AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ต้องกระตุ้นอย่างไร? ให้ลูกแข็งแรงสมวัย

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ลูกมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง? ต้องกระตุ้นพัฒนาการยังไง เพื่อให้แข็งแรงสมวัย

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ลูกจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือสามารถทำอะไรได้บ้าง และมีสิ่งใดต้องระวังไหม คุณพ่อคุณแม่จะต้องส่งเสริมหรือกระตุ้น พัฒนาการทารก 3 เดือน อย่างไร ตามไปดูกันเล้ย

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ลูกมีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง?

เผลอแป๊บเดียว… ลูกอายุ 3 เดือน แล้ว เพราะ พัฒนาการทารก 3 เดือน แรกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องคอยสังเกต และเข้าใจพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยให้ดี …เพราะทารกช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี ถือเป็นก้าวแรกสำคัญของการเจริญเติบโตของเด็ก ซึ่ง เด็ก 3 เดือน จะเริ่มจดจำเสียงพ่อแม่ได้แล้ว และจะเริ่มเรียนรู้สิ่งรอบตัวได้มากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ถึงเรื่องพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกวัยนี้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางด้านสายตา การฟังเสียง อารมณ์ และจิตใจ …ดังนั้นตามมา เช็คพัฒนาการเด็ก 3 เดือน จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง และจะต้องส่งเสริม พัฒนาเด็ก 3 เดือน อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย

สำหรับลูกน้อยวัย 3  เดือน จะเริ่มบังคับกล้ามเนื้อคอได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ลูกจะให้ความสนใจกับมือตนเองเป็นพิเศษ เช่น จ้องมือตัวเองบ่อยๆ เอามือเข้าปาก กุมมือตัวเอง เหมือนกับมือเป็นของเล่นชนิดใหม่ที่มีการเคลื่อนไหว มีความแปลกใหม่ ในส่วนของกล้ามเนื้อตาจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยทำให้ทารกรู้จักมองตามวัตถุ ฉะนั้นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและมองชัดเจนที่สุดก็คือมือตัวเอง และ พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ช่วงนี้ลูกจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของมือและเท้าได้ ซึ่งจะเริ่มเอื้อมคว้าสิ่งต่างๆใกล้มือแม้จะยังจับไม่ได้ หากคุณพ่อคุณแม่จับลูกยืนเขาจะทำท่าเหมือนกระโดดจั๊มขาคู่

Must read : กิจกรรมเล่นกับลูก เสริม พัฒนาการทารก 3 เดือน

ทั้งนี้ พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ลูกอาจจะเริ่มตัวสูงขึ้นและผอมบางลง ซึ่งนั่นไม่ใช่ว่าลูกได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่ที่ไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะเป็นช่วงที่กระดูกและกล้ามเนื้อของลูกกำลังเติบโตและแขนขาของลูกตอนนี้คลายออกได้มากขึ้น โดยในส่วนของเด็กชาย มีน้ำหนัก 4.8-6.4 กก. ส่วนสูง 55-62 ซม. ส่วนเด็กผู้หญิง จะมีน้ำหนักประมาณ 4.4-6 และมีส่วนสูงอยู่ที่ 54-62

อย่างไรก็ตาม น้ำหนักของเด็กชายและเด็กผู้หญิงอาจมีค่าเฉลี่ยต่างไปจากข้างต้นเล็กน้อย เนื่องจากเด็กชายนั้นจะมีแนวโน้มน้ำหนักมากกว่าผู้หญิงไปจนถึงอายุ 5 ปี ก่อนที่อัตราการเพิ่มของน้ำหนักเด็กจะเริ่มปรับเปลี่ยนอีกครั้ง

Must read : โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก

การกินของเด็กวัย 3 เดือน

ทารก 3 เดือน จะเริ่มดูดนมแม่เก่งมากขึ้น และอาจดูเหมือนหิวบ่อยเพราะเข้าสู่ช่วงโตเร็วอีกครั้ง ซึ่งนมแม่ยังคงเป็นอาหารหลักที่ให้สารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับลูก ทั้งนี้คุณแม่ควรปั๊มหรือให้ลูกดูดนมให้หมดเป็นเต้าไป เพราะลูกจะได้ทั้งหัวน้ำนมใสๆ และน้ำนมท้ายเต้า นั่นก็เพื่อช่วยลดอาการท้องอืดและแหวะนม

การนอนทารก 3 เดือน

เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือนแรก จะนอนเพียง 15 ชั่วโมงต่อวัน โดยคุณแม่สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ คือ ลูกจะเริ่มนอนกลางวันสั้นลง เพียง 1-2  รอบ ๆ ละ 1-2 ชั่วโมง และนอนกลางคืนจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 5-4 ชั่วโมง หรือนอนยาวตลอดถึงเช้า

ทั้งนี้คุณแม่ยังสามารถเริ่มฝึกให้ลูกน้อยช่วงวัย 3 เดือนนี้ให้รับรู้ถึงช่วงเวลากลางวันและกลางคืนได้แล้ว โดยการสร้างความเข้าใจให้ลูกรู้ว่า ช่วงเวลาใดเป็นเวลานอน ช่วงเวลาใดเป็นเวลาที่ต้องทำกิจกรรม การฝึกฝนเช่นนี้จะลดความเหนื่อยล้าให้กับคุณแม่ลงได้นั่นเองค่ะ

Must read : พ่อแชร์เทคนิคดี๊..ดี ฝึกลูกนอนเอง นอนยาว แบบ “Cry it out”

 

อ่านต่อ >> “พัฒนาการทักษะ 5 ด้านของลูกวัย 3 เดือน
และวิธีส่งเสริมพัฒนาการให้เป็นไปตามวัย” คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการสื่อสาร

ลูกน้อยวัย 3 เดือน จะเริ่มชอบเล่นกับพ่อแม่มากที่สุด เพราะเริ่มจำหน้าคุณแม่ได้ และเริ่มแสดงอารมณ์ต่างๆ ออกมาอย่างชัดเจนกว่าเดือนก่อน ไม่ว่าจะเป็น ดีใจ โกรธ หงุดหงิด อยากรู้ หรือสงสัย และการช่างคุยด้วยภาษาอ้อแอ้ พร้อมเริ่มเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นเป็นด้วย

Must read : 4 สัญญาณบอกว่า ลูกจำหน้าแม่ได้ แล้ว

 

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการเคลื่อนไหว : ลูกสามารถยกแขนทั้ง 2 ข้าง ขึ้นมาเล่นโดยเหยียดแขนออกห่างจากลำตัว

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกให้อยู่ในท่านอนหงาย โดยให้พ่อแม่นั่งข้างลูก
  2. แล้วยื่นหน้าเข้าไปพูดคุยกับลูก หรือยื่นของเล่นมีเสียง เช่น กรุ๋งกริ๋ง ในระยะที่ลูกจะเอื้อมมือไปถึง หรือ แขวนโมบายให้เล่นในระยะที่ลูกเอื้อมมือถึง

Must read : ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

 

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา : ลูกสามารถมองตามสิ่งของที่เคลื่อนที่ได้ เป็นมุม 180 องศา

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ มีตัวช่วยคือลูกบอลผ้าสักหลาดสีแดง

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงายโดยศีรษะอยู่ในแนวกึ่งกลางลำตัว
  2. ให้พ่อแม่ถือของเล่น ห่างจากหน้าลูกประมาณ 30 ซม. (1 ไม้บรรทัด)
  3. จากนั้นเขย่าหรือแกว่งของเล่นเพื่อกระตุ้นลูกให้สนใจจ้องมอง แล้วเคลื่อนของเล่น อย่างช้าๆ เป็นแนวโค้งไปทางด้านซ้าย
  4. ทำซ้ำโดยเปลี่ยนเป็นเคลื่อนของเล่นจากทางด้านซ้ายไปด้านขวา
  5. ถ้าลูกยังไม่มองตาม ให้พ่อแม่ช่วยประคองหน้าเพื่อให้หันหน้ามามองตาม

