การเลี้ยงลูกของคุณพ่อ คุณแม่ในยุคปัจจุบันแตกต่างจากในสมัยก่อนมาก เพราะไม่ว่าครอบครัวที่มีฐานะ หรือยากจน พยายามเลี้ยงลูกให้สุขสบาย ตามใจลูกมากจนเกินไป ไม่ค่อยได้พบเจอกับความยากลำบากหรือการถูกทำโทษ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ส่งผลกับลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ลูกเป็น โรคไม่รู้จักลำบาก
โรคไม่รู้จักลำบาก
บทความจาก เฟสบุ๊คเพจ Basic-Skill for young children กล่าวไว้ว่า
เด็กไทยในปัจจุบัน และอนาคตจะไม่สู้ชีวิต และรักสบายมากขึ้นเรื่อยๆ ตามความสบายในการเลี้ยงดู
เพราะทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่คนรวยเท่านั้นที่เลี้ยงลูกสบาย คนไม่รวยก็พยายามทำให้ลูกสบายเหมือนคุณหญิง คุณชาย พอเค้าออกไปพบโลกความจริง หรือรู้ความจริงที่เป็นจริงก็ถึงกับเสียหลัก
หรือบางครั้งคนที่รวยเลี้ยงลูกให้ลำบากก็มีถมเถไป
อนาคตเด็กน้อยอาจไม่แน่นอน แต่ที่แน่นอนแน่ๆ คือ ไม่มีชีวิตใครสบายตลอดไป ต้องมีล้ม ลำบาก ดังนั้นการเลือกสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่เด็ก เรื่องของความลำบาก ความพยายาม ย่อมเป็นเรื่องดี
เพราะทุกวันนี้ยังพาลูกๆ ไปฉีดวัคซีนคุ้มกันโรคไข้ โรคต่างๆ มากมาย ทำไมถึงไม่คิดถึงการสร้างภูมิคุ้มกันของความลำบากกันบ้าง
ถึงแม้มันจะยาก ที่ไม่ได้ง่ายเหมือนเดินไป รพ. จ่ายเงินหมอแล้วได้มา เพราะมันต้องสร้างจากการใส่ใจในการเลี้ยงดูลูก
พยายามอดทนเพื่อลูกใน 4 ปีแรก เพื่ออนาคตของเค้าทั้งชีวิต เพราะวันหนึ่งเค้าก็ต้องออกไปยืน และใช้ชีวิตเองอยู่ดี
โดยการไม่ตามใจ ฝึกลูกให้มีหน้าที่รับผิดชอบ รู้การแบ่งปัน การให้ การลำบาก
วินัยวุฒิภาวะ คือวัคซีนที่ดีที่สุดที่จะรักษาโรคนี้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ทำไมเด็กถึงเป็นโรคไม่รู้จักลำบาก” คลิกหน้า 2
ทำไมเด็กถึงเป็นโรคไม่รู้จักลำบาก
1.เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาครอบงำ
เด็กเล็กๆ ในสมัยนี้ใช้สมาร์ทโฟน และสื่อเทคโนโลยีต่างๆ รวดเร็วมากกว่าในสมัยก่อน พ่อแม่ในยุคอดีตมักจะไม่ยอมให้ลูกจับต้องของมีค่า เพราะกลัวจะพังเสียหาย เพราะเด็กยังมีความรับผิดชอบไม่มากพอ แต่พ่อแม่ในยุคปัจจุบัน กลับยื่นของต่างๆ เหล่านี้ให้ลูกน้อย ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร
2.อยากให้ลูกสบายกลายเป็นการทำร้ายลูก
พ่อแม่บางบ้าน จ้างพี่เลี้ยงไว้คอยดูแลลูกน้อย หรือไม่ยอมให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเอง ป้อนข้าว ป้อนน้ำ ซักผ้ารีดผ้า ทำความสะอาดบ้านให้ จนลูกทำอะไรไม่เป็น เมื่อต้องออกไปอยู่ในสังคมภายนอก ก็กลายเป็นภาระให้คนรอบข้าง ต้องคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ
3.ปกป้องลูกมากจนเกินไป
