AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น “โรคดื้อ” หรือโรค ODD

โรคดื้อ

เด็กที่อยู่ในวัยที่จัดการอารมณ์ตนเองไม่ได้ มักจะดื้อ เถียง ไม่เชื่อฟังเป็นบางครั้ง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความเหนื่อย หิว เครียด หรืออารมณ์เสีย แต่ โรคดื้อ เกิดจากความผิดปกติทางจิต ซึ่งต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น “โรคดื้อ” หรือโรค ODD

โรคดื้อ คืออะไร?

โรคดื้อและต่อต้าน หรือ Oppositional Defiant Disorder (ODD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตที่พบได้ในเด็ก ซึ่งคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) จัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้ให้นิยามว่า “เป็นรูปแบบพฤติกรรมต่อเนื่องของการไม่เชื่อฟังที่แสดงออกด้วยอารมณ์โกรธเป็นหลัก รวมไปถึงการทำตนเป็นปรปักษ์และดื้อด้านต่อผู้ใหญ่เป็นประจำในระดับที่มากเกินกว่าเด็กปกติทั่วไป เด็กที่มีความผิดปกติดังกล่าวดูภายนอกแล้วจะเป็นเด็กที่ดื้อมากและโกรธง่าย” การที่เด็กมีพฤติกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำจนถึงขั้นที่รุนแรงกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกันแล้ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ครอบครัว และการเรียนได้

โรคนี้ พ่อแม่ไม่ควรต้องรับมือกับลูกที่มีอาการผิดปกติดังกล่าวด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ นักบำบัด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก

ดูอย่างไรว่าลูกเป็น โรคดื้อ และต่อต้าน

การแยกแยะความแตกต่างระหว่างเด็กที่มีความต้องการที่แน่ชัด เจ้าอารมณ์ และเด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านนั้นอาจเป็นเรื่องยาก และการมีพฤติกรรมดื้อของเด็กนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กในช่วงอายุหนึ่ง โรคดื้อและต่อต้ามมักจะเกิดขึ้นกับเด็กอายุ 8 ปี หรือมากกว่านั้น โดยอาการจะค่อย ๆ แสดงออกมารุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจนำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัวได้ มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าลูกเป็นโรคดื้อและต่อต้านหรือไม่ ดังนี้เป็นประจำ

เด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านมักจะมีพฤติกรรมที่ฉุนเฉียวง่าย ไม่มั่นใจในตนเอง

สาเหตุของโรคดื้อ และต่อต้าน

สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยทางร่างกาย พันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อม โดย อาจเกิดจากความผิดปกติของปริมาณสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทบางชนิด หากสารเคมีเหล่านี้อยู่ในปริมาณที่ไม่สมดุลหรือไม่ทำงานตามปกติ การสื่อสารต่าง ๆ อาจไม่สามารถเข้าถึงสมองได้อย่างถูกต้องก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิต เช่น โรคสมาธิสั้น ความผิดปกติในการเรียนรู้ โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางพฤติกรรมอื่นๆ ตามมา ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านมักจะมีประวัติที่สมาชิกในครอบครัว ป่วยด้วยโรคทางจิต ไม่ว่าจะเป็น โรคความผิดปกติทางอารมณ์ โรควิตกกังวล และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคดื้อและต่อต้านอาจสามารถส่งผ่านทางพันธุกรรมได้

นอกจากนี้ โรคดื้อและต่อต้านมีความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอีกด้วย หรือปัจจัยอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น การใช้สารเสพติด การตั้งกฎระเบียบที่ไม่สม่ำเสมอของพ่อแม่ เป็นต้น

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ สาเหตุและวิธีการรับมือเมื่อลูกเป็น โรคดื้อ และต่อต้าน

วิธีรับมือกับ โรคดื้อ และต่อต้าน

ความไม่เข้าใจและการลงโทษที่รุนแรง อาจทำให้สุขภาพจิตของลูกแย่ลงได้ จนอาจทำให้ลูกมีทักษะการเข้าสังคมที่ไม่ดี รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรงได้ ดังนั้น เด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้าน ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หากพบว่าลูกเป็นโรคนี้อยู่ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อร่วมกันรักษาและรับมือกับโรคนี้ได้อย่างถูกต้อง และวิธีการรับมือเบื้องต้น มีดังนี้

