ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น "โรคดื้อ" หรือโรค ODD - Amarin Baby & Kids
โรคดื้อ

ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น “โรคดื้อ” หรือโรค ODD

Alternative Textaccount_circle
event
โรคดื้อ
โรคดื้อ

เด็กที่อยู่ในวัยที่จัดการอารมณ์ตนเองไม่ได้ มักจะดื้อ เถียง ไม่เชื่อฟังเป็นบางครั้ง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความเหนื่อย หิว เครียด หรืออารมณ์เสีย แต่ โรคดื้อ เกิดจากความผิดปกติทางจิต ซึ่งต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น “โรคดื้อ” หรือโรค ODD

โรคดื้อ คืออะไร?

โรคดื้อและต่อต้าน หรือ Oppositional Defiant Disorder (ODD) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตที่พบได้ในเด็ก ซึ่งคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) จัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกาได้ให้นิยามว่า “เป็นรูปแบบพฤติกรรมต่อเนื่องของการไม่เชื่อฟังที่แสดงออกด้วยอารมณ์โกรธเป็นหลัก รวมไปถึงการทำตนเป็นปรปักษ์และดื้อด้านต่อผู้ใหญ่เป็นประจำในระดับที่มากเกินกว่าเด็กปกติทั่วไป เด็กที่มีความผิดปกติดังกล่าวดูภายนอกแล้วจะเป็นเด็กที่ดื้อมากและโกรธง่าย” การที่เด็กมีพฤติกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำจนถึงขั้นที่รุนแรงกว่าเด็กทั่วไปในวัยเดียวกันแล้ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสังคม ครอบครัว และการเรียนได้

โรคนี้ พ่อแม่ไม่ควรต้องรับมือกับลูกที่มีอาการผิดปกติดังกล่าวด้วยตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ นักบำบัด และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก

ดูอย่างไรว่าลูกเป็น โรคดื้อ และต่อต้าน

การแยกแยะความแตกต่างระหว่างเด็กที่มีความต้องการที่แน่ชัด เจ้าอารมณ์ และเด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านนั้นอาจเป็นเรื่องยาก และการมีพฤติกรรมดื้อของเด็กนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กในช่วงอายุหนึ่ง โรคดื้อและต่อต้ามมักจะเกิดขึ้นกับเด็กอายุ 8 ปี หรือมากกว่านั้น โดยอาการจะค่อย ๆ แสดงออกมารุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจนำไปสู่ปัญหาภายในครอบครัวได้ มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าลูกเป็นโรคดื้อและต่อต้านหรือไม่ ดังนี้เป็นประจำ

  • มีอารมณ์ฉุนเฉียวตลอดเวลา
  • เถียงหรือชวนผู้ใหญ่ทะเลาะ
  • ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งและกฎเกณฑ์
  • ตั้งใจทำให้คนอื่นรำคาญ
  • โทษคนอื่นเมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือเป็นต้นเหตุของพฤติกรรมไม่ดีของตน
  • หงุดหงิดและอารมณ์เสียง่าย
  • โกรธเคือง เจ้าคิดเจ้าแค้น
  • มีปัญหาในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีปัญหาในการเรียน
  • ไม่มั่นใจในตนเอง
  • มองโลกในแง่ร้าย
  • ไม่เชื่อฟัง ทำตัวเป็นปรปักษ์กับผู้ใหญ่
โรคดื้อและต่อต้าน
เด็กที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านมักจะมีพฤติกรรมที่ฉุนเฉียวง่าย ไม่มั่นใจในตนเอง

สาเหตุของโรคดื้อ และต่อต้าน

สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยทางร่างกาย พันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อม โดย อาจเกิดจากความผิดปกติของปริมาณสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทบางชนิด หากสารเคมีเหล่านี้อยู่ในปริมาณที่ไม่สมดุลหรือไม่ทำงานตามปกติ การสื่อสารต่าง ๆ อาจไม่สามารถเข้าถึงสมองได้อย่างถูกต้องก่อให้เกิดอาการป่วยทางจิต เช่น โรคสมาธิสั้น ความผิดปกติในการเรียนรู้ โรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวลซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางพฤติกรรมอื่นๆ ตามมา ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านมักจะมีประวัติที่สมาชิกในครอบครัว ป่วยด้วยโรคทางจิต ไม่ว่าจะเป็น โรคความผิดปกติทางอารมณ์ โรควิตกกังวล และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคดื้อและต่อต้านอาจสามารถส่งผ่านทางพันธุกรรมได้

นอกจากนี้ โรคดื้อและต่อต้านมีความสัมพันธ์กับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอีกด้วย หรือปัจจัยอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น การใช้สารเสพติด การตั้งกฎระเบียบที่ไม่สม่ำเสมอของพ่อแม่ เป็นต้น

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ สาเหตุและวิธีการรับมือเมื่อลูกเป็น โรคดื้อ และต่อต้าน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up