ก่อนอื่น เราต้องรู้ถึงอัตราการเจริญเติบโต ของเด็กโดยทั่วไปก่อนค่ะ ว่าลูกของเราเข้าเกณฑ์การเจริญที่ปกติหรือไม่ ทำง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่สามารถหยิบสมุดวัคซีน และสมุดพกของลูกมาดูกราฟการเจริญเติบโตได้ว่าความสูงและน้ำหนักของลูกตกเกณฑ์หรือไม่ โดยอัตราการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ จะเป็นตามตารางข้างล่างนี้ค่ะ
ตารางที่ 1 อัตราการเจริญเติบโตปกติ
ช่วงอายุ | อัตราการเพิ่มความสูง (ซ.ม.)ต่อปี |
แรกเกิด – 1 ปี | 23 – 27 |
อายุ 1 – 2 ปี | 10 – 12 |
อายุ 2 – 4 ปี | 6 – 7 |
ก่อนเข้าวัยรุ่น | 4 – 5.5 |
ช่วงเข้าวัยรุ่น 2 ปีแรก | |
เด็กหญิง | 7 – 10 |
เด็กชาย | 8 – 12 |
เด็ก ๆ จะมีความสูงตามตาราง จนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จะมีช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว (Pubertal growth spurt) เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี และเด็กหญิงจะหยุดการเจริญเติบโต เมื่ออายุประมาณ 14 – 16 ปี หรืออายุกระดูก 18 ปีส่วนเด็กผู้ชายจะหยุดการเจริญเติบโต เมื่ออายุประมาณ 16-18 ปี หรือ มีเสียงแตกมาแล้วประมาณ 4 ปี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
- ความสูงของพ่อแม่ (กรรมพันธุ์) พ่อแม่สูงลูกย่อมสูงกว่าเด็กที่ พ่อแม่ตัวเล็กค่ะ
- ภาวะโภชนาการ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และสมดุล
- การออกกำลังกาย เพื่อการพัฒนาของกระดูกและกล้ามเนื้อ อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- สุขภาพร่างกาย การมีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ หรือ โรคปอดเรื้อรัง ภูมิแพ้เรื้อรัง จะมีผลต่อการเจริญเติบโต
- ฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตค่ะ เช่น ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ,ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid Hormone),ฮอร์โมน (Sex Hormone),ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid hormone)
ความสูงของพ่อและแม่ เราสามารถประเมินได้ว่าลูกของเราจะสูงได้ประมาณเท่าไร โดยคิดสูตรดังนี้ค่ะ
นำความสูงของคุณพ่อเป็นเซนติเมตรกับความสูงของคุณแม่เป็นเซนติเมตรมาบวกกัน
- 1 ถ้าเป็นเด็กชายให้เอา 13 มาบวกเพิ่ม แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาหารด้วย 2 จะได้ความสูงสุดท้ายที่ควรจะเป็น เป็นเซนติเมตรของเด็กชาย ความเป็นไปได้ของความสูงสุดท้ายจะอยู่ในช่วง+- 10 เซนติเมตร
- 2 ถ้าเป็นเด็กหญิงให้เอา 13 มาลบออก แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาหารด้วย 2 จะได้ความสูงสุดท้ายที่ควรจะเป็น เป็นเซนติเมตรของเด็กหญิง ความเป็นไปได้ของความสูงสุดท้ายจะอยู่ในช่วง+- 9 เซนติเมตร
อ่านเรื่อง “เลี้ยงลูกได้สูงตามเกณฑ์ ” คลิกหน้า 2
แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้ลูกจะสูงได้ตามเกณฑ์แล้ว แต่พ่อแม่ทุกคนก็ต้องการให้ลูกสูงที่สุดที่ตามเกณฑ์ศักยภาพความสูงของลูก จริง ๆ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ยากอย่างที่คิดค่ะ
การออกกาลังกายที่จะช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของร่างกาย ที่สาคัญ ควรเป็นกิจกรรมที่มีแรงกระแทกจากการกระโดด ซึ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นข้อต่อกระดูกให้มีการยืดตัวขึ้น เพิ่มความยาวของกระดูกสันหลัง และเวลาเดียวกันยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องได้อีกด้วย โดยการออกกาลังกายที่พอเหมาะประมาณ 45 – 60 นาที/วัน ตัวอย่างของการออกกาลังกายที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโต ได้แก่
1.1 การวิ่ง แต่หากวิ่งมากเกินไปอาจทาให้เกิดอาการปวดบวม หรือหกล้มได้ในเด็กเล็ก ดังนั้นอาจเลือกเป็นวิ่งบนพื้นดิน หรือสนามหญ้าเป็นต้น
1.2 การกระโดด ยืนตรงแยกขาออกเล็กน้อย จากนั้นกระโดดด้วยเท้าเพียงข้างเดียวให้สุด ทาซ้าแบบเดียวกันประมาณ 10 ครั้ง สลับทั้งสองข้าง
1.3 การขี่จักรยาน เป็นกิจกรรมที่ทาให้เท้าของเรายืดเหยียดตลอดระยะเวลาที่ปั่นจักรยาน
1.4 การว่ายน้า โดยว่ายท่าผีเสื้อเป็นเวลา 20 นาที เป็นท่าที่เหมาะสมที่สุดเพราะร่างกายได้ออกกาลังช่วงหลัง ไหล่ และช่วงแขนอย่างเต็มที่ แต่ถ้าไม่สะดวกท่าอื่นๆ ก็สามารถช่วยได้เดียวกัน
1.5 กระโดดเชือก โดยเป็นการกระโดดทั้งตัว ซึ่งจะทาให้ช่วงขา และช่วงหลังได้ยืดเหยียดไปพร้อมๆ กัน โหนบาร์ เป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังอย่างเต็มที่ รวมช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ และแขนได้เป็นอย่างดี
1.6 การเตะขา เพียงแค่ยืนแยกขาออกแล้วเตะขาข้างหนึ่งไปด้านหน้า ทาแบบนี้อย่างน้อยข้างละ 20 ครั้ง ก็ช่วยยืดกระดูกช่วงหน้าแข้งได้เช่นเดียวกัน
1.7 การใช้แทรมโพลีน (Trampoline) เป็นการออกกาลังกาย โดยอาศัยเทคนิคการกระตุ้นในแนวดิ่ง ซึ่งจากการอ้างอิงขององค์การนาซ่า (NASA) ระบุว่าเป็นการออกกาลังกายที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นการออกกาลังกายของเซลล์ในทุกส่วนของร่างกาย เพียงแค่วันละ 20 นาที ซึ่งการออกกาลังกายจากการกระโดดบนแทรมโพลีนจะช่วยยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมสาหรับการเพิ่มความสูง (Proper Stretching and Exercising Techniques) เพราะจะทาให้กระดูกหนาและแข็งแรงขึ้นจากการกระตุ้นการหลั่งสาร Growth Hormone ทาให้ความหนาที่เพิ่มขึ้นของกระดูกขาจะช่วยเพิ่มความสูงได้อย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร ซึ่งถ้าหากออกกาลังกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มความสูงได้มากถึง 5 เซนติเมตร
- โภชนาการ การ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารประเภทโปรตีน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ดื่มนมวัว เนื่องจากมีแคลเซียมสูงวันละ 2-3 กล่อง จะทาให้ได้แคลเซียมปริมาณที่เหมาะสมที่จะช่วยบารุงกระดูกให้แข็งแรง และแนะนาให้ลดอาหารประเภท แป้ง น้าตาล เช่น ขนมถุง น้าหวาน และประเภทไขมัน เพราะจะทาให้สะสมในรูปไขมันส่วนเกินได้
- ควรนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ในวัยรุ่นไม่ควรน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะหลั่งได้ดีช่วงนอนหลับสนิท และควรเข้านอนแต่หัวค่ำ ไม่ควรเกิน 00.00 น ค่ะ
เท่านี้ ลูก ๆ ของเราก็จะสูงได้ตามศักยภาพของพันธุกรรม แล้วล่ะค่ะ แต่ถ้าหาก คุณพ่อคุณแม่ท่านใด ลองตรวจสอบกราฟความสูงของลูกแล้วพบว่าลูกตัวเล็ก หรือเตี้ยกว่าเกณฑ์ ท่านไม่ควรหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ขายอยู่ตาม เวป ต่าง ๆ แต่ ท่านควรปรึกษากับกุมารแพทย์ประจำของลูก หรือ พบกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อค่ะ
พญ. เอินฟ้า ณ นคร
กุมารเวชศาสตร์โรคระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม์ โรงพยาบาลเวชธานี
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Super Kid’s Centerชั้น 3
โทร.027340000 ต่อ 3310, 3312, 3319
ที่มาจาก : วิธีแสนง่าย ในการเลี้ยงลูกให้สูงตามเกณฑ์
ภาพ : ShutterStock