ทำความเข้าใจและรับมือในเชิงบวก

เด็กที่เป็นโรคดื้อมักมีปัญหาอยู่ภายในใจ อาจจะเกิดจากการที่ได้รับคำสั่งหรือการลงโทษที่มากกว่าเด็กคนอื่น ๆ  ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่ดีกับผู้ใหญ่ การทำความเข้าใจและตอบรับลูกในเชิงบวก จะช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และลดปัญหาพฤติกรรมได้ คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาที่จะทำกิจกรรมร่วมกันในทุก ๆ วัน แม้ลูกจะไม่ให้ความร่วมมือเลยก็ตาม แต่ในระยะยาวการได้รับความสนใจในแง่บวกนี้จะช่วยลดปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กลงได้

ตั้งกฎให้ชัดเจน

เด็กที่เป็นโรคดื้อชอบที่จะต่อสู้กับกฎและความยุติธรรมต่าง ๆ เด็กจะพยายามหาช่องโหว่และพยายามหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ทุกครั้ง การตั้งกฎที่ชัดเจนในบ้านจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการลดการโต้เถียง ควรเขียนกฎด้วยคำง่าย ๆ เป็นประโยคสั้น ๆ แต่มีหลายข้อ และครอบคลุมทุกพฤติกรรมที่ลูกมีปัญหา เช่น กฎที่เกี่ยวข้องกับการทำการบ้าน การช่วยงานบ้าน เวลาเล่น เวลาดูโทรทัศน์ เวลานอนและความเคารพต่าง ๆ รวมถึงปัญหาพฤติกรรมที่ต้องการจะแก้ไข

วางแผนการแก้ไขพฤติกรรม

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูก ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุกพฤติกรรมได้ในคราวเดียว ดังนั้น จึงควรมีการวางแผนการแก้ไขพฤติกรรมให้เหมาะสม ควรพูดคุยให้ลูกเข้าใจถึงผลดีที่จะได้รับหากพยายามแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้น ๆ  การให้รางวัล เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในเด็กที่เป็นโรคนี้

หากรับมือโรคดื้ออย่างถูกวิธี ลูกก็จะรู้สึกว่ามีคนเข้าใจ และไม่รู้สึกแปลกแยกจากสังคม

หนักแน่นกับบทลงโทษ

หากลูกทำผิดกฏหรือแสดงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาอีก ทั้ง ๆ ที่มีการพูดคุยกันแล้ว จำเป็นต้องมีการลงโทษตามที่ตกลงกันไว้ ไม่ควรอนุโลมหรือเปลี่ยนแปลงการลงโทษให้เบาลง เพราะจะทำให้เด็กไม่หลาบจำ ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่อนุโลม 1 ครั้ง ลูกก็จะยกขึ้นมาอ้างทุกครั้ง และจะมีคำถามว่าทำไมคราวนี้จึงยอมไม่ได้ในเมื่อเคยยอมมาแล้ว

หลีกเลี่ยงการโต้เถียง

การยึดถือว่าผู้ใหญ่จะต้องมีอำนาจมากกว่าเด็ก และเด็กจะต้องรับฟังเท่านั้น นั้นใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่เป็นโรคนี้ เพราะการโต้เถียงเอาแพ้เอาชนะ การเหน็บแนม ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น การพูดคุยด้วยเหตุผลและทำตามกฏเกณฑ์ พร้อมทั้งลงโทษหากไม่ทำตามกฏนั้น เป็นวิธีที่จะช่วยลดการโต้เถียงได้ดีที่สุด

ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

ความเข้าใจอย่างชัดเจนถูกต้องและการปฏิบัติตัวของพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยในการรักษาลูกจากโรคดื้อ ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยเรื่องเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่บ้านได้ นอกจากนี้จิตแพทย์จะสามารถวินิจฉัยและรักษาอาการป่วยที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปอีกด้วย เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแล้วอาจทำให้อาการดื้อและอารมณ์รุนแรงทวีความรุนแรงขึ้น

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

นักจิตวิทยาระดับโลกแนะ 3 วิธีรับมือ “ลูกดื้อ”

“ลูกซน” คือ “เด็กฉลาด” จริงหรือ?

10 แบบอย่างที่ดี ที่พ่อแม่ควรทำให้ลูกเห็น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : taamkru.comwww.honestdocs.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids