

 

อย่างไรก็ดี จากวิธีปฏิบัติ 40 ข้อนี้ นักวิจัยได้สรุปว่าพ่อแม่พร้อมที่จะเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กฉลาดนั้น ควรจะมีข้อปฏิบัติอยู่ในระหว่าง 25-35 ข้อ ฉะนั้นเราลองมาตรวจสอบตัวเราเองจากข้อปฏิบัติเหล่านี้ดูว่า เราได้ปฏิบัติกับลูกของเราเป็นประจำได้กี่ข้อ และข้อใดบ้างที่ยังปฏิบัติน้อยหรือยังไม่ได้ปฏิบัติ เราจะได้ฝึกหัดหัวข้อเหล่านั้นให้มากขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมลูกให้ฉลาดได้ตามที่ความต้องการและไม่กดดันลูกจนเกินไป

ระวังลูกฉลาดมากก็มีปัญหาได้!

ทั้งนี้หากลูกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศแล้ว คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรภูมิใจว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศ หรือสบายใจว่าลูกฉลาดมาก ไม่ต้องช่วยเหลืออะไรแล้วนะครับ เพราะเด็กปัญญาเลิศอาจจะมีปัญหาหลายอย่างตามมาเช่นปัญหาทางอารมณ์ และสังคม ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะลักษณะเฉพาะของเด็กปัญญาเลิศก็คือ ความเป็นตัวของตัวเอง ไม่พึ่งพาอาศัยใคร จึงมักที่จะชอบทำงานคนเดียว เชื่อมั่นในตนเองสูง มีความสนใจ และความสามารถเฉพาะเรื่องที่ตนเองสนใจ มีความสามารถหลายอย่าง มักจะปฏิเสธคำแนะนำของพ่อแม่ และเพื่อน เข้ากันไม่ได้กับผู้ใหญ่อาจสร้างความยุ่งเหยิง วุ่นวาย เรียกร้องความสนใจ พ่อแม่ และครูมักไม่เข้าใจ และอาจมีปัญหาการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น

คุณพ่อคุณแม่จะช่วยเหลือลูกได้อย่างไรบ้าง?

คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักดีใจ และภูมิใจเมื่อรู้ว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศ เฉลียวฉลาดมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป แต่อาจมีความรู้สึกตื่นเต้น หวาดกลัวปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นร่วมกันไปด้วย อาจพยายามสอบถามผู้รู้ หาหนังสือมาอ่าน เด็กปัญญาเลิศอาจมีมุมมองที่ เห็นสิ่งปกติแตกต่างไปจากคนอื่น ถึงแม้จะได้เปรียบในการรับรู้ที่ดีกว่าคนอื่นแต่ก็จะข้อเสีย คือ ความรู้สึกแปลกแยกจากผู้อื่น เมื่อรู้ว่าลูกเป็นเด็กปัญญาเลิศแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพูดคุยกับลูก อธิบาย และบอกความจริงว่าลูกต่างจากผู้อื่น เหมือนคนเราสีผม สีผิว แตกต่างกัน ไม่ควรยกย่องหรือชื่นชมความเป็นอัจฉริยะของลูกนะครับ จะทำให้ยิ่งมีปัญหาต่อไปเมื่อลูกโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามที่จะเรียนรู้ ยอมรับและเข้าใจในอัจฉริยภาพของลูก

และท้ายที่สุดแล้วการที่ลูกเป็นเด็กเก่ง ฉลาด หรือเด็กอัจฉริยะนั้น เด็กก็ต้องได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขด้วย คือสุขทั้ง กายและใจก็ถือว่าเป็นสิ่งประเสริฐที่พ่อแม่พึงกระทำ เพราะแม้เด็กจะเก่งเป็นอัจฉริยะเพียงใดแต่อยู่ในสังคมไม่ได้ก็ไร้ซึ่งความสำเร็จเช่นกัน

อ่านต่อบทคความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : 1พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์ www.clinicdek.com
www.pantown.com , oknation.nationtv.tv