AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เคล็ดลับเพิ่มความสูง เมื่อถึงช่วง “ยืดตัว”

เคล็ดลับเพิ่มความสูง เมื่อถึงช่วง “ยืดตัว”

ยังจำได้ไหม ตอนที่เจ้าตัวเล็กยังเป็นเบบี๋ คุณคงเคยนึกอยากมีเวทมนตร์เสกให้ลูกโตภายในข้ามคืน! วันเวลาผ่านไป เวทมนตร์ยังไม่มี แต่ธรรมชาติจะช่วยให้ฝันคุณแม่ใกล้ความเป็นจริงได้ในช่วง “Growth spurts” นั่นเอง! คราวนี้เราจะมาแนะ เคล็ดลับเพิ่มความสูง ให้ลูกในช่วงนี้ซึ่งเป็นช่วงที่ดีที่สุดกัน

ทำความรู้จัก Growth spurt

Growth spurt คือ ช่วงที่ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตอย่างพุ่งพรวดในช่วงสั้นๆ ทั้งส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือเรียกในภาษาไทยว่า “การยืดตัวของเด็ก” ซึ่งโดยปกติเกิดขึ้นใน 2 ช่วงวัย คือช่วงขวบปีแรกและช่วงเข้าสู่วัยรุ่น โดยเด็กจะเติบโตขึ้นอย่างสังเกตได้และการเพิ่มส่วนสูงจะหยุดลงเมื่อพ้นวัยไป

ในช่วงขวบปีแรกของเด็กนั้น ลูกน้อยจะมีการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย และการพัฒนาการทางด้านต่างๆ เกิดขึ้นไปพร้อมๆ กันอย่างรวดเร็ว และมีขั้นตอนเป็นลำดับไปตามเกณฑ์อายุ เช่น เริ่มจากการชันคอได้ในช่วง 2-3 เดือนแรก ไปจนถึงเกาะยืน และหัดเดินเมื่ออายุ 1 ขวบ โดยเฉลี่ยแล้ว ความสูงของลูกน้อยจะขึ้นประมาณ 10 นิ้ว (25  ซ.ม.) และมีน้ำหนักเป็น 3 เท่า ของน้ำหนักแรกเกิด

(อ่านเพิ่มเติม>> คำนวณส่วนสูง และดัชนีมวลกาย เพื่อลูกน้อยเติบโตสมวัย)

หลังจากขวบปีแรกผ่านไป เด็กจะเจริญเติบโตในอัตราที่สม่ำเสมอ และไม่มากเหมือนในปีแรก โดยเฉลี่ยจะสูงขึ้นประมาณ 2.5 นิ้ว (6 ซ.ม.) ต่อปี ไปจนถึงตอนเริ่มเข้าวัยรุ่น

Growth spurt ช่วงยืดตัว

เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างพุ่งพรวดอีกช่วงหนึ่ง ประมาณอายุ 8-13 ปีในเด็กผู้หญิง และอายุ  10-15 ปีในเด็กผู้ชาย เป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนเพศที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในวัยรุ่นนั่นเอง จนถึงอายุประมาณ 15 ปีในผู้หญิง และ 16-17 ปีในผู้ชาย ที่การเจริญเติบโตอย่างวัยรุ่นนี้จะหยุดลง และมีรูปร่างเป็นผู้ใหญ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

สัญญาณที่บอกว่าลูกกำลังยืดตัว

อ่านต่อ>> เคล็ดลับเพิ่มความสูง ช่วง Growth spurt คลิกหน้า 2

“ออกกำลังกาย” เคล็ดลับเพิ่มความสูง ช่วง Growth spurt

แม้ว่าพันธุกรรมจะมีบทบาทสำคัญต่อความสูงของลูกน้อย แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด การออกกำลังกาย เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะช่วยไปกระตุ้นการหลั่งของโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ให้เพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ลูกกำลังยืดตัว มีการออกกำลังกายแบบไหนบ้างมาดูกัน!

เคล็ดลับเพิ่มความสูง ช่วง Growth spurt

1. กระโดดเชือก

อุปกรณ์ก็หาซื้อได้ง่าย พกพาก็สะดวก การกระโดดจะทำให้ช่วงขา และช่วงหลังได้ยืดเหยียดไปพร้อมๆ กัน ช่วยกระตุ้นข้อต่อกระดูกมีการขยายตัวขึ้น เพิ่มความยาวของกระดูกสันหลัง และยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้ร่างกายด้วย

2. กระโดดแทรมโพลีน

ถ้าบ้านไหนมีพื้นที่ ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทีเดียว เพราะเล่นกันได้ทั้งบ้าน ถือเป็นการออกกาลังกายของเซลล์ในทุกส่วนของร่างกาย ประโยชน์ไม่ต่างจากการกระโดดเชือก แต่ลดแรงกระแทกได้เป็นอย่างดี

ซึ่งการออกกำลังกายด้วยการกระโดดบนแทรมโพลีน เพียงแค่วันละ 20 นาที จะช่วยยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมสาหรับการเพิ่มความสูง ทำให้กระดูกหนาและแข็งแรงขึ้นจากการกระตุ้นการหลั่งสาร Growth Hormone ทำให้ความหนาที่เพิ่มขึ้นของกระดูกขาจะช่วยเพิ่มความสูงได้อย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร ซึ่งถ้าหากออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มความสูงได้มากถึง 5 เซนติเมตร

3. กระโดด

ยืนตรงแยกขาออกเล็กน้อย จากนั้นกระโดดด้วยเท้าเพียงข้างเดียวให้สุด ทาซ้ำแบบเดียวกันประมาณ 10 ครั้ง สลับทั้งสองข้าง

4. วิ่ง

ไม่ได้ส่งผลดีแค่เฉพาะช่วงขาเท่านั้น แต่การวิ่งช่วยให้กระดูกและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกายแข็งแรงขึ้น

5. ปั่นจักรยาน

กล้ามเนื้อบริเวณช่วงขาจะได้ทำงานอย่างเต็มที่ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และเท้าก็ได้ยืดเหยียดตลอดระยะเวลาที่ปั่นจักรยาน สร้างความยืดหยุ่นให้ข้อเท้าได้อย่างดี

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> เคล็ดลับเพิ่มความสูง ช่วง Growth spurt คลิกหน้า 3

“ออกกำลังกาย” เคล็ดลับเพิ่มความสูง ช่วง Growth spurt

เคล็ดลับเพิ่มความสูง ช่วง Growth spurt

6. ว่ายน้ำ

เป็นทั้งการออกกำลังกาย และทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กๆ เพื่อช่วยชีวิตตัวเองได้ถ้าเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ การว่ายน้ำโดยเฉพาะท่าผีเสื้อเป็นเวลา 20 นาที จะช่วยให้ร่างกายได้ออกกำลังช่วงหลัง ไหล่ และช่วงแขนอย่างเต็มที่ แต่ถ้าไม่สะดวกท่าอื่นๆ ก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน

7. โหนบาร์

อีกหนึ่งอุปกรณ์คุ้นตาตามสนามเด็กเล่น โรงเรียน หรือสวนสาธารณะ ในขณะที่โหนบาร์กล้ามเนื้อหลังจะยืดอย่างเต็มที่ และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ และแขนได้เป็นอย่างดี

8. เตะขา

เพียงแค่ยืนแยกขาออกแล้วเตะขาข้างหนึ่งไปด้านหน้า ทำแบบนี้อย่างน้อยข้างละ 20 ครั้ง สามารถช่วยยืดกระดูกช่วงหน้าแข้งได้เช่นเดียวกัน

นอกจากการออกกำลังกายแล้ว สิ่งสำคัญควรทำควบคู่กันไปคือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารปะเภทโปรตีน เนื้อสัตว์ ไข่ และนมวัว วันละ 2-3 กล่อง จะทำให้ได้แคลเซียมปริมาณที่เหมาะสมที่จะช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง และควรนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ในวัยรุ่นไม่ควรน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะหลั่งได้ดีช่วงนอนหลับสนิท และควรเข้านอนแต่หัวค่ำ ไม่ควรเกิน 22.00 น.

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

เลี้ยงลูกให้สูงตามเกณฑ์

จะสูงหรือเตี้ยไม่ต้องเสียใจไป

ลูกน้อยแบกกระเป๋าหนัก เสี่ยงปวดหลัง ทำให้เตี้ย

 


ขอบคุณข้อมูลจาก คอลัมน์ Kid Smart นิตยสารเรียลพาเรนตื้ง ฉบับเดือนสิงหาคม 2558 , manager.co.th , acu.ac.th

ภาพ: shutterstock

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids