แต่ในมุมมองของแพทย์นั้น แท้จริงแล้วมีสาเหตุต่าง ๆ คือ
1. โรคที่เกี่ยวกับการแพ้และภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตั้งแต่โรคภูมิแพ้ผิวหนังทั่วไป โรคภูมิแพ้ผิวหนังของเด็ก ซึ่งเป็นโรคที่ความรุนแรงไม่มากไปจนถึงกลุ่มที่มีอาการมากและมีอาการทางผิวหนังด้วย เช่น สะเก็ดเงิน เป็นต้น
2. โรคที่เกี่ยวกับการแพ้ที่มีสาเหตุ เช่น การแพ้สารเคมี การแพ้สารจากสัตว์หรือพืชบางชนิด การแพ้สารก่อภูมิแพ้ที่มีในสิ่งแวดล้อมเช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์
3. ผิวหนังได้รับสารที่ระคายเคืองหรือสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น ถูกสารเคมี(น้ำยาล้างห้องน้ำ ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย)
4. การติดเชื้อ เช่น งูสวัด เริม เกลื้อน กลาก ผิวหนังเกิดการติดแบคทีเรียหรือเชื้อโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเอง หรือการที่ผิวหนังมีบาดแผลแล้วติดเชื้อซ้ำเข้าไป
ที่การแบ่งของ แพทย์แบ่งตามเหตุที่เป็นก็เพื่อให้การรักษาที่ครบถ้วนหรือมุ่งสู่องค์รวมมากที่สุด เพราะการรักษาผื่นผิวหนังแบบนี้ ไม่ใช่แค่บอกว่าเป็นน้ำเหลืองไม่ดีแล้วรักษาเหมือนกัน แต่จะต้องจัดการตั้งแต่ต้นเหตุ รักษาอาการที่ทำให้รู้สึกไม่สบาย และจัดการตั้งแต่ต้นเหตุรวมทั้งป้องกันผลข้างเคียงของแผลเหล่านั้นที่จะตามมา รักษาอาการที่ทำให้ไม่สบาย อาการที่ทำให้หลาย ๆ คนต้องมาได้แก่อาการคัน เจ็บแสบร้อน ปวดบวม การรักษามีตั้งแต่การใช้ยาลดการแพ้แก้คันชนิดกิน และยาทาที่ทำให้ผิวหนังเย็นเช่น คาลาไมน์ หรือ เหล้าผสมน้ำ หากมีบาดแผลเกิดขึ้นก็ให้ทำแผลจนกว่าผิวหนังจะกลับมาเป็นปกติ
รักษาที่สาเหตุ
หากแพทย์หาสาเหตุได้หรือสงสัยสาเหตุว่า ผื่นผิวหนังเกิดจากตัวกระตุ้นใด ก็จะรักษาตามสาเหตุนั้น ๆ หรือเรียกได้ว่าเป็นการรักษาตามอาการนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
- เกิดจากการติดเชื้อ ก็ให้ยาที่กำจัดเชื้อนั้น
- เกิดจากการแพ้ ก็ให้ยาเพื่อลดการแพ้ทางการกินหรือทา
- เกิดจากโรคทางระบบภูมิคุ้มกันก็ให้ยาเพื่อปรับภูมิคุ้มกัน จุดนี้เป็นจุดที่ต้องระวัง เพราะว่าในผู้ป่วยบางรายที่เข้าใจผิดคิดว่าลักษณะตุ่มพองคล้ายกันจึงใช้ยา โดยที่ไม่รู้ว่าอาจจะนำยาที่ใช้ในการรักษาการแพ้จำพวกสเตียรอยด์ไปทากับตุ่มที่เกิดจากการ ติดเชื้อและทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงตามมาได้
แนะนำให้ปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด ส่วนเรื่องการป้องกันการติดเชื้อนั้น ให้หมั่นทำความสะอาดแผล และปิดด้วยวัสดุที่สะอาดและผ่าการฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น
ขอบคุณที่มา: คุณหมอแมว จากเพจ Hunsa
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่