ด้วยประสบการณ์ และสังคมยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป พ่อแม่จึงไม่อยากปล่อยให้ลูกไปพบอันตรายภายนอก จำกัดความเป็นอิสรเสรี ยอมให้ลูกนั่งดูทีวี เล่นคอมพิวเตอร์อยู่กับบ้าน หรือแชตกับเพื่อนผ่านมือถือ มากกว่าปล่อยให้ลูกออกไปเรียนรู้สังคม และศึกษาความแตกต่างของคนดีและคนไม่ดีด้วยตัวเอง
4.เพราะความยากลำบากในอดีตของพ่อแม่ จึงไม่ยอมให้ลูกลำบาก
ครอบครัวที่พ่อแม่เคยมีฐานะยากจนมาก่อน มักเลี้ยงลูกให้สบาย เพราะนำความยากลำบากของตนเองมาเปรียบเทียบ และไม่อยากให้ลูกมีชีวิตที่ยากลำบากแบบตนเอง กลายเป็นการเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ เงินทอง เด็กกลายเป็นคนขาดความอดทน ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ อ่อนแอ และแข็งกระด้าง
5.อิทธิพลของสื่อ และข่าวสารทำให้ลูกรักสบาย
ในสื่อออนไลน์ หรือสื่อโทรทัศน์ สิ่งหนึ่งที่ทุกๆ คนมักจะเสนอ หรือถ่ายทอด คือการได้ไปรับประทานอาหารอร่อยๆ แพงๆ เที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวหรูๆ โชว์สิ่งของมีค่าให้คนอื่นรู้ว่าเรามี เช่น รถยนต์ หรือถ่ายรูปอวดกระเป๋า เสื้อผ้าแบรนด์ดัง เมื่อเพื่อนมี ลูกก็อยากมีตามสังคม และกระแสในตอนนั้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ภาพเด็กที่เป็นโรคไม่รู้จักลำบาก” คลิกหน้า 3
ศิลปินหนุ่มจากรั้วศิลปากร คุณอมรินทร์ บุพศิริ ได้ถ่ายทอดงานศิลปะที่ต้องการนำเสนอให้เห็นถึงอิทธิพลของสื่อ ข่าวสาร และความบันเทิงต่างๆ ที่มีส่วนปลุกเร้าให้ผู้รับสาร โดยเฉพาะเด็กนักเรียนในชุดคอซอง ซึ่งเด็กในวัยนี้ น่าจะทำอะไรที่ควรจะทำมากกว่าการสนใจในความงามของตัวเอง และเอาแต่สนใจแค่วัตถุ เพื่อไม่ให้ตกเทรนด์ เราเพียรพยายามทำให้เด็กได้เป็นเด็ก แต่สื่อและทีวีทำให้เด็กเร่งโต ทั้งๆ ที่พวกเขายังไม่มีวุฒิภาวะความเป็นผู้ใหญ่ ทำให้เป็นสาวก่อนวัยอันควร ทำให้ไม่มีความมั่นคงภายในจิตใจ และไหลไปตามกระแสของการตลาด พฤติกรรมการเลียนแบบของเด็กนักเรียนวัยรุ่นในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความมากเกินพอดีของการบริโภคข่าวสารผ่านสื่อบันเทิงต่างๆ จนกลายเป็นความมากเกินพอดีของการแสดงออก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “คำแนะนำเรื่องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิส์ของเด็ก” คลิกหน้า 4
ชมภาพ “คำแนะนำเรื่องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเด็กสำหรับผู้ปกครอง” จากชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทย ได้ที่นี่
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
เลี้ยงลูกไม่ให้สบายเกินไป ป้องกันโรค “ไม่รู้จักลำบาก”
ถ้าลูกทำการบ้านไม่เสร็จ ให้ฝึกลูกรับผิดชอบชีวิตตัวเองใหม่!
12 เทคนิค สร้างลูกดี มีวินัย
Save
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save