เมื่อลูกน้อยที่น่ารักของคุณพ่อ คุณแม่ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จากลูกที่เรียบร้อย กลายเป็น ลูกชอบล้อเลียน ใช้น้ำเสียงห้วนๆ คุยกับผู้ใหญ่ และไม่มีหางเสียง พฤติกรรมเหล่านี้ คุณพ่อ คุณแม่ อาจจะรู้สึกปวดหัวอยู่ไม่น้อย และไม่แน่ใจว่าจะรับมือ แก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร
ทำความเข้าใจเมื่อ ลูกชอบล้อเลียน
1.ทำไมเด็กถึงชอบล้อเลียน
เด็กหลายคนที่มีนิสัยชอบล้อเลียน เคยถูกล้อเลียนมาก่อน หลายคนล้อเลียนเพราะใช้เป็นบันไดเข้าสู่สังคม หลายคนล้อเลียนเพราะถูกเพื่อนกดดัน หลายคนล้อเลียนเพราะรู้สึกโดดเดี่ยว และหลายคนล้อเลียนเพราะไม่มั่นใจในตัวเอง ซึ่งการล้อเลียนนั้น ทำให้เด็กหลายคนรู้สึกมีอำนาจ และรู้สึกว่าสถานะของตัวเองดีขึ้น ช่วยยกระดับชั้นในสังคมที่โรงเรียน
2.การล้อเลียนเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย
เด็กบางกลุ่ม ตกเป็นเหยื่อในการถูกล้อเลียน ซึ่งการล้อเลียนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ การล้อเลียนจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งเรื่องที่ถูกล้อเลียนกันมีอยู่มากมาย เช่น รูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ การกระทำ การพูด การแต่งตัว เป็นต้น
3.ประเภทของการล้อเลียน
การล้อเลียนสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ได้แก่ การล้อเลียนทางกาย การล้อเลียนทางวาจา การล้อเลียนทางออนไลน์ การล้อเลียนทางเพศ การล้อเลียนทางความสัมพันธ์ และการล้อเลียนที่เป็นอันตราย
4.การล้อเลียนในเด็กชาย และเด็กหญิงแตกต่างกัน
เด็กผู้หญิงมักจะล้อเลียนคนที่นิสัยไม่ดี โดยใช้การล้อเลียนทางความสัมพันธ์ และทางออนไลน์ ส่วนเด็กผู้ชาย จะใช้การล้อเลียนทางกายมากกว่า และมีแนวโน้มที่จะเกิดการทำร้ายร่างกายมากกว่าเด็กผู้หญิง ด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว และการข่มขู่
5.เด็กที่ถูกล้อเลียน มักไม่ยอมบอกว่าตัวเองถูกกระทำ
แม้จะถูกกระทำ และเกิดความรู้สึกในแง่ลบ แต่พวกเขากลับไม่บอกกล่าว เพราะรู้สึกอับอาย สับสน คิดว่าตัวเองสามารถจัดการได้ และรู้สึกว่าบอกแล้วก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะผู้ใหญ่บางคน จัดการปัญหานี้ไม่ได้ คิดว่าเป็นเรื่องของเด็กๆ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิธีแก้ไขเมื่อลูกชอบล้อเลียน” คลิกหน้า 2
วิธีแก้ไขเมื่อ ลูกชอบล้อเลียน
1.สอนลูกทันทีเมื่อลูกมีพฤติกรรมล้อเลียน
อธิบายให้ลูกเข้าใจ ว่าการใช้คำพูดที่รุนแรง หยาบคาย หรือพฤติกรรมล้อเลียนที่ไม่เหมาะสม เป็นสิ่งที่ไม่ดี สามารถทำร้ายจิตใจ และความรู้สึกต่อผู้อื่นอย่างรุนแรง เท่ากับการทำร้ายร่างกายเลยทีเดียว นอกจากนี้ ควรสอนให้ลูกรู้จักหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบรังแกผู้อื่น และพูดจาหยาบคายด้วย
2.พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก
การกระทำของพ่อแม่ ถึงแม้ว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่เด็กๆ สามารถซึมซับและเรียนรู้จากการกระทำนั้นได้ หลีกเลี่ยงการพูดจาหยาบคาย ไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันต่อหน้าลูก ไม่แสดงอารมณ์โมโห หรือฉุนเฉียวเมื่อมีเหตุการณ์มากระทบ เช่น เมื่อถูกคนขับรถตัดหน้า ไม่ควรตะโกนต่อว่าหากลูกอยู่ในรถด้วย หรือไม่ควรหันมาดุลูกของตัวเองเมื่อมีอารมณ์หงุดหงิด
3.ทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็ก
การล้อเลียนชื่อพ่อแม่ หรือล้อเลียนกันเรื่องลักษณะต่างๆ เด็กส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความสนุกสนาน และความบันเทิงให้ตัวเอง สอนลูกให้เข้าใจว่านั่นคือการสร้างความสนุกที่ไม่ถูกต้อง บอกลูกว่าถ้าอยากเล่นสนุก ก็ควรชวนเพื่อนเล่นดีๆ ไม่ล้อเลียน หรือกลั่นแกล้งกัน
4.อย่าคาดหวังมากจนเกินไป
หลังจากที่คุณพ่อ คุณแม่สอนลูกน้อยแล้ว อย่าพึ่งคาดหวังว่าลูกน้อยจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ในทันทีทันใด เรื่องนี้ต้องอาศัยเวลา และการย้ำเตือนอยู่บ่อยๆ แล้วลูกน้อยจะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เอง
การล้อเลียน หรือแกล้งกันในครอบครัว ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่คุณพ่อ คุณแม่หลายคนเคยเจอ ซึ่งบางครั้งก็ช่วยสร้างความสนุกสนาน สร้างอารมณ์ขันให้กับสมาชิกในครอบครัว แต่ต้องไม่ใช่การล้อเลียนกันที่ทำให้รู้สึกเจ็บตัว หรือเจ็บใจ ควรสอนให้ลูกรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา กระตุ้นความรู้สึกของลูกให้เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นให้มากขึ้น จะช่วยป้องกันความเสี่ยงของพฤติกรรมอันตราย ที่จะส่งผลเสียต่ออนาคตของลูกน้อยได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: honestdocs, ผู้จัดการออนไลน์
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!
ลูกโดนแกล้ง พ่อแม่ช่วยได้ ป้องกันก่อนสายใช้กำลัง- ฆ่าตัวตาย
ตีลูกบ่อย ไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก
9 วิธีสอนลูกไม่ให้แกล้งเพื่อน หรือไปทำร้ายคนอื่น
จิตแพทย์เด็กเผย! วิธีรับมือเมื่อ ลูกโดนเพื่อนแกล้ง (Bullying)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่