มีบทความหนึ่งของคุณแม่ ที่โพสต์เอาไว้ในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก Amarin Baby & Kids จึงนำบทความนี้มาแชร์ประสบการณ์ เกี่ยวกับปัญหาความสูงของลูกน้อย และหาวิธี คำนวณส่วนสูง เพื่อแก้ไขปัญหา และแนะนำคุณแม่และลูกน้อย เมื่อลูกน้อย “ไม่สูง”
คำนวณส่วนสูง กับปัญหาความสูงของลูกน้อย
ในบทความของคุณแม่ระบุเอาไว้ว่า คุณแม่พยายาม และทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตแข็งแรง โดยเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ ซึ่งอยู่ในวัย 38 ปี รับประทานโฟลิคเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงาน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคจนครบ แต่เมื่อลูกน้อยคลอดออกมากลับพบปัญหา ซึ่งคุณแม่เริ่มสังเกตเมื่อลูกน้อยอายุได้ 9 เดือน เริ่มตั้งแต่น้ำหนัก ส่วนสูงที่ลดลง และเรื่องการอ๊อกนม ทั้งๆ ที่ดูแลลูกน้อยเป็นอย่างดี และเคร่งครัดตามคำแนะนำของคุณหมอ ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่รับประทานได้น้อยมาก
แต่ถึงแม้พัฒนาการด้านความสูงของลูกน้อยจะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ลูกของคุณแม่ก็เป็นเด็กที่ฉลาด เมื่อเข้าโรงเรียน ก็เรียนได้ดี คุณครูก็ชมว่าเรียนเก่ง มีความสามารถหลายด้าน แต่คุณแม่ก็ยังเป็นกังวลเรื่องความสูงของลูกน้อย จึงพาลูกไปตรวจร่างกาย เพื่อทำการรักษาอย่างจริงจังที่โรงพยาบาล แต่จากการตรวจกลับพบว่าลูกน้อยปกติดีทุกอย่าง คุณแม่พยายาม และอยากให้ลูกน้อยพยายามร่วมมือด้วยเช่นกัน
Amarin Baby & Kids ขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่สู้ต่อไปนะคะ ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะตัวเล็ก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าความสามารถของลูกน้อยจะเล็กไปด้วยนะคะ แม่น้องเล็กคิดว่าลูกของคุณแม่ “จิ๋วแต่แจ๋ว” จริงๆ ค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “คำนวณส่วนสูง และดัชนีมวลกายของลูกน้อย” คลิกหน้า 2
สำหรับคุณพ่อ คุณแม่คนอื่นๆ ที่เป็นกังวลเรื่องความสูงของลูกน้อย เรามาดูวิธีคำนวณส่วนสูงของลูกน้อยกันค่ะ ว่าแบบไหนเรียกว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อหาทางแก้ไข และรักษาอย่างถูกต้อง ถ้าพบว่าลูกน้อย “ไม่สูง”
การคำนวณส่วนสูง และดัชนีมวลกายของลูกนั้น สามารถคำนวณได้จากความสูงของพ่อแม่ โดยมีหลักการคิดอยู่หลากหลายสูตร อาจมีการคลาดเคลื่อนกันบ้างเล็กน้อย ส่วนการคำนวณดัชนีมวลกายสามารถคำนวณได้จาก น้ำหนัก และส่วนสูง ควบคู่กัน เพราะปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการความสูง และพัฒนาการทางร่างกาย ได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมน การออกกำลังกาย โภชนาการ และการนอนหลับ
สูตรคำนวณความสูง (เมื่อลูกโตเต็มที่)
ความสูงลูกชาย = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ + 13) / 2 ได้ความสูงบวกลบประมาณ 8 เซนติเมตร
ความสูงลูกสาว = (ความสูงของพ่อ + ความสูงของแม่ – 13) / 2 ได้ความสูงบวกลบประมาณ 6 เซนติเมตร
สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก / (ส่วนสูง/100) ยกกำลัง 2
- 40 หรือมากกว่านี้: โรคอ้วนขั้นสูงสุด
- 0 – 39.9: โรคอ้วนขั้นที่ 2 ถ้ามีเส้นรอบเอวมากกว่าเกณฑ์ปกติ จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนสูง ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างจริงจัง
- 5 – 34.9: โรคอ้วนขั้นที่ 1 ถ้ามีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม. (ชาย) 80 ซม. (หญิง) จะมีโอกาสเป็นโรคความดัน เบาหวาน ต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย
- 5 – 28.4: น้ำหนักเกินแล้ว ถ้ากรรมพันธุ์เป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูง ต้องพยายามลดน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายต่ำกว่า 23
- 5 – 23.4: น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ค่อยมีโรคร้าย ความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง น้อยกว่าคนอ้วน
- น้อยกว่า 5: น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ถ้าออกกำลังกายมาก รับสารอาหารไม่เพียงพอ ควรรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ และมีพลังงานเพียงพอ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
ค่า BMI คือค่าที่แสดงถึงดัชนีความอ้วน หรือผอมของร่างกาย วัดเพื่อดูว่ามีอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าเป็นโรคอ้วนแล้ว จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด และโรคนิ่วในถุงน้ำดี และเด็กที่ผอมเกินไปก็เสี่ยงติดเชื้อเพราะร่างกายมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง ฉะนั้นควรรักษาน้ำหนักส่วนสูงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ภาวะเด็กตัวเตี้ย และคำแนะนำจากคุณหมอ” คลิกหน้า 3
การที่เด็กตัวเตี้ยนั้น เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะตัวเตี้ยตามพันธุกรรม หรือภาวะตัวเตี้ยจากการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้า ซึ่งโดยปกติแล้ว อัตราการเจริญเติบโตของเด็กๆ ในแต่ละวัย มีดังนี้
- แรกเกิด – 1 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 25 เซนติเมตรต่อปี
- 1 – 2 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 12 เซนติเมตรต่อปี
- 2 – 4 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตรต่อปี
- 5 – 12 ขวบ ความสูงเพิ่มขึ้น 4-6 เซนติเมตรต่อปี
- 13 ปีขึ้นไป ผู้หญิงความสูงเพิ่มขึ้น 7 เซนติเมตรต่อปี และผู้ชายความสูงเพิ่มขึ้น 8 เซมติเมตรต่อปี
เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ?