 

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการเข้าใจภาษา : ลูกสามารถหันตามเสียงได้

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย หรืออุ้มนั่งบนตัก โดยหันหน้าออกจากพ่อแม่
  2. จากนั้นเขย่าของเล่นกรุ๋งกริ๋งที่มีเสียงดังด้านข้างลูก ให้ห่างประมาณ 30 – 45 ซม.(1 ไม้บรรทัดครึ่ง)
  3. รอให้ลูกหันมาทางของเล่นที่มีเสียง โดยให้พ่อแม่พูดคุยและยิ้มให้ลูกไปด้วย
  4. ถ้าลูกไม่หันมามองของเล่น ให้ประคองหน้าลูกเพื่อให้หันตามเสียง
  5. จากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มระยะห่างจนถึง 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)

หมายเหตุ : ขณะฝึกอย่าให้มีเสียงอื่นรบกวน

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการใช้ภาษา : สามารถเปล่งเสียง เพื่อแสดงความรู้สึก

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. จัดลูกอยู่ในท่านอนหงาย โดยพ่อแม่นั่งข้างลูก และยื่นหน้าเข้าไปหาลูกในระยะห่างประมาณ 60 ซม. (2 ไม้บรรทัด)
  2. จากนั้นก็พูดคุย เล่น หัวเราะกับลูก หรือ สัมผัสจุดต่าง ๆ ของร่างกายลูก เช่น ใช้นิ้วมือ สัมผัสเบา ๆ ที่ฝ่าเท้า ท้อง เอว หรือใช้จมูก สัมผัสหน้าผาก แก้ม จมูก ปากและท้อง โดยการสัมผัสแต่ละครั้ง ควรมีจังหวะหนัก เบา แตกต่างกันไป

 

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม : ลูกจะยิ้มทักคนที่คุ้นเคย

วิธีส่งเสริมพัฒนาการ

  1. ให้คุณพ่อคุณแม่ยิ้มและพูดคุยกับลูกทุกครั้ง เมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ให้นม อาบน้ำ หรือแต่งตัว
  2. อุ้มลูกไปหาคนที่คุ้นเคย เช่น พ่อ ปู่ ย่า ตา ยาย โดยให้เขายิ้มทักคนที่คุ้นเคยให้ลูกดู
  3. พูดกระตุ้นให้ลูกทำตาม เช่น “ยิ้มให้คุณแม่ซิลูก” “ยิ้มให้……….ซิลูก”

จะเห็นได้ว่า พัฒนาการเด็ก เดือน ลูกทารกจะโตเร็วมากกว่าที่คิด การกระตุ้นพัฒนาการจึงควรเริ่มตั้งแต่เมื่อลูกตื่นนอน ซึ่งแทนที่คุณแม่จะปล่อยให้ลูกนอนเล่นอยู่ตามลำพัง ควรอุ้มขึ้นมา  พูดคุยทักทาย จากนั้นประคองเขาไว้ด้วยแขนทั้งสองข้าง แล้วทำท่าไกวเปล แล้วบอกว่าไกวๆ เปล ลูกจะรู้สึกสนุก รวมไปถึงการใช้มือลูบเบาๆ ที่ใบหน้า หน้าอก แขน และท้องของลูก ลูกจะเพลิน สบายใจสบายอารมณ์จากสัมผัสแห่งความรักของแม่ เขาจะรู้สึกถึงความรักนั้น ที่สำคัญ ลูกจะรู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่คือของเล่นชิ้นแรกและเป็นของเล่นที่มีชีวิตที่ลูกชอบมากที่สุดอีกด้วย

 

อ่านต่อบทความอื่นๆ น่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : หนังสือคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปี thaichilddevelopment.comwww.dumex.co.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids