AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อุทาหรณ์! ปล่อยลูกเล่นเกม 6 ชม. ติด ป่วยโรค ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม โรคที่มักจะเป็นกันในวัยทำงาน เนื่องจากต้องนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ ซึ่งจะเกิดอาการปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดต้นคอ และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้ ล่าสุดโรคนี้เกิดขึ้นในเด็กป.6 เท่านั้น

อุทาหรณ์! ปล่อยลูกเล่นเกม 6 ชม. ติด ป่วยโรค ออฟฟิศซินโดรม

จากที่คุณแม่ “Bumm Montira” ได้โพสต์ลงบนเฟสบุ๊คเล่าถึงอาการว่าลูกปวดหัวจนอาเจียน ปวดหัวหนักเหมือนมีไข้  ต้องประคบร้อนตรงต้นคอ นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยคุณแม่ได้กล่าวถึงรายละเอียด ดังนี้

อย่าให้ลูกเล่นโทรศัพท์เยอะนะค่ะ เด็กไม่สมควรจะมาเป็นโรค ออฟฟิศซินโดรม ที่จริงมันจะเกิดกับผู้ใหญ่ที่ทำงานหน้าคอมนานๆแต่ตอนนี้มันมาเกิดกับเด็กแค่ ป.6 แล้ว อย่าให้ลูกจับโทรศัพท์เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน รักลูกต้องดูแลเค้าดีๆนะค่ะ ฮาดี้ปวดหัวจนอาเจียนปวดหัวหนักเหมือนมีไข้ คนเคยเป็นไมเกรนจะเข้าใจ ต้องประคบร้อนตรงต้นคอ
นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โรคนี้น่ากลัวกว่าที่พวกเราคิด เดียวนี้เด็กเป็นกันเยอะมาก หนึ่งในนั่นลูกของฉัน นางกลัวโทรศัพท์ไปเลยจร้า555 ประสบการณ์สอนให้นางได้เรียนรู้ ไม่เจ็บไม่ปวดไม่จำ รักลูกอย่าให้เล่นโทรศัพท์เป็นดีที่สุด

คุณ Bumm Montira ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ลูกเป็นออฟฟิศซินโดรม

โดยคุณแม่ได้เปิดเผยเพิ่มเติมกับรายการทุบโต๊ะข่าว ที่ช่อง AmarinTV ว่า ในวันที่ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา ลูกชายซึ่งมีอายุ 12 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่นเกมมือถือและเกมคอมพิวเตอร์อย่างหนัก จนกระทั่งวันต่อมาลูกชายมีอาการปวดหัว เมื่อยตามตัว และมีไข้ คุณแม่จึงให้กินยาพารา จนอาการไข้ลดหายไป แต่อาการปวดเมื่อยคงอยู่ จนกระทั่งเมื่อวันพุธที่ 22 ส.ค. 61 ลูกบ่นว่า ปวดหัวอย่างหนักจนอาเจียน จนบอกให้พาไปหาหมอ เมื่อถึงโรงพยาบาล หมอแจ้งว่าลูกป่วยเป็น ออฟฟิศซินโดรม ตอนนั้นก็ตกใจว่าอาการนี้เป็นในเด็กได้ด้วยหรือ ซึ่งแพทย์ก็ระบุว่า เด็กสามารถเป็นได้ หลังใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ซึ่งคุณแม่ยอมรับว่า ได้ปล่อยให้คอมพิวเตอร์เลี้ยงลูก เพราะต้องทำงานเป็นแม่ค้า โดยภายหลังลูกเข้ารับการรักษา ตอนนี้ลูกอาการเป็นปกติแล้ว ซึ่งแพทย์แนะนำให้เล่นโทรศัพท์ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งลูกตนก็เข็ดและไม่เล่นเกมเลย โดยส่วนตัวก็สงสารลูก พร้อมฝากบอกครอบครัวอื่นให้หากิจกรรมให้กับลูก โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ซึ่งดีกว่าให้สื่อออนไลน์เลี้ยงลูกแน่นอน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