ถ้าคุณพ่อ คุณแม่สังเกตเห็นลูกน้อยไม่สูงขึ้นเลยในช่วง 1 – 2 ปี หรือมีความสูงน้อยกว่าเกณฑ์ แนะนำให้พาลูกน้อยไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ และหาทางแก้ไขที่ถูกต้อง เมื่อคุณพ่อ คุณแม่พาลูกมาพบแพทย์แล้ว แพทย์จะซักประวัติเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การรับประทานอาหาร และวินิจฉัยหาสาเหตุ
แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาความสูง เอาไว้ดังนี้
1.การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่ให้ลูกน้อยเติบโตอย่างเหมาะสม
2.การแบ่งเวลาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ชั่วโมงที่เหมาะสมในการนอนของแต่ละช่วงวัย และการออกกำลังกาย
3.การดูแล ให้ความรัก และเอาใจใส่ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการช่วยส่งเสริมทางด้านจิตใจ และพัฒนาการ ทำให้ลูกน้อยเติบโตสมวัย
สำหรับการรักษานั้น คุณหมอจะมีวิธีการรักษา เช่น การฉีดยากระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นต้น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “วิธียอมรับ และปลอบใจลูกน้อยเมื่อ “ไม่สูง” คลิกหน้า 4
ถ้าคุณพ่อ คุณแม่หาวิธีการแก้ไขทุกวิถีทางแล้ว ทำอย่างไรก็ไม่ได้ผล และรู้สึกเป็นกังวล เมื่อลูกน้อยมีความสูงไม่เท่าเพื่อนๆ หรือไม่ถึงเกณฑ์ แล้วอาจโดนเพื่อนๆ ล้อ ด้วยถ้อยคำที่ทำให้เสียใจ เช่น “เตี้ย” จิ๋ว” คุณพ่อ คุณแม่สามารถบรรเทาความกังวลใจของตนเอง และลูกน้อยได้ ดังนี้
1.พูดกับลูกตรงๆ เพื่อให้ลูกยอมรับ
ในโลกของความเป็นจริง คนส่วนใหญ่มักตัดสินกันจากรูปลักษณ์ภายนอก ฉะนั้นการพูดกับลูกไม่ให้ใส่ใจคำพูดของคนอื่นอาจจะไม่ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้น คุณพ่อ คุณแม่ควรพูดกับลูกอย่างเข้าใจ และเห็นใจ เช่น “พ่อแม่เข้าใจว่าลูกรู้สึกอย่างไร ตอนพ่อแม่เด็กๆ ก็โดนเพื่อนล้อแบบนี้เหมือนกันนะ” แล้วให้ลูกคิดว่ามันเป็นเรื่องตลก ซึ่งใครๆ ก็โดนล้อได้ไม่ว่าจะคนสูง คนเตี้ย คนอ้วน หรือคนผอม
2.ช่วยแก้ไขปัญหาให้ลูกน้อย
ในความเป็นจริง เรื่องของความสูง บางครั้งอาจพยากรณ์ไม่ได้ เด็กบางคนตัวเตี้ยมาโดยตลอด แต่เมื่อถึงในช่วงวัยหนึ่ง กลับตัวสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันตั้งตัว คุณพ่อ คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกน้อยพัฒนาร่างกายได้ด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ปรึกษาคุณหมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3.ดึงจุดเด่นด้านอื่นมาลบจุดด้อย
ส่งเสริมลูกน้อยให้พัฒนาการร่างกายในด้านอื่นๆ เช่น ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะตัวไม่สูง แต่มีความคล่องแคล่วว่องไว หรือส่งเสริมให้ลูกน้อยทำกิจกรรมยามว่าง เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเอง เช่น การเล่นกีฬา การเต้นรำ และทำให้ลูกรู้สึกภูมิใจในตัวเอง และมั่นใจมากกว่าไปสนใจแต่ปัญหาเรื่องจะสูง หรือไม่สูง
คุณพ่อ คุณแม่ที่มีปัญหาเรื่องความสูงของลูกน้อย อาจเป็นกังวล และคิดมาก กลัวว่าลูกน้อยจะตัวเตี้ยกว่าเพื่อนๆ เมื่อเราไม่สามารถแก้ไขจุดบกพร่องได้ เราก็ยังสามารถดึงจุดเด่นออกมา เพื่อให้ลูกน้อยเป็นคนที่มีคุณภาพ และศักยภาพที่สมบูรณ์ได้นะคะ เพราะความสูงไม่ใช่คำตอบของทุกอย่าง ไม่ว่าลูกน้อยจะสูง หรือไม่สูง คุณพ่อ คุณแม่ก็ยังรัก และภูมิใจในตัวลูกน้อยอยู่แล้ว จริงมั้ยคะ?
เครดิต: programcalculator, เด็กดี, ที่นี่ดอทคอม, fatnever, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ลูกเตี้ย เพราะขาดโกรทฮอร์โมน จากการนอนดึก จริงหรือ ?
เคล็ดลับเพิ่มความสูง เมื่อถึงช่วง “ยืดตัว”
เตือนลูกฟันผุ พัฒนาการล่าช้า-เตี้ยแคระแกร็น
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save
Save
Save
Save
Save