กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้เห็นชอบ และให้บรรจุ วัคซีนมะเร็งปากมดลูก (วัคซีน HPV) เอาไว้ในรายการบัญชียาหลักแห่งชาติ นับเป็นวัคซีนตัวที่ 11 ในรอบ 17 ปี ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคปี 2560 นี้
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ฟรี!
ภายในปี 2560 นี้ จะมีการนำร่องให้บริการวัคซีน HPV โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กหญิง ที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประมาณ 400,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งถือเป็นวัยที่เหมาะสมในการได้รับวัคซีนมากที่สุด สำหรับการรับวัคซีนและสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก จากเดิมที่จะต้องฉีดถึง 3 เข็ม เปลี่ยนเป็น ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6 เดือน
มะเร็งปากมดลูก นับเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของหญิงไทย นับเป็นอันดับที่ 4 รองลงมาจาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด ซึ่งมีหญิงไทยเสียชีวิตมากถึงวันละ 14 คน หรือปีละประมาณ 5,000 คน และมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นปีละกว่า 10,000 คน
มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้หญิงในช่วง 35 – 60 ปี สาเหตุสำคัญคือการติดเชื้อไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ ถ้าติดเชื้อ HPV แล้วจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณปากมดลูก ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน หรือบางคนอาจใช้เวลานานถึง 15 ปี จึงจะแสดงอาการ สามารถเกิดได้จากการมีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ในช่วงอายุน้อยกว่า 17 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกมาก และมีความไวต่อสารก่อมะเร็งสูง และถ้ามีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส และหนองใน ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน 5 ปี จะมีความเสี่ยง 1.3 เท่า นาน 10 ปี มีความเสี่ยง 2.5 เท่า และคุณแม่ที่คลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง อาจมีความเสี่ยงถึง 2-3 เท่า
การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะช่วยลดการเสียชีวิตอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปัจจุบัน นอกจากนี้ วัคซีน HPV ยังเป็นวัคซีนที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เตรียมขยายสิทธิประโยชน์ด้านวัคซีนสำหรับเด็กเพิ่มเติม ในปี 2560 เพื่อรองรับการให้บริการวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก หรือวัคซีน HPV ในสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพเรียบร้อยแล้ว ถ้าคุณแม่มีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก” คลิกหน้า 2
การฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
คุณแม่หลายคนที่ทราบข่าวแล้ว ว่าในปี 2560 นี้ ผู้หญิงทุกคนจะได้รับสิทธิในการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี ในสิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพ หลายคนอาจจะตั้งคำถาม ว่าวัคซีนตัวนี้ จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 100% หรือไม่ หรือมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง และฉีดได้ทุกคนหรือเปล่า? Amarin Baby & Kids ได้หาคำตอบมาฝาก ดังนี้
มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคร้าย และปัญหาใหญ่สำหรับผู้หญิง การป้องกันที่ทำได้ง่ายๆ และมีมานานแล้วคือการตรวจคัดกรอง หาความผิดปกติที่มดลูก เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เมื่อพบในระยะเริ่มต้น
การฉีดวัคซีน คือการป้องกันที่สาเหตุ เพราะมะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมด เกิดจากการติดเชื้อ HPV หรือ Human papilloma virus มีอยู่ประมาณ 30 สายพันธุ์ ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และหูดหงอนไก่ แต่เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว ก็ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ
- ชนิด 2 สายพันธุ์ (bilavent – Cervarix) ช่วยป้องกัน HPV16, 18
- ชนิด 4 สายพันธุ์ (quadrivalent – Gardasil) ช่วยป้องกัน HPV6,11,16,18
สายพันธุ์ 16, 18 ทำให้เป็นมะเร็งปากมดลูก 70% และสายพันธุ์ 6, 11 ทำให้เป็นโรคหูดหงอนไก่ 90%
วัคซีนทั้ง 2 แบบ ช่วยลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ค่อนข้างดี การฉีดจะเหมือนกันคือ 3 เข็ม ในระยะ 6 เดือน (0, 1-2, 6) ราคาโดยทั่วไปประมาณ 7,000 บาทต่อ 3 เข็ม หรืออาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล
เด็กหญิงอายุ 11 ปี (ป.5) ฉีดฟรี!
พญ.ปิยะนิตย์ ธรรมาภรณ์พิลาศ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค อธิบายว่า เด็กหญิงอายุ 11 ปี (ป.5) จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกฟรี โดยจะฉีดห่างกัน 6 เดือน ซึ่งวัคซีน HPV 1 เข็ม จะมีราคาประมาณ 400 – 500 บาท (ราคาตามโครงการนำร่อง) ดังนั้น เด็ก 1 คน จะมีค่ามีค่าใช้จ่ายวัคซีนอยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท สำหรับผู้หญิงที่อายุมากกว่า 11 ปี ก็สามารถฉีดได้ที่โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ตามกำหนดราคาของโรงพยาบาล
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ใครควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก?” คลิกหน้า 3
ใครควรฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก?
1.สมาคมสูตินรีแพทย์ของอเมริกา แนะนำให้ฉีดวัคซีนนี้ในเด็กผู้หญิง ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ไปจนถึง 26 ปี และควรได้รับวัคซีนก่อนเริ่มมีเพศสัมพันธ์ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันสูงสุด (ถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์ และได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว จะไม่ช่วยป้องกันโรค)
2.สำหรับคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว ถ้าต้องการฉีด ก็ยังสามารถฉีดได้ แต่ประสิทธิภาพอาจไม่ดีเท่าคนที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
3.ถ้าอายุเกิน 26 ปี การสร้างภูมิคุ้มกันอาจไม่ดีเท่าอายุน้อย แต่สามารถฉีดได้
4.เด็กผู้ชายสามารถฉีดได้ โดยเฉพาะชายรักร่วมเพศ ให้ฉีดได้จนถึงอายุ 26 ปี เพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งองคชาติ และทวารหนัก ซึ่งเกิดจาก HPV ได้เช่นกัน
ถ้าผู้หญิงอายุมากกว่า 26 ปี แต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แล้วฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จะได้รับการป้องกันมากกว่า ผู้หญิงที่อายุยังไม่ถึง 26 ปี แต่มีเพสสัมพันธ์บ่อยครั้ง เพราะอาจจะป้องกันได้น้อยกว่า
ผลข้างเคียงของวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
ผลข้างเคียงโดยทั่วไปคือ อาการปวด หรือบวมบริเวณที่ฉีด อาจมีไข้ในช่วงแรก ส่วนน้อยที่จะมีอาการแพ้ยารุนแรง และมีรายงานว่าอาจหมดสติหลังฉีด แต่พบน้อยมาก จึงแนะนำให้สังเกตอาการหลังฉีดอย่างน้อย 15 นาที
วัคซีนมะเร็งปากมดลูกป้องกันได้กี่เปอร์เซ็นต์?
ถ้าคุณแม่ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้ว จะสามารถป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ 70% อีก 30% อาจติดเชื้อ HPV จากสายพันธุ์อื่นๆ คุณแม่ และลูกสาว จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะฉีดวัคซีนมาแล้วก็ตาม เพื่อป้องกันความเสี่ยงอีก 30% ที่อาจจะเกิดขึ้น
เครดิต: สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ใกล้มิตรชิดหมอ, โรงพยาบาลเมืองพัทยา, ไทยรัฐออนไลน์
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
แพทย์แนะหญิงไทย ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ทุกสามปี
10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก
“วัคซีนเอชพีวี” สำหรับเด็กหญิง-ชาย ป้องกัน “มะเร็งปากมดลูก”
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save