ดูคลิปรายการทุบโต๊ะข่าว และ อ่านต่อ ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

คลิปจากรายการทุบโต๊ะข่าว

ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ด้วยความที่ชีวิตประจำวันที่จะต้องนั่งหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ โดยไม่มีการลุกหรือขยับไปไหน ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

หากปล่อยไว้ โดยไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง จะกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นอยู่เฉยๆ ก็ปวดขึ้นมาเองได้ และจะมีอาการเจ็บ ตึง ชา และนิ้วล็อค ตามอวัยวะต่าง ๆ เป็นเพราะเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็นอักเสบทับเส้นประสาท หรือเส้นประสาทตึงตัว หากปล่อยให้เกิดอาการเหน็บชาและแขนขาอ่อนแรงบ่อย ๆ (เพราะนั่งนานเกินไป จนการไหลเวียนเลือดผิดปกติ)

อาการของออฟฟิศซินโดรม ที่ถูกปล่อยไว้จนเรื้อรัง และไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็จะก่อให้เกิดโรคร้ายแรง ดังต่อไปนี้

Tips: อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะในวัยทำงานเท่านั้น โดยเฉพาะเด็กวัยที่ชอบนั่งเล่นเกม ดูการ์ตูนจากแท็ปเลตเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งในขณะนี้มีเด็กป่วยจากโรคออฟฟิศซินโดรมเพิ่มมากขึ้น

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ สาเหตุและการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุหลักจากอาการออฟฟิศซินโดรมมาจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ

ทำอย่างไรไม่ให้เป็นโรค ออฟฟิศซินโดรม?

  1. ในช่วงที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์หรือแท็ปเล็ตเป็นเวลานาน ควรหาเวลาพักเพื่อผ่อนคลายร่างกายบ้าง เช่น ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เดินไปสูดอากาศด้านนอก เดินไปเข้าห้องน้ำ ไม่ควรนั่งอยู่กับที่ติดกันนานเกินไป
  2. การออกกำลังกาย เพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อ เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ป้องกันเอ็นและข้อยึดแล้ว แถมยังช่วยผ่อนคลายความเครียด และยังช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย
  3. ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น เปลี่ยนโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ ทำความสะอาดออฟฟิศหรือบ้านให้โล่งและอากาศถ่ายเทอยู่เสมอ
  4. ในกรณีที่มีอาการรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาการรักษาโดยใช้ยา เช่น ยาบรรเทาอาการกล้ามเนื้อและเอ็นอักเสบ ยาคลายเครียด หรือทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ จัดสรรเวลาให้สมดุลกัน

สำหรับแม่ ๆ ที่กังวลว่าหากให้ลูกเล่นเกม แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ จะทำให้ลูกเป็นโรคนี้ จึงไม่อนุญาตให้แตะเลย ก็คงจะเป็นไปไม่ได้สำหรับเด็กที่รู้จักสิ่งเหล่านี้แล้ว เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้ก่อให้เกิดโทษเพียงอย่างเดียว หากเราใช้มันอย่างพอดี ไม่มากจนเกินไป แบ่งเวลาไปทำอย่างอื่นบ้าง เช่น ชวนลูกอ่านหนังสือ หากิจกรรมทำนอกบ้านด้วยกัน อุปกรณ์เหล่านี้แหละค่ะ ที่จะก่อประโยชน์ได้อย่างมาก

อ่านบทความดี ๆ ได้ที่นี่

กิจกรรมที่เหมาะกับเด็ก 4-12 ปี สนุกได้ประโยชน์ พัฒนาการดี

อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีประโยชน์ สำหรับเด็กวัย 4-12 ปี

แพทย์เตือน! ให้ลูกเล่นมือถือ เสี่ยงพัฒนาการแย่ลงในทุกด้าน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟสบุ๊คคุณแม่ Bumm Montira, AmarinTV, www.honestdocs.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids